**ประชาชน “รู้ข่าวการเลือกตั้ง สว. อย่างดี” ไม่ถึง 30%**
ทำให้โอกาสที่จะไม่ไปเลือกตั้งมาก โดยเฉพาะคนต่างจังหวัด
2 มีนาคม 2551 กำหนดการเลือกตั้ง สว. แต่กระแสการตื่นตัวของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งยังค่อนข้างเงียบและไม่คึกคักเท่าที่ควร
ทั้งที่มีเวลาเหลืออีกเพียง 10 กว่าวันเท่านั้น เพื่อสะท้อนปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาดังกล่าว “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
จึงได้สำรวจความคิดเห็นของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง สว. ทั่วประเทศ จำนวน 3,266 คน (กทม. 1,027 คน 31.45% ต่างจังหวัด 2,239 คน
68.55%)ระหว่างวันที่ 9-16 กุมภาพันธ์ 2551 สรุปผลได้ดังนี้
1. การรับรู้ข่าวของประชาชน ต่อ “การเลือกตั้ง สว.” ในวันอาทิตย์ที่ 2 มี.ค.51
อันดับที่ ภาพรวม กทม. ตจว.
1 พอรู้บ้าง 57.93% 45.38% 63.69%
เพราะ เห็นจากป้ายประกาศตัวผู้สมัครที่ติดอยู่ตามท้องถนน , ทราบข่าวจากทางสื่อต่างๆ ฯลฯ
2 รู้อย่างดี 29.49% 48.79% 20.64%
เพราะ มีการประชาสัมพันธ์ รณรงค์ให้ไปเลือกตั้งจากสื่อต่างๆ ,เป็นการเลือกตั้งที่มีส่วนสำคัญในการบริหารบ้านเมือง ฯลฯ
3 ไม่รู้เลย 12.58% 5.83% 15.67%
เพราะ ยังไม่ทราบข่าวว่าจะมีการเลือกตั้ง ,คนรอบข้างไม่มีใครพูดถึงเรื่องนี้ให้ฟัง ,การประชาสัมพันธ์น้อย ฯลฯ
2. ความตื่นตัวของประชาชนระหว่าง “การเลือกตั้ง ส.ส.” ที่ผ่านมา กับ“การเลือกตั้ง สว.”
อันดับที่ ภาพรวม กทม. ตจว.
1 การเลือก ส.ส. ตื่นตัวมากกว่า สว. 78.79% 72.93% 81.47%
เพราะ ดูจากสื่อต่างๆที่ให้ความสนใจและมีการนำเสนอข่าวอย่างต่อเนื่อง ,การแข่งขันทางการเมืองมีมาก ,
ประชาชนอยากได้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง, และต้องการให้บ้านเมืองมีความสงบเรียบร้อย ฯลฯ
2 พอๆกัน 14.67% 15.58% 14.25%
เพราะ มีความสำคัญต่อการบริหารประเทศเหมือนกัน ,อยากได้คนดีเข้ามาทำงาน ฯลฯ
3 การเลือก สว. ตื่นตัวมากกว่า ส.ส. 6.54% 11.49% 4.28%
เพราะ มีอำนาจในการตรวจสอบดูแลนักการเมือง ,มีบุคคลที่มีชื่อเสียงและมีความสามารถหลายท่านที่ลงสมัครในครั้งนี้ ฯลฯ
3. การไปใช้สิทธิของประชาชนใน “การเลือกตั้ง สว.” ในวันอาทิตย์ที่ 2 มี.ค.51
อันดับที่ ภาพรวม กทม. ตจว.
1 คงจะไป 38.37% 26.20% 43.95%
เพราะ เป็นช่วงที่ตรงกับวันหยุดพอดี ,สถานที่ลงคะแนนอยู่ไม่ไกลจากบ้าน ,มีความสำคัญในการบริหารบ้านเมือง ฯลฯ
2 ไปแน่นอน 31.88% 59.40% 19.25%
เพราะ ไม่อยากเสียสิทธิ ,ควรใช้สิทธิที่มีอยู่ให้เต็มที่ ,เป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคน ฯลฯ
3 คงจะไม่ไป 18.41% 8.18% 23.09%
เพราะ ไม่ว่าง ติดธุระ ,ต้องรอดูใกล้วันเลือกตั้งอีกครั้ง ฯลฯ
4 ไม่ไป 11.34% 6.22% 13.71%
เพราะ เบื่อการเมือง ,ตั้งใจไม่ไปใช้สิทธิครั้งนี้ ฯลฯ
--สวนดุสิตโพล--
-พห-
ทำให้โอกาสที่จะไม่ไปเลือกตั้งมาก โดยเฉพาะคนต่างจังหวัด
2 มีนาคม 2551 กำหนดการเลือกตั้ง สว. แต่กระแสการตื่นตัวของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งยังค่อนข้างเงียบและไม่คึกคักเท่าที่ควร
ทั้งที่มีเวลาเหลืออีกเพียง 10 กว่าวันเท่านั้น เพื่อสะท้อนปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาดังกล่าว “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
จึงได้สำรวจความคิดเห็นของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง สว. ทั่วประเทศ จำนวน 3,266 คน (กทม. 1,027 คน 31.45% ต่างจังหวัด 2,239 คน
68.55%)ระหว่างวันที่ 9-16 กุมภาพันธ์ 2551 สรุปผลได้ดังนี้
1. การรับรู้ข่าวของประชาชน ต่อ “การเลือกตั้ง สว.” ในวันอาทิตย์ที่ 2 มี.ค.51
อันดับที่ ภาพรวม กทม. ตจว.
1 พอรู้บ้าง 57.93% 45.38% 63.69%
เพราะ เห็นจากป้ายประกาศตัวผู้สมัครที่ติดอยู่ตามท้องถนน , ทราบข่าวจากทางสื่อต่างๆ ฯลฯ
2 รู้อย่างดี 29.49% 48.79% 20.64%
เพราะ มีการประชาสัมพันธ์ รณรงค์ให้ไปเลือกตั้งจากสื่อต่างๆ ,เป็นการเลือกตั้งที่มีส่วนสำคัญในการบริหารบ้านเมือง ฯลฯ
3 ไม่รู้เลย 12.58% 5.83% 15.67%
เพราะ ยังไม่ทราบข่าวว่าจะมีการเลือกตั้ง ,คนรอบข้างไม่มีใครพูดถึงเรื่องนี้ให้ฟัง ,การประชาสัมพันธ์น้อย ฯลฯ
2. ความตื่นตัวของประชาชนระหว่าง “การเลือกตั้ง ส.ส.” ที่ผ่านมา กับ“การเลือกตั้ง สว.”
อันดับที่ ภาพรวม กทม. ตจว.
1 การเลือก ส.ส. ตื่นตัวมากกว่า สว. 78.79% 72.93% 81.47%
เพราะ ดูจากสื่อต่างๆที่ให้ความสนใจและมีการนำเสนอข่าวอย่างต่อเนื่อง ,การแข่งขันทางการเมืองมีมาก ,
ประชาชนอยากได้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง, และต้องการให้บ้านเมืองมีความสงบเรียบร้อย ฯลฯ
2 พอๆกัน 14.67% 15.58% 14.25%
เพราะ มีความสำคัญต่อการบริหารประเทศเหมือนกัน ,อยากได้คนดีเข้ามาทำงาน ฯลฯ
3 การเลือก สว. ตื่นตัวมากกว่า ส.ส. 6.54% 11.49% 4.28%
เพราะ มีอำนาจในการตรวจสอบดูแลนักการเมือง ,มีบุคคลที่มีชื่อเสียงและมีความสามารถหลายท่านที่ลงสมัครในครั้งนี้ ฯลฯ
3. การไปใช้สิทธิของประชาชนใน “การเลือกตั้ง สว.” ในวันอาทิตย์ที่ 2 มี.ค.51
อันดับที่ ภาพรวม กทม. ตจว.
1 คงจะไป 38.37% 26.20% 43.95%
เพราะ เป็นช่วงที่ตรงกับวันหยุดพอดี ,สถานที่ลงคะแนนอยู่ไม่ไกลจากบ้าน ,มีความสำคัญในการบริหารบ้านเมือง ฯลฯ
2 ไปแน่นอน 31.88% 59.40% 19.25%
เพราะ ไม่อยากเสียสิทธิ ,ควรใช้สิทธิที่มีอยู่ให้เต็มที่ ,เป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคน ฯลฯ
3 คงจะไม่ไป 18.41% 8.18% 23.09%
เพราะ ไม่ว่าง ติดธุระ ,ต้องรอดูใกล้วันเลือกตั้งอีกครั้ง ฯลฯ
4 ไม่ไป 11.34% 6.22% 13.71%
เพราะ เบื่อการเมือง ,ตั้งใจไม่ไปใช้สิทธิครั้งนี้ ฯลฯ
--สวนดุสิตโพล--
-พห-