พรรคการเมืองถือว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของประเทศ โดยเฉพาะบทบาทของพรรคการเมืองที่ดำเนิน
กิจกรรมต่างๆ มักจะอยู่ในสายตาของประชาชนตลอดเวลา ดังนั้นเพื่อที่จะได้รู้สภาพการเมืองไทยในปัจจุบันว่าเป็น
อย่างไร? “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สะท้อนความคิดเห็นของประชาชนต่อพรรคการ
เมืองต่างๆ ทั้งผู้ที่ชอบพรรคการเมืองนั้นและไม่ชอบพรรคการเมืองนั้นที่พักอาศัยในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล จำนวน
ทั้งสิ้น 1,566 คน (ผู้ที่ชื่นชอบพรรคไทยรักไทย 661 คน 42.21% ผู้ที่ชื่นชอบพรรคประชาธิปัตย์
470 คน 30.01% ผู้ที่ชื่นชอบพรรคชาติไทย 252 คน 16.09% และผู้ที่ชื่นชอบพรรคมหาชน 183 คน
11.69%) โดยสำรวจระหว่างวันที่ 20 - 24 กรกฎาคม 2548 สรุปผลได้ดังนี้
กรณี “พรรคไทยรักไทย”
1. ประชาชนที่ชอบ “พรรคไทยรักไทย” มอง “พรรคไทยรักไทย” ดังนี้
อันดับที่ 1 มีผู้นำที่มีความสามารถและกล้าตัดสินใจ/เป็นพรรคที่มีความพร้อมในการพัฒนาประเทศได้ดีว่าพรรคอื่น 28.57%
อันดับที่ 2 เป็นพรรคที่มีขนาดใหญ่ที่มีนักการเมืองทั้งเก่า — ใหม่อยู่มาก ทำให้การดูแลพรรคย่อมมีปัญหา 24.49%
อันดับที่ 3 ควรสร้างความสามัคคีภายในพรรคเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับประชาชน 18.37%
อันดับที่ 4 ควรดึงความเชื่อมั่นให้กลับคืนมาเพราะประชาชนเริ่มขาดความเชื่อมั่น 16.33%
อันดับที่ 5 ควรรับฟังปัญหาต่างๆและนำมาแก้ไขปรับปรุงอย่างเร่งด่วน 12.24%
2. ประชาชนที่ชอบ “พรรคอื่น” (ที่ไม่ใช่พรรคไทยรักไทย)มอง “พรรคไทยรักไทย” ดังนี้
อันดับที่ 1 การทำงานเอื้อผลประโยชน์แก่พวกพ้อง/มีแต่ปัญหาคอรัปชั่น 30.51%
อันดับที่ 2 การทำงานยังมีข้อบกพร่องในบางจุด/ชอบใช้อำนาจ/เผด็จการ 25.42%
อันดับที่ 3 ประชาชนเริ่มเสื่อมศรัทธา/เสื่อมความนิยม 18.65%
อันดับที่ 4 มีการบริหารงานของพรรคและลูกพรรคได้ดี 13.56%
อันดับที่ 5 การแก้ปัญหายังแก้ไม่ตรงจุด/ประชาชนยังมีความเป็นอยู่ที่ไม่ดี 11.86%
3. ประชาชนที่ “ไม่ชอบพรรคใดเลย” มอง “พรรคไทยรักไทย” ดังนี้
อันดับที่ 1 เป็นพรรคเผด็จการ/ไม่ค่อยฟังเสียงจากคนรอบข้าง 35.48%
อันดับที่ 2 ประชาชนยังให้ความไว้วางใจและศรัทธาเหมือนเดิม 22.58%
อันดับที่ 3 เป็นพรรคใหญ่ที่มีนักการเมืองเยอะ / ส.ส.มักจะขัดแย้งกันเอง 19.36%
อันดับที่ 4 มีหัวหน้าพรรคที่ทำงานรวดเร็ว/มีความรู้ความสามารถ 12.90%
อันดับที่ 5 ช่วยทำให้ให้เศรษฐกิจไทยดีขึ้นและพัฒนาประเทศได้ดี 9.68%
กรณี “พรรคประชาธิปัตย์”
1. ประชาชนที่ชอบ “พรรคประชาธิปัตย์” มอง “พรรคประชาธิปัตย์” ดังนี้
อันดับที่ 1 มีบทบาททางการเมืองมากขึ้น/ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น 40.38%
อันดับที่ 2 หัวหน้าพรรคเป็นคนหนุ่มไฟแรง มีความเป็นผู้นำ กล้าคิดกล้าทำ 23.08%
อันดับที่ 3 เป็นพรรคที่มีจุดยืน/มุ่งมั่นในนโยบาย/มีหลักการที่ดี 17.31%
อันดับที่ 4 มีการทำหน้าที่ตรวจสอบรัฐบาลและมีการทำงานที่ดีขึ้น 11.54%
อันดับที่ 5 มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน/มุ่งมั่นรักษาพรรคของตนเองให้อยู่รอด 7.69%
2. ประชาชนที่ชอบ “พรรคอื่น” (ที่ไม่ใช่พรรคประชาธิปัตย์)มอง “พรรคประชาธิปัตย์” ดังนี้
อันดับที่ 1 ทำหน้าที่ตรวจสอบได้ดีขึ้น มีการพัฒนาการทำงานให้มีบทบาททางการเมืองมากขึ้น 36.59%
อันดับที่ 2 เป็นพรรคเดียวที่มีความโดดเด่น/สูสีกับไทยรักไทย/เป็นพรรคเก่าแก่ 24.39%
อันดับที่ 3 ประสิทธิภาพการทำงานของสมาชิกพรรคยังไม่โดดเด่น/มีเพียงหัวหน้าพรรคที่ได้รับการยอมรับเท่านั้น 17.07%
อันดับที่ 4 เสียงในสภามีน้อย/การทำงานจึงค่อนข้างลำบาก 14.63%
อันดับที่ 5 พรรคประชาธิปัตย์ดีแต่วิจารณ์และจับผิดมากกว่าการลงมือปฏิบัติ 7.32%
3. ประชาชนที่ “ไม่ชอบพรรคใดเลย” มอง “พรรคประชาธิปัตย์” ดังนี้
อันดับที่ 1 ทำหน้าที่เป็นฝ่ายค้านได้เป็นอย่างดี/ตรวจสอบได้ดี 29.63%
อันดับที่ 2 การทำงานยังไม่โดดเด่นและยึดระบบแบบเก่าๆ/ทำงานไม่เป็นชิ้นเป็นอัน 25.93%
อันดับที่ 3 ได้ผู้นำที่ดีมีความสามารถพลิกโฉมของพรรคให้กลับมานิยมได้อีกครั้ง 18.52%
อันดับที่ 4 เป็นพรรคที่ไม่ค่อยยอมยุติเรื่องที่เกิดขึ้นง่ายๆสักเท่าไหร่ 14.81%
อันดับที่ 5 ไม่ค่อยมีบทบาทสักเท่าไหร่ในการเมืองไทยได้แต่คอยจับผิด 11.11%
กรณี “พรรคชาติไทย”
1. ประชาชนที่ชอบ “พรรคชาติไทย” มอง “พรรคชาติไทย” ดังนี้
อันดับที่ 1 เป็นพรรคการเมืองที่มีจุดยืน 50.00%
อันดับที่ 2 เป็นพรรคที่ยังขาดบุคลากรที่มีคุณภาพ 33.33%
อันดับที่ 3 ยังไม่ค่อยมีบทบาททางการเมืองมากนัก 16.67%
2. ประชาชนที่ชอบ “พรรคอื่น” (ที่ไม่ใช่พรรคชาติไทย)มอง “พรรคชาติไทย” ดังนี้
อันดับที่ 1 ยังไม่ค่อยมีบทบาททางการเมืองมากนัก / ไม่มีผลงาน 54.90%
อันดับที่ 2 เป็นพรรคการเมืองเก่าแก่ที่ยังได้รับความนิยมจากประชาชน 27.45%
อันดับที่ 3 เป็นพรรคที่มีความเป็นกลาง / มีจุดยืนทางการเมือง 9.80%
อันดับที่ 4 สมาชิกในพรรคมีน้อยทำให้ไม่ค่อยมีอำนาจทางการเมือง 7.85%
3. ประชาชนที่ “ไม่ชอบพรรคใดเลย” มอง “พรรคชาติไทย” ดังนี้
อันดับที่ 1 ไม่ค่อยมีบทบาทเหมือนเป็นพรรคตัวประกอบมากกว่า 66.67%
อันดับที่ 2 สามารถทำงานร่วมกับพรรคอื่นได้ดี/ไม่ค่อยมีปัญหากับใคร 14.81%
อันดับที่ 3 เป็นพรรคที่ประชาชนมีความนิยมลดลง 11.11%
อันดับที่ 4 เป็นพรรคที่เก่าแก่/ยังรักษาชื่อเสียงไว้ได้ดี 7.41%
กรณี “พรรคมหาชน”
1. ประชาชนที่ชอบ “พรรคมหาชน” มอง “พรรคมหาชน” ดังนี้
อันดับที่ 1 เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของประชาชนในการเลือกพรรคการเมือง 50.00%
อันดับที่ 2 เป็นพรรคที่ได้รับความสนใจจากประชาชนพอสมควร 35.72%
อันดับที่ 3 ควรเปิดโอกาสให้สมาชิกภายในพรรคได้แสดงความคิดเห็นบ้าง 14.28%
2. ประชาชนที่ชอบ “พรรคอื่น” (ที่ไม่ใช่พรรคมหาชน)มอง “พรรคมหาชน” ดังนี้
อันดับที่ 1 ยังไม่ค่อยมีบทบาทหรือผลงานที่เด่นชัด 46.15%
อันดับที่ 2 พร้อมที่จะยุบพรรคหรือรวมพรรคไปอยู่กับพรรคอื่นได้ 30.77%
อันดับที่ 3 อยู่ในช่วงพัฒนาประสิทธิภาพให้พรรคมีบทบาทมากขึ้น 23.08%
3. ประชาชนที่ “ไม่ชอบพรรคใดเลย” มอง “พรรคมหาชน” ดังนี้
อันดับที่ 1 ยังไม่มีผลงานที่ชัดเจน 42.86%
อันดับที่ 2 บทบาททางการเมืองมีน้อย 35.71%
อันดับที่ 3 สมาชิกในพรรคยังขาดความสามัคคีกันอยู่ 21.43%
--สวนดุสิตโพล--
-พห-
กิจกรรมต่างๆ มักจะอยู่ในสายตาของประชาชนตลอดเวลา ดังนั้นเพื่อที่จะได้รู้สภาพการเมืองไทยในปัจจุบันว่าเป็น
อย่างไร? “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สะท้อนความคิดเห็นของประชาชนต่อพรรคการ
เมืองต่างๆ ทั้งผู้ที่ชอบพรรคการเมืองนั้นและไม่ชอบพรรคการเมืองนั้นที่พักอาศัยในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล จำนวน
ทั้งสิ้น 1,566 คน (ผู้ที่ชื่นชอบพรรคไทยรักไทย 661 คน 42.21% ผู้ที่ชื่นชอบพรรคประชาธิปัตย์
470 คน 30.01% ผู้ที่ชื่นชอบพรรคชาติไทย 252 คน 16.09% และผู้ที่ชื่นชอบพรรคมหาชน 183 คน
11.69%) โดยสำรวจระหว่างวันที่ 20 - 24 กรกฎาคม 2548 สรุปผลได้ดังนี้
กรณี “พรรคไทยรักไทย”
1. ประชาชนที่ชอบ “พรรคไทยรักไทย” มอง “พรรคไทยรักไทย” ดังนี้
อันดับที่ 1 มีผู้นำที่มีความสามารถและกล้าตัดสินใจ/เป็นพรรคที่มีความพร้อมในการพัฒนาประเทศได้ดีว่าพรรคอื่น 28.57%
อันดับที่ 2 เป็นพรรคที่มีขนาดใหญ่ที่มีนักการเมืองทั้งเก่า — ใหม่อยู่มาก ทำให้การดูแลพรรคย่อมมีปัญหา 24.49%
อันดับที่ 3 ควรสร้างความสามัคคีภายในพรรคเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับประชาชน 18.37%
อันดับที่ 4 ควรดึงความเชื่อมั่นให้กลับคืนมาเพราะประชาชนเริ่มขาดความเชื่อมั่น 16.33%
อันดับที่ 5 ควรรับฟังปัญหาต่างๆและนำมาแก้ไขปรับปรุงอย่างเร่งด่วน 12.24%
2. ประชาชนที่ชอบ “พรรคอื่น” (ที่ไม่ใช่พรรคไทยรักไทย)มอง “พรรคไทยรักไทย” ดังนี้
อันดับที่ 1 การทำงานเอื้อผลประโยชน์แก่พวกพ้อง/มีแต่ปัญหาคอรัปชั่น 30.51%
อันดับที่ 2 การทำงานยังมีข้อบกพร่องในบางจุด/ชอบใช้อำนาจ/เผด็จการ 25.42%
อันดับที่ 3 ประชาชนเริ่มเสื่อมศรัทธา/เสื่อมความนิยม 18.65%
อันดับที่ 4 มีการบริหารงานของพรรคและลูกพรรคได้ดี 13.56%
อันดับที่ 5 การแก้ปัญหายังแก้ไม่ตรงจุด/ประชาชนยังมีความเป็นอยู่ที่ไม่ดี 11.86%
3. ประชาชนที่ “ไม่ชอบพรรคใดเลย” มอง “พรรคไทยรักไทย” ดังนี้
อันดับที่ 1 เป็นพรรคเผด็จการ/ไม่ค่อยฟังเสียงจากคนรอบข้าง 35.48%
อันดับที่ 2 ประชาชนยังให้ความไว้วางใจและศรัทธาเหมือนเดิม 22.58%
อันดับที่ 3 เป็นพรรคใหญ่ที่มีนักการเมืองเยอะ / ส.ส.มักจะขัดแย้งกันเอง 19.36%
อันดับที่ 4 มีหัวหน้าพรรคที่ทำงานรวดเร็ว/มีความรู้ความสามารถ 12.90%
อันดับที่ 5 ช่วยทำให้ให้เศรษฐกิจไทยดีขึ้นและพัฒนาประเทศได้ดี 9.68%
กรณี “พรรคประชาธิปัตย์”
1. ประชาชนที่ชอบ “พรรคประชาธิปัตย์” มอง “พรรคประชาธิปัตย์” ดังนี้
อันดับที่ 1 มีบทบาททางการเมืองมากขึ้น/ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น 40.38%
อันดับที่ 2 หัวหน้าพรรคเป็นคนหนุ่มไฟแรง มีความเป็นผู้นำ กล้าคิดกล้าทำ 23.08%
อันดับที่ 3 เป็นพรรคที่มีจุดยืน/มุ่งมั่นในนโยบาย/มีหลักการที่ดี 17.31%
อันดับที่ 4 มีการทำหน้าที่ตรวจสอบรัฐบาลและมีการทำงานที่ดีขึ้น 11.54%
อันดับที่ 5 มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน/มุ่งมั่นรักษาพรรคของตนเองให้อยู่รอด 7.69%
2. ประชาชนที่ชอบ “พรรคอื่น” (ที่ไม่ใช่พรรคประชาธิปัตย์)มอง “พรรคประชาธิปัตย์” ดังนี้
อันดับที่ 1 ทำหน้าที่ตรวจสอบได้ดีขึ้น มีการพัฒนาการทำงานให้มีบทบาททางการเมืองมากขึ้น 36.59%
อันดับที่ 2 เป็นพรรคเดียวที่มีความโดดเด่น/สูสีกับไทยรักไทย/เป็นพรรคเก่าแก่ 24.39%
อันดับที่ 3 ประสิทธิภาพการทำงานของสมาชิกพรรคยังไม่โดดเด่น/มีเพียงหัวหน้าพรรคที่ได้รับการยอมรับเท่านั้น 17.07%
อันดับที่ 4 เสียงในสภามีน้อย/การทำงานจึงค่อนข้างลำบาก 14.63%
อันดับที่ 5 พรรคประชาธิปัตย์ดีแต่วิจารณ์และจับผิดมากกว่าการลงมือปฏิบัติ 7.32%
3. ประชาชนที่ “ไม่ชอบพรรคใดเลย” มอง “พรรคประชาธิปัตย์” ดังนี้
อันดับที่ 1 ทำหน้าที่เป็นฝ่ายค้านได้เป็นอย่างดี/ตรวจสอบได้ดี 29.63%
อันดับที่ 2 การทำงานยังไม่โดดเด่นและยึดระบบแบบเก่าๆ/ทำงานไม่เป็นชิ้นเป็นอัน 25.93%
อันดับที่ 3 ได้ผู้นำที่ดีมีความสามารถพลิกโฉมของพรรคให้กลับมานิยมได้อีกครั้ง 18.52%
อันดับที่ 4 เป็นพรรคที่ไม่ค่อยยอมยุติเรื่องที่เกิดขึ้นง่ายๆสักเท่าไหร่ 14.81%
อันดับที่ 5 ไม่ค่อยมีบทบาทสักเท่าไหร่ในการเมืองไทยได้แต่คอยจับผิด 11.11%
กรณี “พรรคชาติไทย”
1. ประชาชนที่ชอบ “พรรคชาติไทย” มอง “พรรคชาติไทย” ดังนี้
อันดับที่ 1 เป็นพรรคการเมืองที่มีจุดยืน 50.00%
อันดับที่ 2 เป็นพรรคที่ยังขาดบุคลากรที่มีคุณภาพ 33.33%
อันดับที่ 3 ยังไม่ค่อยมีบทบาททางการเมืองมากนัก 16.67%
2. ประชาชนที่ชอบ “พรรคอื่น” (ที่ไม่ใช่พรรคชาติไทย)มอง “พรรคชาติไทย” ดังนี้
อันดับที่ 1 ยังไม่ค่อยมีบทบาททางการเมืองมากนัก / ไม่มีผลงาน 54.90%
อันดับที่ 2 เป็นพรรคการเมืองเก่าแก่ที่ยังได้รับความนิยมจากประชาชน 27.45%
อันดับที่ 3 เป็นพรรคที่มีความเป็นกลาง / มีจุดยืนทางการเมือง 9.80%
อันดับที่ 4 สมาชิกในพรรคมีน้อยทำให้ไม่ค่อยมีอำนาจทางการเมือง 7.85%
3. ประชาชนที่ “ไม่ชอบพรรคใดเลย” มอง “พรรคชาติไทย” ดังนี้
อันดับที่ 1 ไม่ค่อยมีบทบาทเหมือนเป็นพรรคตัวประกอบมากกว่า 66.67%
อันดับที่ 2 สามารถทำงานร่วมกับพรรคอื่นได้ดี/ไม่ค่อยมีปัญหากับใคร 14.81%
อันดับที่ 3 เป็นพรรคที่ประชาชนมีความนิยมลดลง 11.11%
อันดับที่ 4 เป็นพรรคที่เก่าแก่/ยังรักษาชื่อเสียงไว้ได้ดี 7.41%
กรณี “พรรคมหาชน”
1. ประชาชนที่ชอบ “พรรคมหาชน” มอง “พรรคมหาชน” ดังนี้
อันดับที่ 1 เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของประชาชนในการเลือกพรรคการเมือง 50.00%
อันดับที่ 2 เป็นพรรคที่ได้รับความสนใจจากประชาชนพอสมควร 35.72%
อันดับที่ 3 ควรเปิดโอกาสให้สมาชิกภายในพรรคได้แสดงความคิดเห็นบ้าง 14.28%
2. ประชาชนที่ชอบ “พรรคอื่น” (ที่ไม่ใช่พรรคมหาชน)มอง “พรรคมหาชน” ดังนี้
อันดับที่ 1 ยังไม่ค่อยมีบทบาทหรือผลงานที่เด่นชัด 46.15%
อันดับที่ 2 พร้อมที่จะยุบพรรคหรือรวมพรรคไปอยู่กับพรรคอื่นได้ 30.77%
อันดับที่ 3 อยู่ในช่วงพัฒนาประสิทธิภาพให้พรรคมีบทบาทมากขึ้น 23.08%
3. ประชาชนที่ “ไม่ชอบพรรคใดเลย” มอง “พรรคมหาชน” ดังนี้
อันดับที่ 1 ยังไม่มีผลงานที่ชัดเจน 42.86%
อันดับที่ 2 บทบาททางการเมืองมีน้อย 35.71%
อันดับที่ 3 สมาชิกในพรรคยังขาดความสามัคคีกันอยู่ 21.43%
--สวนดุสิตโพล--
-พห-