ทำไม ? เด็กไทยจึงอ่อนวิทยาศาสตร์ และแข่งขันบนเวทีโลกไม่ได้ !! เป็นปัญหาที่ทุกฝ่ายพยายามที่จะเร่งแก้ไข "สวนดุสิตโพล" สถาบันราชภัฏสวนดุสิต ได้สะท้อนความคิดเห็นของ "ครู/ อาจารย์ผู้ที่สอนวิทยาศาสตร์" ทั่วประเทศ จำนวน 1,087 คน ระหว่างวันที่ 2 - 20 มีนาคม 2544 สรุปประเด็นสำคัญ ๆ ได้ดังนี้
1. ทำไม ? เด็กไทยจึงไม่ค่อย "ชอบ" และ "อ่อน" วิทยาศาสตร์
อันดับที่ 1 เป็นวิชาที่ยาก มีเนื้อหาในหลักสูตรมาก 32.46%
อันดับที่ 2 การสอนไม่ดีพอ / ผู้สอนสื่อสารไม่เข้าใจ / สอนน่าเบื่อ 20.63%
อันดับที่ 3 ไม่ได้รับการสนับสนุนหรือปลูกฝังให้รักวิทยาศาสตร์/
ถูกกีดกันโดยเฉพาะความคิดสร้างสรรค์ 16.18%
อันดับที่ 4 เด็กไม่ชอบเรียน / ไม่ชอบคิด ขาดความสนใจ 11.18%
อันดับที่ 5 ขาดทักษะในการคิดที่เป็นระบบ / ผู้ใหญ่ไม่ค่อยสนับสนุน 6.36%
* อื่น ๆ เช่น ขาดเครื่องมือในการทดลองที่ทันสมัยโดยเฉพาะในชนบท ฯลฯ 13.19%
ทำอย่างไร ? เด็กไทยจึงจะสามารถแข่งขันทางด้านวิทยาศาสตร์กับนานาชาติได้
อันดับที่ 1 พัฒนาครูสอนวิทยาศาสตร์ให้สามารถสร้างเด็กให้รู้จักคิด / สังเกตและมีความคิดสร้างสรรค์ 34.88%
อันดับที่ 2 มีการสนับสนุนอย่างจริงจังและจากทุกฝ่าย 18.60%
อันดับที่ 3 ปลูกฝังให้เด็กไทยรู้จักใช้วิธีการทดลอง การใช้อุปกรณ์เสริมการเรียนรู้ 16.28%
อันดับที่ 4 ส่งเสริมกิจกรรมทางด้านวิทยาศาสตร์อย่างจริงจัง 9.30%
อันดับที่ 5 เน้นการปฏิบัติและทดลองให้มากขึ้น 6.98%
* อื่น ๆ เช่น ควรถือเป็นนโยบายระดับชาติ ฯลฯ 13.96%
"เคล็ดลับจากครู / อาจารย์วิทยาศาสตร์" ในการปลูกฝังวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กไทย
อันดับที่ 1 ทำวิชาวิทยาศาสตร์ให้น่าสนุก น่าสนใจ 31.25%
อันดับที่ 2 ครูควรมีความรอบรู้ / มีความสามารถในการถ่ายทอดให้เด็กเข้าใจง่าย /พร้อมรับฟังความคิดเห็นจากเด็ก 29.17%
อันดับที่ 3 ปลูกฝังเจตคติทางวิทยาศาสตร์ว่าไม่ใช่เป็นเรื่องยากที่จะศึกษา 18.75%
อันดับที่ 4 สอน/ ถ่ายทอดวิทยาศาสตร์ให้ผูกพันกับชีวิต ตั้งแต่ระดับอนุบาล 4.17%
* อื่น ๆ เช่น กระตุ้นเด็กให้สำนึกอยู่เสมอว่า "วิทยาศาสตร์คือชีวิต" ฯลฯ 16.66%
--สวนดุสิตโพล--
1. ทำไม ? เด็กไทยจึงไม่ค่อย "ชอบ" และ "อ่อน" วิทยาศาสตร์
อันดับที่ 1 เป็นวิชาที่ยาก มีเนื้อหาในหลักสูตรมาก 32.46%
อันดับที่ 2 การสอนไม่ดีพอ / ผู้สอนสื่อสารไม่เข้าใจ / สอนน่าเบื่อ 20.63%
อันดับที่ 3 ไม่ได้รับการสนับสนุนหรือปลูกฝังให้รักวิทยาศาสตร์/
ถูกกีดกันโดยเฉพาะความคิดสร้างสรรค์ 16.18%
อันดับที่ 4 เด็กไม่ชอบเรียน / ไม่ชอบคิด ขาดความสนใจ 11.18%
อันดับที่ 5 ขาดทักษะในการคิดที่เป็นระบบ / ผู้ใหญ่ไม่ค่อยสนับสนุน 6.36%
* อื่น ๆ เช่น ขาดเครื่องมือในการทดลองที่ทันสมัยโดยเฉพาะในชนบท ฯลฯ 13.19%
ทำอย่างไร ? เด็กไทยจึงจะสามารถแข่งขันทางด้านวิทยาศาสตร์กับนานาชาติได้
อันดับที่ 1 พัฒนาครูสอนวิทยาศาสตร์ให้สามารถสร้างเด็กให้รู้จักคิด / สังเกตและมีความคิดสร้างสรรค์ 34.88%
อันดับที่ 2 มีการสนับสนุนอย่างจริงจังและจากทุกฝ่าย 18.60%
อันดับที่ 3 ปลูกฝังให้เด็กไทยรู้จักใช้วิธีการทดลอง การใช้อุปกรณ์เสริมการเรียนรู้ 16.28%
อันดับที่ 4 ส่งเสริมกิจกรรมทางด้านวิทยาศาสตร์อย่างจริงจัง 9.30%
อันดับที่ 5 เน้นการปฏิบัติและทดลองให้มากขึ้น 6.98%
* อื่น ๆ เช่น ควรถือเป็นนโยบายระดับชาติ ฯลฯ 13.96%
"เคล็ดลับจากครู / อาจารย์วิทยาศาสตร์" ในการปลูกฝังวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กไทย
อันดับที่ 1 ทำวิชาวิทยาศาสตร์ให้น่าสนุก น่าสนใจ 31.25%
อันดับที่ 2 ครูควรมีความรอบรู้ / มีความสามารถในการถ่ายทอดให้เด็กเข้าใจง่าย /พร้อมรับฟังความคิดเห็นจากเด็ก 29.17%
อันดับที่ 3 ปลูกฝังเจตคติทางวิทยาศาสตร์ว่าไม่ใช่เป็นเรื่องยากที่จะศึกษา 18.75%
อันดับที่ 4 สอน/ ถ่ายทอดวิทยาศาสตร์ให้ผูกพันกับชีวิต ตั้งแต่ระดับอนุบาล 4.17%
* อื่น ๆ เช่น กระตุ้นเด็กให้สำนึกอยู่เสมอว่า "วิทยาศาสตร์คือชีวิต" ฯลฯ 16.66%
--สวนดุสิตโพล--