สถานการณ์การใช้สมาร์ทโฟนของคนไทยที่เพิ่มสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร อ่านข่าว การแชต เล่นเกม และดูหนังฟังเพลง จนกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิต ประจำวัน ทำให้หลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีความเป็นห่วงและเป็นที่จับตามอง โดยเฉพาะพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนของคนไทยทั้งในกลุ่มเด็กและผู้ใหญ่
“สำนักงานกิจการยุติธรรม” ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบการดำเนินงานตามนโยบายด้านการพัฒนากฎหมายและกระบวนการยุติธรรมของประเทศ ร่วมกับ “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่อยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 539 คน เพื่อให้ทราบถึงความคิดเห็นและเพื่อเป็นแนวทางพัฒนางานด้าน กระบวนการยุติธรรมและกฎหมายให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น สำรวจระหว่างวันที่ 24-28 สิงหาคม 2559 สรุปผลได้ดังนี้
อันดับ 1 น่าเป็นห่วง 83.67% เพราะ ปัจจุบันมีคนไทยติดเกมจำนวนมาก ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ แบ่งเวลาไม่ได้ ส่งผลกระทบต่อการเรียน และการทำงาน ภัยอันตรายต่างๆที่เกิดจากเกมมีมากขึ้น ฯลฯ อันดับ 2 ไม่น่าเป็นห่วง 16.33% เพราะ เชื่อว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถควบคุมดูแลได้ เป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเหมือนกันทั่วโลก ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของแต่ละคน ฯลฯ 2. ประชาชนคิดว่าภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถควบคุมการใช้งานเกมออนไลน์และแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟนได้อย่างเหมาะสมแล้วหรือไม่ อันดับ 1 ไม่เหมาะสม 56.96% เพราะ ยังมีปัญหามิจฉาชีพ โจรกรรมข้อมูลจากการเล่นเกม มีเกมออนไลน์และแอพพลิเคชั่นที่ไม่เหมาะสม การควบคุมดูแลยังไม่เข้มงวด กฎหมาย บทลงโทษต่างๆไม่รุนแรง ฯลฯ อันดับ 2 เหมาะสม 43.04% เพราะ มี พรบ. คอมพิวเตอร์ควบคุม หากมีกฎหมายบังคับมากเกินไป อาจเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของผู้เล่นมากกว่า ฯลฯ 3. ประชาชนคิดว่าภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรดำเนินการตรวจสอบและจัดระเบียบเกมออนไลน์และแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟนหรือไม่ อันดับ 1 ควรดำเนินการ 80.15% เพราะ เป็นปัญหาสังคม เป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรง เพื่อความเป็นระบบระเบียบ และความปลอดภัยของผู้ใช้งาน ควรนำกฎหมายมาบังคับใช้อย่างถูกต้องเหมาะสม ฯลฯ อันดับ 2 ไม่ควรดำเนินการ 19.85% เพราะ มีปัญหาอื่น ๆ ที่ควรเร่งแก้ไขมากกว่า ควรดูแลควบคุมตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตพัฒนาเกมและแอพพลิเคชั่น จัดระเบียบ ร้านเกมให้มากขึ้น การใช้โทรศัพท์มือถือเป็นสิทธิส่วนบุคคล ฯลฯ 4. ประชาชนคิดว่าผลกระทบที่เกิดจากเกมออนไลน์และแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน คือ อันดับ 1 กระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ทำให้หมกมุ่น เสียเวลาทำงาน เสียการเรียน 82.37% อันดับ 2 ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพได้ง่ายขึ้น เช่น ถูกหลอก ล่อลวง 76.44% อันดับ 3 เกิดพฤติกรรมลอกเลียนแบบ ใช้ความรุนแรงจากเกมมาใช้ในชีวิตจริง 69.20% อันดับ 4 เสี่ยงต่อการก่อเหตุอาชญากรรม เช่น ขโมย ลักทรัพย์ 63.08% อันดับ 5 ส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย 56.22% 5. ประชาชนคิดว่ากระแสเกมโปเกมอนที่กำลังเป็นที่นิยมอยู่ในขณะนี้เสี่ยงต่อความผิดตามกฎหมายในเรื่องใดบ้าง อันดับ 1 ความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก เช่น เล่นมือถือขณะขับรถ จอดรถในที่ห้ามจอด 85.16% อันดับ 2 การบุกรุกพื้นที่ส่วนบุคคลและที่อยู่อาศัย 77.74% อันดับ 3 การละเมิดสิทธิส่วนบุคคล 76.99% อันดับ 4 การทำให้ของสาธารณะเสียหาย 68.09% อันดับ 5 ประมาททำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย 52.69%
--สวนดุสิตโพล--