หลังจากการอภิปรายไม่ไว้วางใจได้ผ่านพ้นไปแล้วนั้น “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
ต้องการที่จะสะท้อนความคิดเห็นของประชาชน กรณีอภิปรายไม่ไว้วางใจว่ามีผลต่อความนิยมของพรรคการเมืองต่างๆ
อย่างไร?จึงได้สำรวจความคิดเห็นของผู้ที่นิยมพรรคการเมืองต่างๆและไม่นิยมพรรคการเมืองใดเลย ทั้งใน
เขตกรุงเทพฯและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,558 คน (ผู้ที่ชอบพรรคไทยรักไทย 495 คน 31.77% ผู้ที่ชอบพรรค
ประชาธิปัตย์ 401 คน 25.74% ผู้ที่ชอบพรรคชาติไทย 209 คน 13.41% ผู้ที่ไม่ชอบทั้ง 3 พรรค
453คน 29.08% ) โดยสำรวจระหว่างวันที่ 30 มิถุนายน — 3 กรกฎาคม 2548 สรุปผลได้ดังนี้
1. ผู้ที่ชื่นชอบพรรคไทยรักไทยมีความนิยมต่อพรรคไทยรักไทยภายหลังการอภิปรายดังนี้
อันดับที่ 1 ยังชอบพรรคไทยรักไทยเหมือนเดิม 55.04%
เพราะ ยังเชื่อมั่นในตัวนายกฯทักษิณอยู่,เป็นเรื่องส่วนบุคคลอย่ามองรวมไปถึงทั้งพรรค ฯลฯ
อันดับที่ 2 ชื่นชอบพรรคไทยรักไทยน้อยลง 31.19%
เพราะ การชี้แจงข้อซักถามต่างๆไม่ชัดเจน ไม่สามารถหาเหตุผลอ้างอิงมาชี้แจงได้,ทำให้เห็นความบกพร่องในการทำงาน ฯลฯ
อันดับที่ 3 ชื่นชอบพรรคไทยรักไทยเพิ่มขึ้น 13.77%
เพราะ สามารถควบคุมอารมณ์ในการอภิปรายได้ดี,ปฏิบัติตามกฎระเบียบของที่ประชุมได้ถูกต้องไม่มัวแต่ทะเลาะกัน ฯลฯ
2. ผู้ที่ชื่นชอบพรรคประชาธิปัตย์มีความนิยมต่อพรรคประชาธิปัตย์ภายหลังการอภิปรายดังนี้
อันดับที่ 1 ชื่นชอบพรรคประชาธิปัตย์เพิ่มขึ้น 66.33%
เพราะ การเตรียมเอกสารข้อมูลต่างๆมีความชัดเจนมากขึ้น,มีการเตรียมพร้อมที่ดีในการอภิปราย,พัฒนาฝีมือมากขึ้น ฯลฯ
อันดับที่ 2 ยังชื่นชอบพรรคประชาธิปัตย์เหมือนเดิม 28.57%
เพราะ เป็นหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติอยู่แล้ว,เป็นการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลและทำให้ประชาชนได้รับทราบข้อมูล ฯลฯ
อันดับที่ 3 ชื่นชอบพรรคประชาธิปัตย์น้อยลง 5.10%
เพราะ การอภิปรายบางครั้งใช้คำพูดที่รุนแรงและเสียดสีเกินไป,คาดหวังไว้ว่าจะได้รับทราบข้อมูลที่ชัดเจนกว่านี้ ฯลฯ
3. ผู้ที่ชื่นชอบพรรคชาติไทยมีความนิยมต่อพรรคชาติไทยภายหลังการอภิปรายดังนี้
อันดับที่ 1 ยังชื่นชอบพรรคชาติไทยเหมือนเดิม 47.61%
เพราะ เป็นพรรคที่ไม่ค่อยมีปัญหากับใคร,ชื่นชอบพรรคชาติไทยอยู่แล้ว,มีจุดยืนเป็นของตัวเอง ฯลฯ
อันดับที่ 2 ชื่นชอบพรรคชาติไทยเพิ่มขึ้น 42.87%
เพราะ ชอบลีลาในการพูดของชูวิทย์,ทำให้มีสีสันในการอภิปรายมากขึ้น,ทำตามหน้าที่ได้ดี ฯลฯ
อันดับที่ 3 ชื่นชอบพรรคชาติไทยน้อยลง 9.52%
เพราะ สามาชิกในพรรคไม่ค่อยมีบทบาทมากนัก,หาตัวแทนของพรรคที่มีความพร้อมในการอภิปรายได้ยาก ฯลฯ
4. สำหรับกรณีผู้ที่ไม่ชื่นชอบพรรคการเมืองใดๆเลยเป็นพิเศษ ภายหลังจากการอภิปรายจะมีความคิดเห็นต่อพรรคการเมืองต่างๆดังนี้
อันดับที่ 1 การอภิปรายไม่มีผลให้ชื่นชอบพรรคการเมืองใดเป็นพิเศษ 41.72%
เพราะ เป็นการทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด,เป็นเพียงแค่การพูดอย่างเดียว
อยากเห็นผลงานที่เป็นรูปธรรมมากกว่า ฯลฯ
อันดับที่ 2 ชื่นชอบพรรคการเมืองต่างๆ มากขึ้น(โดยเรียงลำดับดังนี้คือ
พรรคประชาธิปัตย์/พรรคไทยรักไทย/พรรคชาติไทย) 35.09%
อันดับที่ 3 จากการอภิปรายในครั้งนี้มีผลทำให้ไม่ชื่นชอบพรรคการเมือง
(โดยเรียงลำดับดังนี้ คือ พรรคไทยรักไทย/พรรคประชาธิปัตย์/
พรรคชาติไทย/ทุกพรรค) 23.19%
--สวนดุสิตโพล--
-พห-
ต้องการที่จะสะท้อนความคิดเห็นของประชาชน กรณีอภิปรายไม่ไว้วางใจว่ามีผลต่อความนิยมของพรรคการเมืองต่างๆ
อย่างไร?จึงได้สำรวจความคิดเห็นของผู้ที่นิยมพรรคการเมืองต่างๆและไม่นิยมพรรคการเมืองใดเลย ทั้งใน
เขตกรุงเทพฯและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,558 คน (ผู้ที่ชอบพรรคไทยรักไทย 495 คน 31.77% ผู้ที่ชอบพรรค
ประชาธิปัตย์ 401 คน 25.74% ผู้ที่ชอบพรรคชาติไทย 209 คน 13.41% ผู้ที่ไม่ชอบทั้ง 3 พรรค
453คน 29.08% ) โดยสำรวจระหว่างวันที่ 30 มิถุนายน — 3 กรกฎาคม 2548 สรุปผลได้ดังนี้
1. ผู้ที่ชื่นชอบพรรคไทยรักไทยมีความนิยมต่อพรรคไทยรักไทยภายหลังการอภิปรายดังนี้
อันดับที่ 1 ยังชอบพรรคไทยรักไทยเหมือนเดิม 55.04%
เพราะ ยังเชื่อมั่นในตัวนายกฯทักษิณอยู่,เป็นเรื่องส่วนบุคคลอย่ามองรวมไปถึงทั้งพรรค ฯลฯ
อันดับที่ 2 ชื่นชอบพรรคไทยรักไทยน้อยลง 31.19%
เพราะ การชี้แจงข้อซักถามต่างๆไม่ชัดเจน ไม่สามารถหาเหตุผลอ้างอิงมาชี้แจงได้,ทำให้เห็นความบกพร่องในการทำงาน ฯลฯ
อันดับที่ 3 ชื่นชอบพรรคไทยรักไทยเพิ่มขึ้น 13.77%
เพราะ สามารถควบคุมอารมณ์ในการอภิปรายได้ดี,ปฏิบัติตามกฎระเบียบของที่ประชุมได้ถูกต้องไม่มัวแต่ทะเลาะกัน ฯลฯ
2. ผู้ที่ชื่นชอบพรรคประชาธิปัตย์มีความนิยมต่อพรรคประชาธิปัตย์ภายหลังการอภิปรายดังนี้
อันดับที่ 1 ชื่นชอบพรรคประชาธิปัตย์เพิ่มขึ้น 66.33%
เพราะ การเตรียมเอกสารข้อมูลต่างๆมีความชัดเจนมากขึ้น,มีการเตรียมพร้อมที่ดีในการอภิปราย,พัฒนาฝีมือมากขึ้น ฯลฯ
อันดับที่ 2 ยังชื่นชอบพรรคประชาธิปัตย์เหมือนเดิม 28.57%
เพราะ เป็นหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติอยู่แล้ว,เป็นการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลและทำให้ประชาชนได้รับทราบข้อมูล ฯลฯ
อันดับที่ 3 ชื่นชอบพรรคประชาธิปัตย์น้อยลง 5.10%
เพราะ การอภิปรายบางครั้งใช้คำพูดที่รุนแรงและเสียดสีเกินไป,คาดหวังไว้ว่าจะได้รับทราบข้อมูลที่ชัดเจนกว่านี้ ฯลฯ
3. ผู้ที่ชื่นชอบพรรคชาติไทยมีความนิยมต่อพรรคชาติไทยภายหลังการอภิปรายดังนี้
อันดับที่ 1 ยังชื่นชอบพรรคชาติไทยเหมือนเดิม 47.61%
เพราะ เป็นพรรคที่ไม่ค่อยมีปัญหากับใคร,ชื่นชอบพรรคชาติไทยอยู่แล้ว,มีจุดยืนเป็นของตัวเอง ฯลฯ
อันดับที่ 2 ชื่นชอบพรรคชาติไทยเพิ่มขึ้น 42.87%
เพราะ ชอบลีลาในการพูดของชูวิทย์,ทำให้มีสีสันในการอภิปรายมากขึ้น,ทำตามหน้าที่ได้ดี ฯลฯ
อันดับที่ 3 ชื่นชอบพรรคชาติไทยน้อยลง 9.52%
เพราะ สามาชิกในพรรคไม่ค่อยมีบทบาทมากนัก,หาตัวแทนของพรรคที่มีความพร้อมในการอภิปรายได้ยาก ฯลฯ
4. สำหรับกรณีผู้ที่ไม่ชื่นชอบพรรคการเมืองใดๆเลยเป็นพิเศษ ภายหลังจากการอภิปรายจะมีความคิดเห็นต่อพรรคการเมืองต่างๆดังนี้
อันดับที่ 1 การอภิปรายไม่มีผลให้ชื่นชอบพรรคการเมืองใดเป็นพิเศษ 41.72%
เพราะ เป็นการทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด,เป็นเพียงแค่การพูดอย่างเดียว
อยากเห็นผลงานที่เป็นรูปธรรมมากกว่า ฯลฯ
อันดับที่ 2 ชื่นชอบพรรคการเมืองต่างๆ มากขึ้น(โดยเรียงลำดับดังนี้คือ
พรรคประชาธิปัตย์/พรรคไทยรักไทย/พรรคชาติไทย) 35.09%
อันดับที่ 3 จากการอภิปรายในครั้งนี้มีผลทำให้ไม่ชื่นชอบพรรคการเมือง
(โดยเรียงลำดับดังนี้ คือ พรรคไทยรักไทย/พรรคประชาธิปัตย์/
พรรคชาติไทย/ทุกพรรค) 23.19%
--สวนดุสิตโพล--
-พห-