นิสิตนักศึกษาเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถในด้านต่างๆ และเป็นกำลังสำคัญของบ้านเมืองในการใช้
ความรู้ความสามารถเพื่อการพัฒนาประเทศ แต่แนวโน้มการให้ความสนใจสภาพปัญหาบ้านเมืองของนักศึกษาทุกวันนี้ลด
ลง ดังนั้น เพื่อเป็นการสะท้อนความคิดเห็นของนิสิตนักศึกษา ว่า ทำไม? จึงไม่สนใจติดตามข่าวการอภิปรายไม่ไว้
วางใจที่ผ่านมา อันจะเป็นแนวทางแก้ไข “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็น
ของนิสิตนักศึกษาที่ไม่สนใจติดตามข่าวการอภิปราย ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,013 คน (ชาย
536 คน 52.91% หญิง 477 คน 47.09%) โดยสำรวจวันที่ 28 - 29 มิถุนายน 2548 สรุปผลได้ดังนี้
1. เหตุผลที่ “นิสิตนักศึกษา” ไม่ติดตามข่าวการอภิปรายไม่ไว้วางใจ คือ
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 ไม่ว่าง/ไม่มีเวลา/หากดูไม่ต่อเนื่องอาจเข้าใจข้อมูลผิดพลาดได้ 31.27% 39.08% 35.18%
อันดับที่ 2 รู้สึกเบื่อ มีแต่การทะเลาะ-พูดจาเสียดสีกันไปมา 34.37% 32.45% 33.41%
อันดับที่ 3 ไม่ชอบการเมือง/คิดว่าเป็นการเสียเวลา /
ไม่เข้าใจการทำงานด้านการเมืองมากพอ 18.75% 15.89% 17.32%
อันดับที่ 4 เป็นการพูดถึงแต่เรื่องเดิมๆ /ไม่เห็นผลงานที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม 10.93% 5.96 8.44%
อันดับที่ 5 ชอบฟังแบบสั้นๆ หรือเป็นการสรุปข่าวมากกว่า 4.68% 6.62% 5.65%
2. “นิสิตนักศึกษา” เห็นด้วยหรือไม่? กับคำกล่าวที่ว่า นิสิตนักศึกษาสมัยนี้ ไม่ค่อยสนใจการบ้าน การเมือง
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 เห็นด้วย 53.93% 53.16% 53.55%
เพราะ ส่วนใหญ่จะสนใจเรื่องบันเทิงมากกว่า,รู้สึกน่าเบื่อในการทำตัวที่ไม่เหมาะสมของนักการเมือง ฯลฯ
อันดับที่ 2 ไม่เห็นด้วย 46.07% 46.84% 46.45%
เพราะ บางคนก็ให้ความสนใจเรื่องการเมืองเหมือนกัน/นิสิตนักศึกษาสมัยนี้รับรู้ได้ไวแต่ไม่อยากแสดงความคิดเห็นมากกว่า ฯลฯ
3. วิธีที่จะทำให้ “นิสิตนักศึกษา” สนใจเรื่องการเมืองไทย ควรทำดังนี้
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 สถานศึกษาควรมีการแนะนำหรือปลูกฝังให้นิสิตนักศึกษามีความสนใจ
เกี่ยวกับการเมืองมากขึ้น/มีความสำคัญต่อชีวิตประจำวัน 25.86% 32.33% 29.09%
อันดับที่ 2 มีการกระตุ้นให้เกิดความสนใจ/สอดแทรกเนื้อหาข้อมูลตามสื่อต่างๆ 18.97% 27.07% 23.02%
อันดับที่ 3 ควรจัดกิจกรรมหรือเชิญนักการเมืองเข้ามาพูดคุยกับนักศึกษา 20.69% 13.53% 17.11%
อันดับที่ 4 เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เข้าร่วมรับฟังการประชุมหรืออภิปรายต่างๆ 22.41% 9.02% 15.72%
อันดับที่ 5 ขึ้นอยู่กับการทำตัวของนักการเมือง ความน่าเชื่อถือ ไม่มัวแต่มาทะเลาะกัน 12.07% 18.05% 15.06%
--สวนดุสิตโพล--
-พห-
ความรู้ความสามารถเพื่อการพัฒนาประเทศ แต่แนวโน้มการให้ความสนใจสภาพปัญหาบ้านเมืองของนักศึกษาทุกวันนี้ลด
ลง ดังนั้น เพื่อเป็นการสะท้อนความคิดเห็นของนิสิตนักศึกษา ว่า ทำไม? จึงไม่สนใจติดตามข่าวการอภิปรายไม่ไว้
วางใจที่ผ่านมา อันจะเป็นแนวทางแก้ไข “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็น
ของนิสิตนักศึกษาที่ไม่สนใจติดตามข่าวการอภิปราย ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,013 คน (ชาย
536 คน 52.91% หญิง 477 คน 47.09%) โดยสำรวจวันที่ 28 - 29 มิถุนายน 2548 สรุปผลได้ดังนี้
1. เหตุผลที่ “นิสิตนักศึกษา” ไม่ติดตามข่าวการอภิปรายไม่ไว้วางใจ คือ
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 ไม่ว่าง/ไม่มีเวลา/หากดูไม่ต่อเนื่องอาจเข้าใจข้อมูลผิดพลาดได้ 31.27% 39.08% 35.18%
อันดับที่ 2 รู้สึกเบื่อ มีแต่การทะเลาะ-พูดจาเสียดสีกันไปมา 34.37% 32.45% 33.41%
อันดับที่ 3 ไม่ชอบการเมือง/คิดว่าเป็นการเสียเวลา /
ไม่เข้าใจการทำงานด้านการเมืองมากพอ 18.75% 15.89% 17.32%
อันดับที่ 4 เป็นการพูดถึงแต่เรื่องเดิมๆ /ไม่เห็นผลงานที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม 10.93% 5.96 8.44%
อันดับที่ 5 ชอบฟังแบบสั้นๆ หรือเป็นการสรุปข่าวมากกว่า 4.68% 6.62% 5.65%
2. “นิสิตนักศึกษา” เห็นด้วยหรือไม่? กับคำกล่าวที่ว่า นิสิตนักศึกษาสมัยนี้ ไม่ค่อยสนใจการบ้าน การเมือง
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 เห็นด้วย 53.93% 53.16% 53.55%
เพราะ ส่วนใหญ่จะสนใจเรื่องบันเทิงมากกว่า,รู้สึกน่าเบื่อในการทำตัวที่ไม่เหมาะสมของนักการเมือง ฯลฯ
อันดับที่ 2 ไม่เห็นด้วย 46.07% 46.84% 46.45%
เพราะ บางคนก็ให้ความสนใจเรื่องการเมืองเหมือนกัน/นิสิตนักศึกษาสมัยนี้รับรู้ได้ไวแต่ไม่อยากแสดงความคิดเห็นมากกว่า ฯลฯ
3. วิธีที่จะทำให้ “นิสิตนักศึกษา” สนใจเรื่องการเมืองไทย ควรทำดังนี้
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 สถานศึกษาควรมีการแนะนำหรือปลูกฝังให้นิสิตนักศึกษามีความสนใจ
เกี่ยวกับการเมืองมากขึ้น/มีความสำคัญต่อชีวิตประจำวัน 25.86% 32.33% 29.09%
อันดับที่ 2 มีการกระตุ้นให้เกิดความสนใจ/สอดแทรกเนื้อหาข้อมูลตามสื่อต่างๆ 18.97% 27.07% 23.02%
อันดับที่ 3 ควรจัดกิจกรรมหรือเชิญนักการเมืองเข้ามาพูดคุยกับนักศึกษา 20.69% 13.53% 17.11%
อันดับที่ 4 เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เข้าร่วมรับฟังการประชุมหรืออภิปรายต่างๆ 22.41% 9.02% 15.72%
อันดับที่ 5 ขึ้นอยู่กับการทำตัวของนักการเมือง ความน่าเชื่อถือ ไม่มัวแต่มาทะเลาะกัน 12.07% 18.05% 15.06%
--สวนดุสิตโพล--
-พห-