จากการประชุมคณะกรรมการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ คณะกรรมการพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการประชาชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้กำหนดกรอบแนวทาง ในการป้องกันอาชญากรรม โดยมีหลักการสำคัญของแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ พ.ศ.2558-2561 คือ นำสภาพความเป็นจริง ความต้องการของประชาชนเป็นตัวตั้ง และหลักการสากลนำมาเป็นหลักสำคัญในการกำหนด
“สำนักงานกิจการยุติธรรม” ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบการดำเนินงานตามนโยบายด้านการพัฒนากฎหมายและกระบวนการยุติธรรมของประเทศ ร่วมกับ “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่อยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล กรณี แนวทางในการป้องกันอาชญากรรม จำนวนทั้งสิ้น 527 คน เพื่อให้ทราบถึง ความคิดเห็นและเพื่อเป็นแนวทางพัฒนางานด้านกระบวนการยุติธรรมและกฎหมายให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น สำรวจระหว่างวันที่ 25 สิงหาคม - 4 กันยายน 2559 สรุปผลได้ดังนี้
อันดับ 1 ฆ่า ทำร้ายร่างกาย 80.04% อันดับ 2 การละเมิดทางเพศ ข่มขืน ทารุณกรรม 73.09% อันดับ 3 ขโมย ปล้น จี้ วิ่งราว ชิงทรัพย์ 71.94% อันดับ 4 ยาเสพติด ยาบ้า 67.23% อันดับ 5 การก่อการร้าย วางระเบิด วางเพลิง 63.15% อันดับ 6 อาชญากรรมทางเทคโนโลยี การขโมยข้อมูลทางบัตรเครดิต 60.36% อันดับ 7 ค้ามนุษย์ ค้าประเวณี 56.88% 2. ประชาชนคิดว่าการป้องกันอาชญากรรมให้ได้ผลเป็นรูปธรรม ควรมีวิธีการปฏิบัติอย่างไร? อันดับ 1 ต้องมีกฎหมายเข้มแข็ง บทลงโทษรุนแรง เจ้าหน้าที่กวดขันเอาจริงเอาจัง การบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด 75.29% อันดับ 2 ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมต้องทำงานอย่างเป็นระบบมีความเชื่อมโยง และมีประสิทธิภาพ 66.53% อันดับ 3 เพิ่มสายตรวจลาดตระเวน ติดตั้งกล้องวงจรปิด เพิ่มเสาไฟส่องสว่างในพื้นที่มืดอันตราย 64.80% อันดับ 4 รณรงค์ให้ความรู้แก่ประชาชนทั้งในเรื่องกฎหมาย วิธีป้องกันภัยตามหน่วยงาน สถานศึกษาและชุมชน 61.78% อันดับ 5 ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกัน ช่วยกันฟื้นฟูสังคมไทยให้น่าอยู่และปลอดภัย 59.11% 3. ประชาชนเห็นด้วยกับกรอบแนวทางในการป้องกันอาชญากรรม : แผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ พ.ศ.2558-2561 มากน้อยเพียงใด? อันดับ 1 เห็นด้วยมาก 52.18% เพราะ เป็นปัญหาสังคมที่ร้ายแรง ส่งผลกระทบต่อประชาชนโดยตรง อยากเห็นผลงานที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมโดยเร็ว เพื่อความสงบสุขและความปลอดภัยของประชาชน ฯลฯ อันดับ 2 ค่อนข้างเห็นด้วย 38.52% เพราะ เป็นแนวทางที่ดี เป็นเรื่องสำคัญและสมควรทำอย่างยิ่ง ทำให้ประชาชนมีความปลอดภัย มีความรู้ความเข้าใจ เรื่องกฎหมายมากขึ้น อาจช่วยให้ปัญหาอาชญากรรมลดลงได้บ้าง ฯลฯ อันดับ 3 ไม่ค่อยเห็นด้วย 5.12% เพราะ ควรมีการติดตามและประเมินผลควบคู่ไปด้วย ควรให้ความสำคัญกับการแก้กฎหมายมากกว่า ฯลฯ อันดับ 4 ไม่แน่ใจ 2.47% เพราะ ยังไม่ทราบรายละเอียดชัดเจน เป็นเรื่องยากที่จะแก้ปัญหาให้หมดไปได้ ต้องรอดูต่อไป ฯลฯ อันดับ 5 ไม่เห็นด้วย 1.71% เพราะ อาจทำไม่ได้จริงตามแนวทางที่กำหนดไว้ ข่าวอาชญากรรมยังมีให้เห็นทุกวัน ฯลฯ 4. “นโยบายเร่งด่วน” ที่ประชาชนอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมเร่งดำเนินการ อันดับ 1 บังคับใช้กฎหมายให้มีประสิทธิภาพ 76.69% อันดับ 2 พัฒนาระบบการป้องกันอาชญากรรม 68.26% อันดับ 3 พัฒนาระบบการบริการของรัฐให้มีประสิทธิภาพ 62.81% อันดับ 4 เผยแพร่ความรู้แก่ประชาชน 60.61% อันดับ 5 พัฒนาระบบกระบวนการยุติธรรมทางเลือก 47.11% อันดับ 6 พัฒนาระบบแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดและการช่วยเหลือดูแลผู้พ้นโทษ 36.10%
--สวนดุสิตโพล--