ภาวะน้ำมันขึ้นราคาสูงเป็นประวัติการณ์ (สูงสุดในรอบ 3 ปี) โดยเฉพาะในช่วง 3 | 4 วันที่ผ่านมาได้ก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ รวมทั้งการแสวงหาแนวทางแก้ไขผลกระทบจากราคาน้ำมันแพง ที่มีผลต่อประชาชนทุกคน “สวนดุสิตโพล” สถาบันราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนในกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 2,378 คน (ผู้ที่ใช้น้ำมันเพื่อเติมพาหนะ จำนวน 1,068 คน 44.91% และผู้ที่ไม่ได้ใช้น้ำมัน จำนวน 1,310 คน 55.09%) ระหว่างวันที่ 24 | 27 มกราคม 2543 สรุปประเด็นสำคัญได้ดังนี้
1. ผลกระทบจากการขึ้นราคาน้ำมันที่มีต่อประชาชน
อันดับที่ 1 ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเติมน้ำมันมากขึ้น/ เงินไม่พอจ่าย/ กระทบการใช้จ่ายในส่วนอื่น ๆ / เป็นหนี้เพิ่ม 40.62%
อันดับที่ 2 สินค้าต่าง ๆ แพงขึ้นอ้างว่าค่าขนส่งแพง 35.70%
อันดับที่ 3 พ่อค้าฉวยโอกาสโดยเฉพาะบางปั๊มมีน้ำมันปลอมปนเครื่องอาจเสียได้ 10.64%
อันดับที่ 4 ต้องใช้รถน้อยลง เดินทางไม่สะดวก 10.39%
* อื่น ๆ เช่น ราคาค่ารถเมล์อาจจะสูงขึ้น ฯลฯ 2.65%
2. ประชาชนทำตัวอย่างไร ? เมื่อ “ราคาน้ำมันแพง”
อันดับที่ 1 ประหยัดในการใช้รถ/ ใช้เฉพาะที่จำเป็น 54.33%
อันดับที่ 2 นั่งรถเมล์ (แต่ก็ลำบาก รถติด ลูกลำบาก ฯลฯ) 21.49%
อันดับที่ 3 ประหยัดในการซื้อของ / ตรวจดูราคา/ หาร้านที่ยังขายถูกอยู่ 12.99%
อันดับที่ 4 ต้องอดทนซักระยะอาจจะลดลง/ ทำตัวเหมือนเดิม 8.83%
* อื่น ๆ เช่น ใช้น้ำมันที่มีขายราคาถูก (อาจจะเป็นน้ำมันเถื่อน) ฯลฯ 2.36%
3. ประชาชนอยากให้รัฐบาลช่วยเหลือ/ แก้ไขปัญหาอย่างไร ?
อันดับที่ 1 ควบคุมราคาสินค้าที่จำเป็นให้ได้/ ใช้มาตรการเด็ดขาด 44.41%
อันดับที่ 2 ควรนำเงินกองทุนอื่น ๆ มารับภาระ 23.51%
อันดับที่ 3 ควรมีการติดต่อกับประเทศผู้ผลิตน้ำมันโดยตรงด้วยการต่อรอง/ หรือแลกเปลี่ยนสินค้า/ติดต่อกับสิงคโปร์, จีน ฯลฯ
11.10%
อันดับที่ 4 เร่งการนำก๊าซธรรมชาติมาใช้ทดแทน 8.54%
อันดับที่ 5 ทุกหน่วยงานต้องเร่งแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง 8.20%
* อื่น ๆ เช่น เอาใจใส่ปัญหาและต้องทำอย่างจริงจัง ฯลฯ 4.24%
4. ความคาดหวังของประชาชนในการแก้ไขปัญหา “ราคาน้ำมันแพง”
อันดับที่ 1 คงแก้ไขได้ยาก 47.77%
เพราะ ขึ้นอยู่กับราคาตลาดโลก, หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่เอาจริง ดีแต่ เล่นการเมือง ฯลฯ
อันดับที่ 2 ไม่ได้คาดหวัง 31.20%
เพราะ หวังมาหลายอย่างแล้วก็ไม่ได้, ราคาน้ำมันอยู่เหนือการควบคุมของไทย, อย่าไปหวังอะไรเลย ฯลฯ
อันดับที่ 3 คงแก้ไขได้ 19.05%
เพราะ ราคาตลาดโลกอาจลดลงได้, ทุกกระทรวงเร่งแก้ไขอยู่แล้วทุกฝ่ายต้องร่วมมือกัน ฯลฯ
* ไม่ระบุ 1.98%
--สวนดุสิตโพล--
1. ผลกระทบจากการขึ้นราคาน้ำมันที่มีต่อประชาชน
อันดับที่ 1 ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเติมน้ำมันมากขึ้น/ เงินไม่พอจ่าย/ กระทบการใช้จ่ายในส่วนอื่น ๆ / เป็นหนี้เพิ่ม 40.62%
อันดับที่ 2 สินค้าต่าง ๆ แพงขึ้นอ้างว่าค่าขนส่งแพง 35.70%
อันดับที่ 3 พ่อค้าฉวยโอกาสโดยเฉพาะบางปั๊มมีน้ำมันปลอมปนเครื่องอาจเสียได้ 10.64%
อันดับที่ 4 ต้องใช้รถน้อยลง เดินทางไม่สะดวก 10.39%
* อื่น ๆ เช่น ราคาค่ารถเมล์อาจจะสูงขึ้น ฯลฯ 2.65%
2. ประชาชนทำตัวอย่างไร ? เมื่อ “ราคาน้ำมันแพง”
อันดับที่ 1 ประหยัดในการใช้รถ/ ใช้เฉพาะที่จำเป็น 54.33%
อันดับที่ 2 นั่งรถเมล์ (แต่ก็ลำบาก รถติด ลูกลำบาก ฯลฯ) 21.49%
อันดับที่ 3 ประหยัดในการซื้อของ / ตรวจดูราคา/ หาร้านที่ยังขายถูกอยู่ 12.99%
อันดับที่ 4 ต้องอดทนซักระยะอาจจะลดลง/ ทำตัวเหมือนเดิม 8.83%
* อื่น ๆ เช่น ใช้น้ำมันที่มีขายราคาถูก (อาจจะเป็นน้ำมันเถื่อน) ฯลฯ 2.36%
3. ประชาชนอยากให้รัฐบาลช่วยเหลือ/ แก้ไขปัญหาอย่างไร ?
อันดับที่ 1 ควบคุมราคาสินค้าที่จำเป็นให้ได้/ ใช้มาตรการเด็ดขาด 44.41%
อันดับที่ 2 ควรนำเงินกองทุนอื่น ๆ มารับภาระ 23.51%
อันดับที่ 3 ควรมีการติดต่อกับประเทศผู้ผลิตน้ำมันโดยตรงด้วยการต่อรอง/ หรือแลกเปลี่ยนสินค้า/ติดต่อกับสิงคโปร์, จีน ฯลฯ
11.10%
อันดับที่ 4 เร่งการนำก๊าซธรรมชาติมาใช้ทดแทน 8.54%
อันดับที่ 5 ทุกหน่วยงานต้องเร่งแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง 8.20%
* อื่น ๆ เช่น เอาใจใส่ปัญหาและต้องทำอย่างจริงจัง ฯลฯ 4.24%
4. ความคาดหวังของประชาชนในการแก้ไขปัญหา “ราคาน้ำมันแพง”
อันดับที่ 1 คงแก้ไขได้ยาก 47.77%
เพราะ ขึ้นอยู่กับราคาตลาดโลก, หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่เอาจริง ดีแต่ เล่นการเมือง ฯลฯ
อันดับที่ 2 ไม่ได้คาดหวัง 31.20%
เพราะ หวังมาหลายอย่างแล้วก็ไม่ได้, ราคาน้ำมันอยู่เหนือการควบคุมของไทย, อย่าไปหวังอะไรเลย ฯลฯ
อันดับที่ 3 คงแก้ไขได้ 19.05%
เพราะ ราคาตลาดโลกอาจลดลงได้, ทุกกระทรวงเร่งแก้ไขอยู่แล้วทุกฝ่ายต้องร่วมมือกัน ฯลฯ
* ไม่ระบุ 1.98%
--สวนดุสิตโพล--