จากกรณีที่มีนักศึกษาของ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เสียชีวิตจากการรับน้องทำให้เกิดกระแสวิพากษ์
วิจารณ์ รวมทั้งบุคลากรทางการศึกษาและหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเกิดความเป็นห่วงต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
“สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็นของนักศึกษาทุกชั้นปีใน
เขตกรุงเทพฯและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,465 คน (นักศึกษาปีที่ 1 จำนวน 520 คน 35.49% นักศึกษาปี
2 — ปี 4 จำนวน 945 คน 64.51%) โดยสำรวจระหว่างวันที่ 12 — 14 มิถุนายน 2548 สรุปผลได้ดังนี้
1. “นักศึกษา” คิดว่าการที่มีนักศึกษา ม.เกษตรเสียชีวิต เกิดจากสาเหตุของการรับน้องใช่หรือไม่ ?
น.ศ. ปี 1 น.ศ. ปี 2 - ปี 4 ภาพรวม
อันดับที่ 1 ไม่แน่ใจ 51.96% 50.53% 51.24%
เพราะ การให้ข้อมูลจากเพื่อนๆ รุ่นพี่ หรือทางสถาบันฯเองยังไม่ชัดเจนพอ /คงต้องรอฟังผลการพิสูจน์ต่อไป ฯลฯ
อันดับที่ 2 ไม่ใช่ 28.43% 41.49% 34.96%
เพราะ น่าจะเป็นปัญหาส่วนตัวหรือมีปัญหาในเรื่องอื่นๆที่เก็บไว้มานานจนเกิดเหตุการณ์ขึ้นในช่วงรับน้องพอดี ฯลฯ
อันดับที่ 3 ใช่ 19.61% 7.89% 13.80%
เพราะ อาจเกิดจากการได้รับความกดดันจากรุ่นพี่ที่ให้ทำกิจกรรมต่างๆที่ไม่เหมาะสมหรือหนักเกินไปจนเกิดความเครียด ฯลฯ
2. “นักศึกษา” คิดว่าการรับน้อง “มีข้อดี” หรือ “ข้อเสีย” มากกว่ากัน
น.ศ. ปี 1 น.ศ. ปี 2 - ปี 4 ภาพรวม
อันดับที่ 1 มีข้อดีมากกว่า 47.06% 48.40% 47.73%
เพราะ ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างรุ่นพี่กับรุ่นน้อง /ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆและรู้จักปรับตัวให้เข้ากับคนอื่นได้ ฯลฯ
อันดับที่ 2 พอๆกัน 46.08% 44.68% 45.38%
เพราะ ขึ้นอยู่กับจิตสำนึกหรือความคิดของผู้นำในการจัดกิจกรรมว่าจะเหมาะสมเพียงใด/วัยรุ่นในปัจจุบันเข้าใจยาก ฯลฯ
อันดับที่ 3 มีข้อเสียมากกว่า 6.86% 6.92% 6.89%
เพราะ ทำให้สิ้นเปลืองเงินทองและเสียเวลาในการเรียน /ทำให้ผู้ปกครองเป็นห่วง ไม่สบายใจ /การรับน้องในปัจจุบันค่อนข้างรุนแรง ฯลฯ
3. “นักศึกษา” เห็นด้วยหรือไม่? กับ “การยกเลิกรับน้องเพื่อแก้ปัญหาความรุนแรง”
น.ศ. ปี 1 น.ศ. ปี 2 - ปี 4 ภาพรวม
อันดับที่ 1 ไม่เห็นด้วย 50.98% 54.28% 52.63%
เพราะ เป็นประเพณีที่มีมานานไม่อยากให้ยกเลิกไป/ควรสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับนักศึกษา/ยิ่งห้ามเหมือนยิ่งยุ ฯลฯ
อันดับที่ 2 เห็นด้วย 29.41% 31.89% 30.65%
เพราะ การสูญเสียไม่ว่าจะด้วยชีวิตหรือทรัพย์สินจะได้ไม่เกิดขึ้นอีก /การควบคุมดูแลนักศึกษาจะได้ง่ายขึ้น ฯลฯ
อันดับที่ 3 ไม่แน่ใจ 19.61% 13.83% 16.72%
เพราะ คงไม่มีใครตั้งใจหรืออยากให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้น /เป็นการทำร้ายจิตใจและทำให้นักศึกษาหมดกำลังใจได้ ฯลฯ
4. ความคิดเห็นเกี่ยวกับ “การรับน้อง” ในปัจจุบัน
น.ศ. ปี 1 น.ศ. ปี 2 - ปี 4 ภาพรวม
อันดับที่ 1 เป็นประเพณีที่ดี สร้างความสามัคคีให้กับนักศึกษา 35.96% 16.84% 26.40%
อันดับที่ 2 ครู อาจารย์ควรสอดส่องดูแลอย่างใกล้ชิด 12.36% 35.64% 24.00%
อันดับที่ 3 ควรมีการพูดคุย สร้างความรักความเข้าใจที่ดีต่อกันมากกว่า
การปฏิบัติที่รุนแรง 23.59% 14.85% 19.22%
อันดับที่ 4 ทางสถาบันการศึกษาควรกำหนดกฎ ระเบียบและบทลงโทษ
ที่ชัดเจน/อนุญาตให้จัดกิจกรรมในสถาบันเท่านั้น 10.11% 20.79% 15.45%
อันดับที่ 5 เกิดจากความคึกคะนองทำให้มีทั้งความรุนแรงและเกิน
ขอบเขตมากไป /ผิดวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรม 17.98% 11.88% 14.93%
5. ความคิดเห็นเกี่ยวกับ การรับน้องอย่างไร? จึงจะปลอดภัย
น.ศ. ปี 1 น.ศ. ปี 2 - ปี 4 ภาพรวม
อันดับที่ 1 ควรทำกิจกรรมที่มีความสร้างสรรค์มากกว่าใช้ความรุนแรง 41.06% 16.49% 28.77%
อันดับที่ 2 อยู่ในสายตาของครูอาจารย์ และสามารถให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าไปดูแลได้ 14.89% 27.84% 21.37%
อันดับที่ 3 มีการวางแผนที่ดีและกำหนดระยะเวลาในการรับน้อง 17.46% 24.74% 21.10%
อันดับที่ 4 มีกฎ ข้อบังคับที่ชัดเจน /ทุกสถาบันให้การยอมรับและปฏิบัติตาม 17.02% 13.40% 15.21%
อันดับที่ 5 การจัดกิจกรรมรับน้องควรทำในสถาบันเท่านั้น 9.57% 17.53% 13.55%
--สวนดุสิตโพล--
-พห-
วิจารณ์ รวมทั้งบุคลากรทางการศึกษาและหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเกิดความเป็นห่วงต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
“สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็นของนักศึกษาทุกชั้นปีใน
เขตกรุงเทพฯและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,465 คน (นักศึกษาปีที่ 1 จำนวน 520 คน 35.49% นักศึกษาปี
2 — ปี 4 จำนวน 945 คน 64.51%) โดยสำรวจระหว่างวันที่ 12 — 14 มิถุนายน 2548 สรุปผลได้ดังนี้
1. “นักศึกษา” คิดว่าการที่มีนักศึกษา ม.เกษตรเสียชีวิต เกิดจากสาเหตุของการรับน้องใช่หรือไม่ ?
น.ศ. ปี 1 น.ศ. ปี 2 - ปี 4 ภาพรวม
อันดับที่ 1 ไม่แน่ใจ 51.96% 50.53% 51.24%
เพราะ การให้ข้อมูลจากเพื่อนๆ รุ่นพี่ หรือทางสถาบันฯเองยังไม่ชัดเจนพอ /คงต้องรอฟังผลการพิสูจน์ต่อไป ฯลฯ
อันดับที่ 2 ไม่ใช่ 28.43% 41.49% 34.96%
เพราะ น่าจะเป็นปัญหาส่วนตัวหรือมีปัญหาในเรื่องอื่นๆที่เก็บไว้มานานจนเกิดเหตุการณ์ขึ้นในช่วงรับน้องพอดี ฯลฯ
อันดับที่ 3 ใช่ 19.61% 7.89% 13.80%
เพราะ อาจเกิดจากการได้รับความกดดันจากรุ่นพี่ที่ให้ทำกิจกรรมต่างๆที่ไม่เหมาะสมหรือหนักเกินไปจนเกิดความเครียด ฯลฯ
2. “นักศึกษา” คิดว่าการรับน้อง “มีข้อดี” หรือ “ข้อเสีย” มากกว่ากัน
น.ศ. ปี 1 น.ศ. ปี 2 - ปี 4 ภาพรวม
อันดับที่ 1 มีข้อดีมากกว่า 47.06% 48.40% 47.73%
เพราะ ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างรุ่นพี่กับรุ่นน้อง /ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆและรู้จักปรับตัวให้เข้ากับคนอื่นได้ ฯลฯ
อันดับที่ 2 พอๆกัน 46.08% 44.68% 45.38%
เพราะ ขึ้นอยู่กับจิตสำนึกหรือความคิดของผู้นำในการจัดกิจกรรมว่าจะเหมาะสมเพียงใด/วัยรุ่นในปัจจุบันเข้าใจยาก ฯลฯ
อันดับที่ 3 มีข้อเสียมากกว่า 6.86% 6.92% 6.89%
เพราะ ทำให้สิ้นเปลืองเงินทองและเสียเวลาในการเรียน /ทำให้ผู้ปกครองเป็นห่วง ไม่สบายใจ /การรับน้องในปัจจุบันค่อนข้างรุนแรง ฯลฯ
3. “นักศึกษา” เห็นด้วยหรือไม่? กับ “การยกเลิกรับน้องเพื่อแก้ปัญหาความรุนแรง”
น.ศ. ปี 1 น.ศ. ปี 2 - ปี 4 ภาพรวม
อันดับที่ 1 ไม่เห็นด้วย 50.98% 54.28% 52.63%
เพราะ เป็นประเพณีที่มีมานานไม่อยากให้ยกเลิกไป/ควรสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับนักศึกษา/ยิ่งห้ามเหมือนยิ่งยุ ฯลฯ
อันดับที่ 2 เห็นด้วย 29.41% 31.89% 30.65%
เพราะ การสูญเสียไม่ว่าจะด้วยชีวิตหรือทรัพย์สินจะได้ไม่เกิดขึ้นอีก /การควบคุมดูแลนักศึกษาจะได้ง่ายขึ้น ฯลฯ
อันดับที่ 3 ไม่แน่ใจ 19.61% 13.83% 16.72%
เพราะ คงไม่มีใครตั้งใจหรืออยากให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้น /เป็นการทำร้ายจิตใจและทำให้นักศึกษาหมดกำลังใจได้ ฯลฯ
4. ความคิดเห็นเกี่ยวกับ “การรับน้อง” ในปัจจุบัน
น.ศ. ปี 1 น.ศ. ปี 2 - ปี 4 ภาพรวม
อันดับที่ 1 เป็นประเพณีที่ดี สร้างความสามัคคีให้กับนักศึกษา 35.96% 16.84% 26.40%
อันดับที่ 2 ครู อาจารย์ควรสอดส่องดูแลอย่างใกล้ชิด 12.36% 35.64% 24.00%
อันดับที่ 3 ควรมีการพูดคุย สร้างความรักความเข้าใจที่ดีต่อกันมากกว่า
การปฏิบัติที่รุนแรง 23.59% 14.85% 19.22%
อันดับที่ 4 ทางสถาบันการศึกษาควรกำหนดกฎ ระเบียบและบทลงโทษ
ที่ชัดเจน/อนุญาตให้จัดกิจกรรมในสถาบันเท่านั้น 10.11% 20.79% 15.45%
อันดับที่ 5 เกิดจากความคึกคะนองทำให้มีทั้งความรุนแรงและเกิน
ขอบเขตมากไป /ผิดวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรม 17.98% 11.88% 14.93%
5. ความคิดเห็นเกี่ยวกับ การรับน้องอย่างไร? จึงจะปลอดภัย
น.ศ. ปี 1 น.ศ. ปี 2 - ปี 4 ภาพรวม
อันดับที่ 1 ควรทำกิจกรรมที่มีความสร้างสรรค์มากกว่าใช้ความรุนแรง 41.06% 16.49% 28.77%
อันดับที่ 2 อยู่ในสายตาของครูอาจารย์ และสามารถให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าไปดูแลได้ 14.89% 27.84% 21.37%
อันดับที่ 3 มีการวางแผนที่ดีและกำหนดระยะเวลาในการรับน้อง 17.46% 24.74% 21.10%
อันดับที่ 4 มีกฎ ข้อบังคับที่ชัดเจน /ทุกสถาบันให้การยอมรับและปฏิบัติตาม 17.02% 13.40% 15.21%
อันดับที่ 5 การจัดกิจกรรมรับน้องควรทำในสถาบันเท่านั้น 9.57% 17.53% 13.55%
--สวนดุสิตโพล--
-พห-