จากกระแสข่าวการปฏิรูประบบราชการ โดยเฉพาะระบบการจัดตั้ง “ผู้ว่าฯ ซีอีโอ” ซึ่งจะให้ ผู้ว่าราชการ
จังหวัด “มีอำนาจเต็ม” ไม่เป็นเพียงตัวแทนของกระทรวงมหาดไทยเท่านั้น จะต้องดูแล / ป้องกัน / แก้ไขปัญหาทั้งหมด
โดยเป็นเสมือนผู้ช่วยนายกรัฐมนตรีในจังหวัดนั้น ๆ ที่สามารถใช้อำนาจตัดสินใจได้เต็มที่ ทั้งกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินและเหตุ
การณ์ปกติ
“สวนดุสิตโพล” สถาบันราชภัฏสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของ “นักธุรกิจไทย” ต่อกรณีดังกล่าว ทั้งผู้ที่
พักอาศัยในกรุงเทพฯ และหัวเมืองใหญ่ (เชียงใหม่ นครสวรรค์ อยุธยา สระบุรี นครราชสีมา อุบลราชธานี
ชลบุรี สงขลา และภูเก็ต) รวมทั้งสิ้น 1,457 คน ระหว่างวันที่ 12 | 19 สิงหาคม 2544 สรุปผลได้ดังนี้
1. “นักธุรกิจไทย” เห็นด้วยกับ “ระบบผู้ว่าฯ ซีอีโอ” หรือไม่ ?
? เห็นด้วย 70.14%
เพราะ เป็นการบริหารแบบเบ็ดเสร็จ/ครบวงจร,รวดเร็วในการแก้ปัญหา,กระจายอำนาจสู่ต่างจังหวัด ฯลฯ
? ไม่เห็นด้วย 7.00%
เพราะ ระบบราชการทำยากกลัวจะเป็นระบบเผด็จการ, เล่นพรรคเล่นพวกได้ง่าย, เปิดทางแห่งอำนาจ ฯลฯ
? ไม่แน่ใจ 22.86%
เพราะ ยังมีข้อมูลไม่เพียงพอ,ไม่แน่ใจระบบข้าราชการโดยเฉพาะข้าราชการประจำว่าพร้อมจะเปลี่ยนแปลงได้
หรือไม่ ฯลฯ
2. “ข้อดี” ของ “ระบบผู้ว่าฯ ซีอีโอ” ในทัศนะ “นักธุรกิจไทย”
อันดับที่ 1 เป็นการบริหารงานที่ครบวงจร / เบ็ดเสร็จ/ มีประสิทธิภาพ 49.76%
อันดับที่ 2 สามารถป้องกัน / แก้ปัญหาได้สะดวกรวดเร็ว 21.69%
อันดับที่ 3 เป็นการกระตุ้นระบบราชการ / ให้ข้าราชการประจำตื่นตัวทำงานเต็มที่ 20.45%
* อื่น ๆ เช่น เป็นการนำระบบธุรกิจมาประยุกต์ใช้ ฯลฯ 8.10%
3. “ข้อเสีย” ของ “ระบบผู้ว่าฯ ซีอีโอ” ในทัศนะ “นักธุรกิจไทย”
อันดับที่ 1 อาจเกิดระบบเผด็จการทางราชการแบบเบ็ดเสร็จโดยกลุ่มผู้บริหารที่มีอำนาจ 46.26%
อันดับที่ 2 ถ้าผู้นำไม่ดี บ้าอำนาจจะมีการเล่นพวก/ ระบบเส้นสาย 28.48%
อันดับที่ 3 อาจถูกครอบงำ/ชี้แนะจากบางฝ่ายได้ง่าย/แสวงหาประโยชน์เฉพาะกลุ่มได้ง่าย 16.88%
* อื่น ๆ เช่น อาจเป็นช่องทางการคอรัปชั่นได้ง่ายขึ้น, ทำยากในระบบราชการ ฯลฯ 8.38%
4. “คำเตือน” ของ “นักธุรกิจไทย” ต่อ กรณี “ระบบผู้ว่าฯ ซีอีโอ”
อันดับที่ 1 ประเทศไทยไม่ใช่บริษัท/ คิดอาจง่ายแต่ทำยาก/ระบบราชการคงแก้ไขยาก 28.35%
อันดับที่ 2 คัดเลือกคนที่จะเป็นผู้ว่าฯ ให้มีความสามารถ / มีวิสัยทัศน์
อย่าเล่นพรรคเล่นพวก/ โปร่งใส/ทดลองทำถ้าไม่ดีก็ควรเลิก 24.09%
อันดับที่ 3 การเมืองอย่าเข้าไปแทรกแซง / อย่าใช้อำนาจการเมือง 16.82%
อันดับที่ 4 กวดขันการปฏิบัติงานของข้าราชการประจำ/ข้าราชการอย่าเจ้ายศเจ้าอย่าง 14.82%
อันดับที่ 5 ระวังการใช้อำนาจเบ็ดเสร็จจนเป็นเผด็จการ / บ้าอำนาจ/อิทธิพลครอบงำ 9.20%
* อื่น ๆ เช่น ระบบงานต้องไม่ยุ่งยาก / ไม่มีขั้นตอนซับซ้อน ฯลฯ 6.72%
--สวนดุสิตโพล--
จังหวัด “มีอำนาจเต็ม” ไม่เป็นเพียงตัวแทนของกระทรวงมหาดไทยเท่านั้น จะต้องดูแล / ป้องกัน / แก้ไขปัญหาทั้งหมด
โดยเป็นเสมือนผู้ช่วยนายกรัฐมนตรีในจังหวัดนั้น ๆ ที่สามารถใช้อำนาจตัดสินใจได้เต็มที่ ทั้งกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินและเหตุ
การณ์ปกติ
“สวนดุสิตโพล” สถาบันราชภัฏสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของ “นักธุรกิจไทย” ต่อกรณีดังกล่าว ทั้งผู้ที่
พักอาศัยในกรุงเทพฯ และหัวเมืองใหญ่ (เชียงใหม่ นครสวรรค์ อยุธยา สระบุรี นครราชสีมา อุบลราชธานี
ชลบุรี สงขลา และภูเก็ต) รวมทั้งสิ้น 1,457 คน ระหว่างวันที่ 12 | 19 สิงหาคม 2544 สรุปผลได้ดังนี้
1. “นักธุรกิจไทย” เห็นด้วยกับ “ระบบผู้ว่าฯ ซีอีโอ” หรือไม่ ?
? เห็นด้วย 70.14%
เพราะ เป็นการบริหารแบบเบ็ดเสร็จ/ครบวงจร,รวดเร็วในการแก้ปัญหา,กระจายอำนาจสู่ต่างจังหวัด ฯลฯ
? ไม่เห็นด้วย 7.00%
เพราะ ระบบราชการทำยากกลัวจะเป็นระบบเผด็จการ, เล่นพรรคเล่นพวกได้ง่าย, เปิดทางแห่งอำนาจ ฯลฯ
? ไม่แน่ใจ 22.86%
เพราะ ยังมีข้อมูลไม่เพียงพอ,ไม่แน่ใจระบบข้าราชการโดยเฉพาะข้าราชการประจำว่าพร้อมจะเปลี่ยนแปลงได้
หรือไม่ ฯลฯ
2. “ข้อดี” ของ “ระบบผู้ว่าฯ ซีอีโอ” ในทัศนะ “นักธุรกิจไทย”
อันดับที่ 1 เป็นการบริหารงานที่ครบวงจร / เบ็ดเสร็จ/ มีประสิทธิภาพ 49.76%
อันดับที่ 2 สามารถป้องกัน / แก้ปัญหาได้สะดวกรวดเร็ว 21.69%
อันดับที่ 3 เป็นการกระตุ้นระบบราชการ / ให้ข้าราชการประจำตื่นตัวทำงานเต็มที่ 20.45%
* อื่น ๆ เช่น เป็นการนำระบบธุรกิจมาประยุกต์ใช้ ฯลฯ 8.10%
3. “ข้อเสีย” ของ “ระบบผู้ว่าฯ ซีอีโอ” ในทัศนะ “นักธุรกิจไทย”
อันดับที่ 1 อาจเกิดระบบเผด็จการทางราชการแบบเบ็ดเสร็จโดยกลุ่มผู้บริหารที่มีอำนาจ 46.26%
อันดับที่ 2 ถ้าผู้นำไม่ดี บ้าอำนาจจะมีการเล่นพวก/ ระบบเส้นสาย 28.48%
อันดับที่ 3 อาจถูกครอบงำ/ชี้แนะจากบางฝ่ายได้ง่าย/แสวงหาประโยชน์เฉพาะกลุ่มได้ง่าย 16.88%
* อื่น ๆ เช่น อาจเป็นช่องทางการคอรัปชั่นได้ง่ายขึ้น, ทำยากในระบบราชการ ฯลฯ 8.38%
4. “คำเตือน” ของ “นักธุรกิจไทย” ต่อ กรณี “ระบบผู้ว่าฯ ซีอีโอ”
อันดับที่ 1 ประเทศไทยไม่ใช่บริษัท/ คิดอาจง่ายแต่ทำยาก/ระบบราชการคงแก้ไขยาก 28.35%
อันดับที่ 2 คัดเลือกคนที่จะเป็นผู้ว่าฯ ให้มีความสามารถ / มีวิสัยทัศน์
อย่าเล่นพรรคเล่นพวก/ โปร่งใส/ทดลองทำถ้าไม่ดีก็ควรเลิก 24.09%
อันดับที่ 3 การเมืองอย่าเข้าไปแทรกแซง / อย่าใช้อำนาจการเมือง 16.82%
อันดับที่ 4 กวดขันการปฏิบัติงานของข้าราชการประจำ/ข้าราชการอย่าเจ้ายศเจ้าอย่าง 14.82%
อันดับที่ 5 ระวังการใช้อำนาจเบ็ดเสร็จจนเป็นเผด็จการ / บ้าอำนาจ/อิทธิพลครอบงำ 9.20%
* อื่น ๆ เช่น ระบบงานต้องไม่ยุ่งยาก / ไม่มีขั้นตอนซับซ้อน ฯลฯ 6.72%
--สวนดุสิตโพล--