จากที่ประธานสภาผู้แทนราษฎร กำหนดวันอภิปรายไม่ไว้วางใจ คือวันที่ 24-26 กุมภาพันธ์ เป็นเวลา 3 วัน ก่อนลงมติในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ และปิดประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่สองในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ ทำให้เป็นที่จับตามองจากหลายฝ่ายและคาดว่าการอภิปรายครั้งนี้น่าจะเข้มข้น ทั้งฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาลมีการเตรียมพร้อมมาอย่างดี เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนก่อนการอภิปรายที่กำลังจะมีขึ้น “สวนดุสิตโพล”มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,088 คน ระหว่างวันที่ 5-8 กุมภาพันธ์ 2563 สรุปผลได้ ดังนี้
อันดับ 1 ติดตาม 45.59% เพราะ เป็นการอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งแรก ประเด็นที่ฝ่ายค้านยื่นขอเปิดอภิปรายน่าสนใจ อยากฟังการชี้แจงของ ทั้ง 6 รัฐมนตรี ต้องการรู้ข้อมูลข้อเท็จจริงให้มากขึ้น ชอบติดตามข่าวการเมือง ฯลฯ อันดับ 2 ไม่แน่ใจ 29.32% เพราะ ต้องทำงาน อาจไม่มีเวลาติดตาม ทำให้เครียด การอภิปรายครั้งนี้คงไม่แตกต่างจากทุกครั้งที่ผ่านมา ฯลฯ อันดับ 3 ไม่ติดตาม 25.09% เพราะ ไม่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน ไม่น่าจะเกิดประโยชน์กับประชาชน ไม่อยากรู้ ไม่เชื่อถือนักการเมือง ฯลฯ 2. เรื่องที่ประชาชนสนใจหรืออยากให้มีการอภิปรายมากที่สุด อันดับ 1 ผลงานของนายกรัฐมนตรีและฝ่ายรัฐบาล การไม่ปฏิบัติตามนโยบายที่ให้ไว้ 44.52% อันดับ 2 การแก้ปัญหาเศรษฐกิจและปากท้องของประชาชน 33.56% อันดับ 3 การปล่อยปละละเลยให้มีการทุจริต ความไม่โปร่งใส เอื้อประโยชน์แก่พวกพ้อง 23.27% อันดับ 4 การแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย 13.13% อันดับ 5 การใช้งบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง อนุมัติโครงการต่างๆ 10.55% 3. สิ่งที่ประชาชนอยากเห็นจากการอภิปรายไม่ไว้วางใจ คือ อันดับ 1 ความเป็นระเบียบเรียบร้อย เคารพกฎกติกาในที่ประชุม 43.33% อันดับ 2 ข้อมูลเป็นประโยชน์ สร้างสรรค์ ชัดเจน ตรงประเด็นตามข้อเท็จจริง 37.12% อันดับ 3 รัฐบาลปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้น นำข้อเสนอแนะไปใช้ 33.48% 4. สิ่งที่ประชาชนไม่อยากเห็นจากการอภิปรายไม่ไว้วางใจ คือ อันดับ 1 พฤติกรรมไม่เหมาะสม ทะเลาะกัน ประท้วงบ่อย ทำสภาล่ม 51.21% อันดับ 2 ตอบคำถามไม่ชัดเจน ไม่ตรงประเด็น พูดนอกเรื่อง พูดเรื่องเดิม 33.15% อันดับ 3 ไม่เคารพที่ประชุม นั่งหลับ เล่นมือถือ ไม่เข้าประชุม ไม่รักษาเวลา 28.68% 5. ประชาชนคิดว่าจะได้รับประโยชน์จากการอภิปรายไม่ไว้วางใจ หรือไม่? อันดับ 1 ไม่แน่ใจ 40.07% เพราะ ต้องรอดูจากการอภิปราย ขึ้นอยู่กับผลที่จะเกิดขึ้น ยังไม่รู้ว่าจะเป็นอย่างไร ฯลฯ อันดับ 2 ได้ประโยชน์ 33.92% เพราะ ได้รับรู้ข้อมูลที่ชัดเจนมากขึ้นจากทั้งฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาล ได้ฟังการชี้แจงจาก 6 รัฐมนตรี อาจมีข้อมูลใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ ช่วยให้เข้าใจการเมืองมากขึ้น ฯลฯ อันดับ 3 ไม่ได้ประโยชน์ 26.01% เพราะ เป็นเรื่องไกลตัว เป็นเรื่องของสภา นักการเมืองมัวแต่ทะเลาะโต้เถียงกันไปมา เป็นเพียงแค่เกมการเมือง รัฐบาลยังคงบริหารประเทศต่อไป ฯลฯ 6. หลังการอภิปรายเสร็จสิ้นลง ประชาชนคิดว่าการเมืองไทยจะเป็นอย่างไร? อันดับ 1 เหมือนเดิม 55.88% เพราะ คณะทำงานชุดเดิม รัฐบาลยังคงมีอำนาจและมีเสียงข้างมาก เหมือนกับการอภิปรายทุกครั้งที่ผ่านมา ฯลฯ อันดับ 2 น่าจะแย่ลง 24.08% เพราะ รัฐบาลแก้ปัญหาล่าช้า ไม่เป็นรูปธรรม มีปัญหารุมเร้าหลายเรื่อง สถานการณ์อาจบานปลายหรือแย่ลงกว่าเดิม ฯลฯ อันดับ 3 น่าจะดีขึ้น 20.04% เพราะ เป็นการกระตุ้นให้รัฐบาลเร่งทำงาน กระตือรือร้นมากขึ้น รู้ข้อบกพร่องหรือปัญหาที่ผ่านมา นำไปพัฒนาปรับปรุง ฯลฯ
ที่มา: สวนดุสิตโพล