สวนดุสิตโพล: ประชาชนคิดอย่างไร? กับ สถานการณ์ฝุ่น PM2.5

ข่าวผลสำรวจ Monday January 27, 2020 08:39 —สวนดุสิตโพล

เมื่อวันที่ 21 ม.ค. ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษจากฝุ่นละอองในช่วงสถานการณ์วิกฤติ เนื่องจาก สถานการณ์ฝุ่นยังคงน่าเป็นห่วง ในหลายพื้นที่พบปริมาณเกินมาตรฐานที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพและการดำเนินชีวิตประจำวันของประชาชน เพื่อสะท้อนความคิดเห็น ของประชาชน ต่อ สถานการณ์ฝุ่น PM2.5 “สวนดุสิตโพล”มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,376 คน ระหว่าง วันที่ 21-25 มกราคม 2563 สรุปผลได้ ดังนี้

1. ประชาชนติดตามข่าวสถานการณ์ฝุ่น PM2.5 มากน้อยเพียงใด?
อันดับ 1   ติดตามเป็นประจำทุกวัน                                       55.09%
เพราะ สถานการณ์รุนแรง เข้าขั้นวิกฤต กระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน
อยากรู้ค่าฝุ่นละอองในแต่ละวันว่าเพิ่มขึ้นหรือลดลง ฯลฯ
อันดับ 2   ติดตามบ้างเป็นบางวัน                                        35.03%
เพราะ อยากรู้รายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติม ความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหา
ของรัฐบาล ไม่ค่อยเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น ฯลฯ
อันดับ 3   ไม่ค่อยได้ติดตาม                                             8.00%
เพราะ ทำให้รู้สึกเครียด กังวลกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ไม่อยากรับรู้
ข้อมูลมากเกินไป ฯลฯ
อันดับ 4   ไม่ได้ติดตามเลย                                             1.88%
เพราะ ไม่มีเวลา ต้องทำงาน ไม่อยากรู้ สนใจเรื่องปากท้องมากกว่า ฯลฯ

2. ประชาชนรู้สาเหตุของการเกิดฝุ่น PM2.5  หรือไม่?
อันดับ 1   รู้                                                       84.30%
สาเหตุ คือ เกิดจากตัวเราเอง การก่อสร้าง โรงงานอุตสาหกรรม
ควันจากท่อไอเสียของรถที่มีจำนวนมากในท้องถนนการเผาไหม้ต่างๆ
เช่น เผาป่า เผาหญ้า เผาขยะ อาหารปิ้ง ย่าง สภาพอากาศแปรปรวน
ป่าไม้ลดลง ฯลฯ
อันดับ 2   ไม่รู้                                                     15.70%
เพราะ ไม่สนใจ เป็นฝุ่นทั่ว ๆ ไป ยังคงใช้ชีวิตตามปกติ
ไม่แน่ใจว่าเกิดจากอะไร ฯลฯ

3. ประชาชนคิดว่าสถานการณ์ฝุ่น PM2.5 มีผลกระทบในเรื่องใดบ้าง?
อันดับ 1   สุขภาพร่างกาย ระบบทางเดินหายใจ สมอง                        94.45%
อันดับ 2   เศรษฐกิจและการท่องเที่ยว                                    22.65%
อันดับ 3   การดำเนินชีวิตประจำวัน การทำกิจกรรมนอกบ้าน                    12.94%
อันดับ 4   สภาพอากาศ ทัศนวิสัยในการมองเห็น                             10.17%
อันดับ 5   สุขภาพจิต อารมณ์                                            4.31%

4. ประชาชนมีวิธีการที่จะไม่ให้เกิดฝุ่น หรือ ไม่เพิ่มฝุ่น ด้วยวิธีใดบ้าง?
อันดับ 1   ใช้รถส่วนตัวน้อยลง ใช้บริการรถสาธารณะแทน ตรวจเช็คเครื่องยนต์      60.86%
อันดับ 2   ไม่เผาไหม้ในที่โล่ง ไม่สูบบุหรี่  ปิ้ง ย่าง                          44.26%
อันดับ 3   ทำความสะอาดบ้าน ปลูกต้นไม้ รักษาสิ่งแวดล้อม                     24.80%

5. ประชาชนมีวิธีการป้องกันตัวเองจากฝุ่น PM2.5 อย่างไร?
อันดับ 1   สวมหน้ากากอนามัย                                          96.00%
อันดับ 2   ลดการทำกิจกรรมนอกบ้าน อยู่บ้านมากขึ้น หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีฝุ่น         35.84%
อันดับ 3   ดูแลสุขภาพ กินอาหาร กินวิตามิน ติดตั้งเครื่องกรองอากาศ             11.68%

6. ประชาชนคิดว่ารัฐบาลควรมีวิธีการป้องกันและแก้ไขอย่างไร?
อันดับ 1   ออกมาตรการต่าง ๆ บังคับใช้อย่างจริงจัง เช่น จำกัดปริมาณ           33.77%
รถส่วนบุคคลให้ใช้รถสาธารณะ ห้ามเผาไฟ
อันดับ 2   ตรวจจับรถทุกประเภทที่มีควันดำ กำหนดเวลาวิ่งของรถบรรทุก           31.36%
อันดับ 3   ฉีดน้ำ พ่นละอองน้ำ ทำฝนหลวง                                 26.97%
อันดับ 4   แจกหน้ากากอนามัยให้กับประชาชน มีระบบแจ้งเตือนสถานการณ์          24.78%
ฝุ่นแต่ละวัน
อันดับ 5   ควบคุมการปล่อยควันพิษของโรงงานอุตสาหกรรม และการ              16.45%
ก่อสร้างต่างๆ

7. ประชาชนมั่นใจว่ารัฐบาลจะแก้ไขสถานการณ์ฝุ่น PM2.5 ได้มากน้อยเพียงใด?
อันดับ 1   ไม่มั่นใจเลย                                               52.90%
เพราะ ไม่มีมาตรการที่เป็นรูปธรรมชัดเจน รัฐบาลแก้ปัญหาล่าช้า
กระทบต่อสุขภาพของประชาชน ไม่มีการดำเนินการอย่างจริงจัง ฯลฯ
อันดับ 2   ไม่ค่อยมั่นใจ                                               40.70%
เพราะ ประชาชนต้องดูแลตัวเอง สถานการณ์ฝุ่นยังมีทุกพื้นที่
แก้ไขได้ยาก มีหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดฝุ่น  ฯลฯ
อันดับ 3   ค่อนข้างมั่นใจ                                               4.80%
เพราะ รัฐบาลติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด หน่วยงานต่างๆ
ที่เกี่ยวข้องและเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายช่วยกันอย่างเต็มที่  ฯลฯ
อันดับ 4   มั่นใจมาก                                                  1.60%
เพราะ มีการนำเสนอข่าวอย่างต่อเนื่อง ให้ความสำคัญกับปัญหา
ปีที่ผ่านมาสามารถแก้ไขได้ ฯลฯ

ที่มา: สวนดุสิตโพล


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ