กระแสการเมืองในช่วงนี้มีความร้อนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องการเตรียมความพร้อมเข้าสู่การเลือกตั้งของพรรคการเมืองต่าง ๆ ที่เริ่มมีการ เคลื่อนไหว ทั้งการดูดตัวผู้สมัครเข้าสู่พรรค การเตรียมตัวของพรรคการเมืองเก่า รวมถึงการเปิดตัวพรรคใหม่ เพื่อเป็นการสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนต่อ “พรรคการเมืองเก่า” กับ “พรรคการเมืองใหม่” “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,105 คน ระหว่างวันที่ 19-23 มิถุนายน 2561 สรุปผลได้ ดังนี้
อันดับ 1 เพื่อไทย 55.59% อันดับ 2 ประชาธิปัตย์ 39.89% อันดับ 3 ภูมิใจไทย 4.52% 2. “3 อันดับพรรคการเมืองใหม่” ที่อยู่ในความสนใจของประชาชน ณ วันนี้ คือ อันดับ 1 อนาคตใหม่ 57.51% อันดับ 2 พลังประชารัฐ 24.35% อันดับ 3 พลังชาติไทย 18.14% 3. เมื่อพิจารณาความสนใจในภาพรวมทั้ง “พรรคการเมืองเก่า” และ “พรรคการเมืองใหม่” “5 อันดับพรรคการเมือง” ที่อยู่ในความสนใจของประชาชน ณ วันนี้ คือ อันดับ 1 เพื่อไทย 55.02% เพราะ ชื่นชอบ เป็นพรรคใหญ่ อยากให้เข้ามาแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ช่วยเหลือประชาชน มีนักการเมืองเก่งมีชื่อเสียง ฯลฯ อันดับ 2 อนาคตใหม่ 34.18% เพราะ เป็นพรรคใหม่ มีคนรุ่นใหม่เข้ามาทำงาน มีนโยบายน่าสนใจ อยากเปิดโอกาสให้เข้ามาทำงาน ฯลฯ อันดับ 3 ประชาธิปัตย์ 33.88% เพราะ เป็นพรรคเก่าแก่ ก่อตั้งมานาน มีประสบการณ์ ชื่นชอบ การทำงาน มีผู้สมัครที่น่าสนใจ เลือกพรรคนี้มาโดยตลอด ฯลฯ อันดับ 4 พลังประชารัฐ 17.39% เพราะ มีกระแสต่อเนื่อง เกี่ยวข้องกับรัฐบาลปัจจุบัน เป็นพรรคใหม่ มีนักการเมืองเข้ามาร่วมหลากหลาย ฯลฯ อันดับ 5 ภูมิใจไทย 12.59% เพราะ ชอบการบริหารงานที่ผ่านมา เป็นพรรคเล็กที่มีบทบาทสำคัญ อยากรู้ความเคลื่อนไหว ฯลฯ 4. ผู้สมัคร ส.ส. ที่สังกัด “พรรคการเมืองเก่า” กับ “พรรคการเมืองใหม่” มีผลต่อการตัดสินใจของประชาชนหรือไม่ อันดับ 1 มีผล 54.33% เพราะ ขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละคน ชอบคนแต่ไม่ชอบพรรค นโยบายแต่ละพรรคแตกต่างกัน นอกจากจะดูที่ตัวบุคคลแล้วก็ดูว่า สังกัดพรรคที่ชอบด้วยหรือไม่ การเลือกสังกัดพรรคส่งผลต่อความ น่าเชื่อถือ ฯลฯ อันดับ 2 ไม่มีผล 45.67% เพราะ ดูที่ตัวบุคคล ประวัติ ประสบการณ์ ผลงานที่ผ่านมา ชอบเป็นการส่วนตัว ไม่พิจารณาว่าสังกัดพรรคใด หากเป็นคนดี อยู่พรรคใดก็ทำงานได้ ฯลฯ 5. ในการเลือก ส.ส. ระหว่าง “ตัวผู้สมัคร” กับ “พรรคที่สังกัด” ประชาชนให้ความสำคัญอะไรมากกว่ากัน อันดับ 1 พอ ๆ กัน 41.63% เพราะ ต้องพิจารณาทั้งตัวผู้สมัครและพรรคที่สังกัดไปพร้อม ๆ กัน อยากได้ทั้งผู้สมัครและพรรคที่ดีมีคุณภาพ หากพรรคมีนโยบายที่ดี ก็จะส่งผลให้ผู้สมัครทำงานได้ดี มีผลงาน ฯลฯ อันดับ 2 ตัวผู้สมัครมากกว่า 36.92% เพราะ เน้นที่ตัวผู้สมัคร อยากได้คนดี ทำงานเป็น มีผลงาน มีความคุ้นเคยกับคนในพื้นที่ พรรคการเมืองที่ดีต้องมีผู้สมัครที่ดี ฯลฯ อันดับ 3 พรรคที่สังกัดมากกว่า 21.45% เพราะ พรรควางนโยบายของผู้สมัคร พรรคที่มีการบริหารที่ดีจะ ทำให้ผู้สมัครทำงานได้ดียิ่งขึ้น ผู้สมัครต้องปฏิบัติตามแนวทางของพรรค พรรคที่เข้มแข็งสามารถให้การสนับสนุนผู้สมัครได้เต็มที่ ฯลฯ
--สวนดุสิตโพล--