การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 35 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในการต้อนรับผู้นำประเทศสมาชิกได้ปิดฉากเป็นที่เรียบร้อย ขณะที่ประชาชนคนไทย ที่ติดตามการประชุมครั้งนี้ต่างก็มุ่งหวังให้การเป็นเจ้าภาพครั้งนี้ประสบความสำเร็จและเป็นไปอย่างราบรื่น เพื่อเป็นการสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อ การจัดประชุมดังกล่าว “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,159 คน ระหว่างวันที่ 6-9 พฤศจิกายน 2562 สรุปผลได้ ดังนี้
อันดับ 1 ค่อนข้างสนใจ 41.24% เพราะ ได้เห็นท่าทีของผู้แทนประเทศสมาชิกต่างๆ สื่อไทยและต่างประเทศ นำเสนอข่าวอย่างต่อเนื่อง อยากรู้ว่าจะมีความร่วมมือกันอย่างไรบ้าง หวังว่าเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียนจะเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น ฯลฯ อันดับ 2 ไม่ค่อยสนใจ 24.16% เพราะ ไทยเคยจัดประชุมมาแล้วหลายครั้ง บางประเทศไม่ส่งผู้นำเข้าร่วม ไม่ค่อยมีประเด็นที่น่าสนใจ ฯลฯ อันดับ 3 สนใจมาก 21.23% เพราะ มีผู้นำจากหลายประเทศเข้าร่วม น่าจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของไทย และอาเซียนโดยตรง เป็นการประชุมสำคัญระดับโลก ประเทศไทยได้รับ เกียรติเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุม ฯลฯ อันดับ 4 ไม่สนใจ 13.37% เพราะ เป็นเรื่องไกลตัว สนใจเรื่องปากท้องชีวิตความเป็นอยู่มากกว่า ไม่น่าจะช่วยแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจในตอนนี้ได้ ฯลฯ 2. สิ่งที่ประชาชน “ประทับใจ/พอใจ” จากการประชุมครั้งนี้ คือ อันดับ 1 การจัดงานสำเร็จด้วยดี เป็นเจ้าภาพที่ดี ไม่มีสถานการณ์วุ่นวาย 46.98% อันดับ 2 มีการลงนามร่วมกัน ผลักดันเรื่องสำคัญทั้งด้านเศรษฐกิจและการเมือง 31.99% อันดับ 3 ผู้แทนแต่ละประเทศมาร่วมงาน ช่วยสร้างสัมพันธไมตรีที่ดีในภูมิภาคอาเซียน 28.64% 3. สิ่งที่ประชาชน “เป็นห่วง/กังวล” จากการประชุมครั้งนี้ คือ อันดับ 1 ไม่มีการขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง ไม่ปฏิบัติตามสัญญาที่ให้ไว้ในการประชุม 49.12% อันดับ 2 ประเทศไทยอาจเสียเปรียบในบางข้อตกลง ไม่ได้รับความร่วมมือเท่าที่ควร 29.24% อันดับ 3 การเคลื่อนไหว ชุมนุมประท้วงระหว่างการจัดประชุม 23.68% 4. ประชาชนคิดว่าประเทศไทยได้ประโยชน์จากการประชุมครั้งนี้มากน้อยเพียงใด? อันดับ 1 ได้ประโยชน์อยู่บ้าง 44.35% เพราะ ประเทศไทยเป็นที่รู้จักมากขึ้น ได้เผยแพร่ชื่อเสียง เอกลักษณ์ความเป็นไทย ส่งเสริมภาพลักษณ์ของประเทศให้ดีขึ้น ช่วยให้บรรลุข้อตกลงได้หลายเรื่อง ฯลฯ อันดับ 2 ได้ประโยชน์มาก 25.80% เพราะ เป็นการกระชับสัมพันธ์ที่ดีกับต่างประเทศให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น เป็นเวทีที่ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจ และชี้ให้เห็นว่าประเทศไทย นั้นมีศักยภาพ มีความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศ ฯลฯ อันดับ 3 ไม่ค่อยได้ประโยชน์ 19.41% เพราะ จัดการประชุมมาแล้วหลายครั้งแต่ก็ยังเห็นผลช้า ต้องใช้เวลา ในการดำเนินการ แม้มีการลงนามร่วมกันแต่ก็ยังพบปัญหาที่รอการแก้ไข อีกมาก ฯลฯ อันดับ 4 ไม่ได้ประโยชน์ 10.44% เพราะ ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำเกิดขึ้นทั่วโลก แม้แต่ประเทศมหาอำนาจ ก็ยังประสบปัญหา ยังไม่เห็นทางออก ฯลฯ 5. ประโยชน์ที่ได้อย่างเป็นรูปธรรม จากการประชุมครั้งนี้ คือ อันดับ 1 การลงนามความร่วมมือในภูมิภาคอาเซียน เดินหน้าขับเคลื่อนเศรษฐกิจ 60.67% อันดับ 2 สื่อต่างประเทศนำเสนอข่าว ทำให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น 30.79% ได้เผยแพร่เอกลักษณ์ความเป็นไทย อันดับ 3 ได้เห็นการแสดงวิสัยทัศน์ของผู้นำแต่ละประเทศ การเจรจาตกลงร่วมกัน 28.31%
ที่มา: สวนดุสิตโพล