ข่าวการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ณ วันนี้ เป็นประเด็นที่ประชาชนให้ความสนใจอย่างมาก ข่าวต่าง ๆ มีทั้งข่าวจริงและข่าวปลอม หรือที่เรียกว่า เฟคนิวส์ถูกแชร์ออกไปเป็นวงกว้าง การนำเสนอข่าวของสื่อมวลชนจึงมีความสำคัญต่อการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชนอย่างยิ่ง โดยประชาชนต่างก็คาดหวังว่า จะได้รับรู้ข้อมูลข้อเท็จจริงที่เป็นกลาง และครอบคลุมรอบด้านมากที่สุด เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชน กรณี การรับข่าวสารโควิด-19 ของคนไทย “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชน ทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,033 คน (สำรวจทั้งภาคสนามและออนไลน์) ระหว่างวันที่ 25-28 มีนาคม 2563 สรุปผลได้ ดังนี้
อันดับ 1 ออนไลน์ (Facebook,Twitter,Instagram,Website ฯลฯ) 79.30% อันดับ 2 สถานีโทรทัศน์ 77.05% อันดับ 3 คำบอกเล่า/เพื่อน/คนรอบข้าง 60.69% อันดับ 4 สื่อสิ่งพิมพ์ (หนังสือพิมพ์,ประกาศจากทางราชการ ฯลฯ) 45.52% อันดับ 5 ข้อความ SMS 44.73% 2. ประชาชนเชื่อถือข่าวโควิด-19 จากแหล่งใด? มากที่สุด อันดับ 1 สถานีโทรทัศน์ 89.00% อันดับ 2 สื่อสิ่งพิมพ์ (หนังสือพิมพ์,ประกาศจากทางราชการ ฯลฯ) 63.09% อันดับ 3 วิทยุ 56.23% อันดับ 4 ออนไลน์ (Facebook,Twitter,Instagram,Website ฯลฯ) 53.72% อันดับ 5 คำบอกเล่า/เพื่อน/คนรอบข้าง 42.98% 3. ประชาชนมีหลักในการแยกแยะ “ข่าวจริง ข่าวปลอม” อย่างไร? อันดับ 1 แหล่งข่าวน่าเชื่อถือ มีหลักฐานอ้างอิง เปิดเผยที่มาที่ไป 41.08% อันดับ 2 ติดตามข่าวจากหลาย ๆ สื่อ เปรียบเทียบข่าวจากแหล่งอื่น ๆ 32.22% อันดับ 3 อ่านเนื้อหาให้ละเอียด คิดวิเคราะห์ ไตร่ตรองตามหลักการและเหตุผล 22.96% อันดับ 4 รอฟังประกาศยืนยันจากรัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 20.10% อันดับ 5 เชื่อข้อมูลการนำเสนอของสื่อหลักมากกว่าข้อมูลที่ได้จากสื่อโซเชียล 16.95% 4. ข่าวโควิด-19 กรณีใด? ที่ทำให้ประชาชนจิตตกมากที่สุด อันดับ 1 เชื้อโรคติดต่อได้ง่าย สถานการณ์แพร่ระบาดรุนแรง 36.08% อันดับ 2 ยอดผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตที่เพิ่มขึ้นของแต่ละประเทศ 30.59% อันดับ 3 การบริหารจัดการของภาครัฐ มาตรการ การแก้ไขปัญหา 26.93% อันดับ 4 ผู้ติดเชื้อไม่ยอมกักตัวเอง ฝ่าฝืน ปกปิดข้อมูล 18.90% อันดับ 5 การปล่อยข่าวลือ ข่าวปลอม เฟคนิวส์ 14.23% 5. ประชาชนอยากให้มีการนำเสนอข่าวโควิด-19 ในลักษณะใด? อันดับ 1 เสนอข่าวที่เป็นจริง ชัดเจน ตรงไปตรงมา ไม่ปิดบังข้อมูล 54.55% อันดับ 2 นำเสนออย่างสร้างสรรค์ เน้นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ 34.33% อันดับ 3 ผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ 25.33% อันดับ 4 มีการคัดกรองข้อมูล แหล่งที่มา มีหลักฐานอ้างอิง 15.52% อันดับ 5 นำเสนอผ่านช่องทางเดียว เช่น โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ 13.31%
ที่มา: สวนดุสิตโพล