ตามที่ กกต. เตรียมเสนอร่างกฎหมายต่อคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ขอเพิ่มอำนาจในการจัดการเลือกตั้งและอำนาจในการออกหมายเรียก ตรวจค้น ยึด อายัด จับกุมซึ่งหน้าได้ เพื่อแก้ปัญหาการทุจริตการเลือกตั้ง และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของ กกต. ให้ดีขึ้น เพื่อเป็นการสะท้อนความคิดเห็นของประชาชน “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัย สวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,315 คน ระหว่างวันที่20-23 กันยายน 2559 สรุปผลได้ ดังนี้
อันดับ 1 เห็นด้วย 42.06% เพราะ เป็นการเพิ่มอำนาจให้ กกต. มีความเด็ดขาด ทำงานได้รวดเร็วมากขึ้น เมื่อพบการกระทำผิดสามารถจัดการ ได้ทันที ช่วยป้องกันการทุจริตการเลือกตั้ง ผู้สมัครเกรงกลัวไม่กล้ากระทำผิด ฯลฯ อันดับ 2 ไม่เห็นด้วย 38.55% เพราะ ทำให้ กกต. มีอำนาจมากเกินไป อาจใช้อำนาจในทางที่ผิด ควรให้เป็นหน้าที่ของตำรวจ ไม่มั่นใจใน กระบวนการ อาจเกิดการทุจริต ไม่โปร่งใส ฯลฯ อันดับ 3 ไม่แน่ใจ 19.39% เพราะ ยังไม่ทราบรายละเอียด ควรศึกษาผลดี ผลเสียให้ชัดเจน ที่ผ่านมาประชาชนไม่มั่นใจในการทำงานของ กกต. มากนัก อาจมีช่องโหว่ให้เกิดการทุจริตได้ ฯลฯ 2. ประชาชนเห็นด้วยหรือไม่? กรณี หากพบว่ามีการกระทำผิดในการเลือกตั้ง ส.ส. ส.ว. หรือเลือกตั้งท้องถิ่น ให้ กกต. มีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลแพ่ง อาญา และว่าความในศาลได้ อันดับ 1 เห็นด้วย 39.37% เพราะ ทำให้การพิจารณาคดีการทุจริตต่างๆ ดำเนินการได้รวดเร็วและคล่องตัวมากขึ้น หากมีหลักฐานชัดเจน ก็จะช่วยป้องกันการทุจริตได้ดีขึ้น ทำให้ผู้ที่คิดจะกระทำผิดเกิดความเกรงกลัว ฯลฯ อันดับ 2 ไม่แน่ใจ 35.79% เพราะ อาจมีทั้งผลดีและผลเสีย ไม่ทราบข้อมูลที่ชัดเจนว่ามีอำนาจในการดำเนินการเพียงใด เป็นเพียงข้อเสนอของ กกต. ยังไม่ได้อนุมัติ ควรหาแนวทางป้องกันการทุจริตมากกว่า ฯลฯ อันดับ 3 ไม่เห็นด้วย 24.84% เพราะ หากมีการกระทำผิดควรให้เป็นอำนาจของศาลในการตัดสิน กกต. อาจมีคุณสมบัติไม่เหมาะสมที่จะ ดำเนินการ กกต.ควรทำหน้าที่จัดการเลือกตั้งให้มีความโปร่งใส เป็นที่ยอมรับ ฯลฯ 3. ประชาชนเห็นด้วยหรือไม่? กรณี กกต.ขอให้ผู้ถูกเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีของพรรคการเมืองต้องออกมาดีเบต หรือร่วมเวทีอภิปรายเพื่อแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบาย ของพรรคต่อสาธารณะ อันดับ 1 เห็นด้วย 45.18% เพราะ เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ถูกเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีได้แสดงวิสัยทัศน์ แนวทางการทำงานตามนโยบาย ที่กำหนดไว้ ทำให้ประชาชนได้ทราบถึงเหตุผล มุมมองและความคิดเห็นต่างๆ ได้ชัดเจนมากขึ้น อยากเห็นบุคลิก ท่าทางลีลาการพูดของแต่ละคน ฯลฯ อันดับ 2 ไม่แน่ใจ 31.52% เพราะ การดีเบตขึ้นอยู่กับความสมัครใจของแต่ละคน เป็นเพียงข้อเสนอของ กกต. ฝ่ายเดียว ยังไม่ได้ข้อสรุป ที่ชัดเจน ฯลฯ อันดับ 3 ไม่เห็นด้วย 23.30% เพราะ อาจมีแต่การโต้เถียงกันไปมา ขุดคุ้ยเรื่องเก่า พูดพาดพิงผู้อื่นให้เสียหาย หวังแต่ประโยชน์ของตนเองและ พวกพ้อง อาจเป็นประเด็นทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้นมาได้ ฯลฯ 4. ประชาชนคิดว่าการที่จะติดดาบหรือเพิ่มอำนาจให้ กกต.จะช่วยให้การเลือกตั้งโปร่งใสมากขึ้นหรือไม่? อันดับ 1 ไม่แน่ใจ 47.15% เพราะ ยังไม่เคยมีการดำเนินการเช่นนี้มาก่อน ยังไม่ทราบผลที่จะตามมา ไม่รู้รายละเอียดที่ชัดเจนว่าจะดำเนินการ อย่างไร ปัญหาการทุจริตแก้ไขได้ยาก ฯลฯ อันดับ 2 ช่วยได้ 30.27% เพราะ การเพิ่มอำนาจให้ กกต. ช่วยให้การทำงานสะดวกรวดเร็วมากขึ้น สามารถดำเนินการได้ทันที ผู้ที่คิดจะ กระทำผิดจะได้เกรงกลัว ทำให้การเลือกตั้งมีความโปร่งใสมากขึ้น ฯลฯ อันดับ 3 ช่วยไม่ได้ 22.58% เพราะ การทุจริตเลือกตั้งมีทุกยุคทุกสมัย เป็นปัญหาที่สะสมมานาน อาจมีช่องโหว่ให้เกิดการทุจริต เจ้าหน้าที่ของรัฐ อาจรู้เห็นเป็นใจ ไม่มั่นใจในมาตรฐานการทำงานของ กกต. ฯลฯ
--สวนดุสิตโพล--