สวนดุสิตโพล: ระดมสมอง “แก้ปัญหาเศรษฐกิจ”

ข่าวผลสำรวจ Monday August 17, 2020 09:03 —สวนดุสิตโพล

หลังจากเปิดตัว ครม.ประยุทธ์ 2/2 เป็นที่เรียบร้อย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ก็ได้ฝากถึงรัฐมนตรีใหม่จะต้องเร่งขับเคลื่อนงานที่แต่ละ กระทรวงรับผิดชอบ โดยเฉพาะสิ่งที่ประชาชนอยากเห็นมากที่สุด ณ วันนี้ หลังจากที่สถานการณ์โควิด-19 เริ่มคลี่คลาย คือเรื่องการฟื้นฟูเศรษฐกิจให้กลับสู่สภาวะปกติโดยเร็ว เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชน “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,109 คน (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 10-14 สิงหาคม 2563 สรุปผลได้ ดังนี้

1. 5 วิธีแก้ปัญหา “เศรษฐกิจระดับครัวเรือน”
อันดับ 1   สร้างงาน/สร้างอาชีพ                                 85.75%
อันดับ 2   สร้างรายได้                                        82.78%
อันดับ 3   เพิ่มสวัสดิการ/สิทธิประโยชน์ต่างๆ                        64.38%
อันดับ 4   พักชำระหนี้                                         55.09%
อันดับ 5   งดเว้นการชำระดอกเบี้ยเงินกู้ชั่วคราว                     52.12%

2. 5 วิธีแก้ปัญหา “เศรษฐกิจระดับชุมชน/ท้องถิ่น”
อันดับ 1   พยุงราคาสินค้าเกษตร                                 72.14%
อันดับ 2   นำทรัพยากรที่มีมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด/เป็นมูลค่าเพิ่ม       71.51%
อันดับ 3   พัฒนาคนในชุมชนให้เข้มแข็ง/มีส่วนร่วม                     69.97%
อันดับ 4   สร้างงานในพื้นที่                                     69.16%
อันดับ 5   ควบคุมพ่อค้าคนกลาง                                  68.17%

3. 5 วิธีแก้ปัญหา “เศรษฐกิจระดับประเทศ”
อันดับ 1   ส่งเสริมการเกษตร                                   76.19%
อันดับ 2   ส่งเสริมการส่งออก                                   75.38%
อันดับ 3   ส่งเสริมการท่องเที่ยว                                 73.85%
อันดับ 4   สร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน                          68.53%
อันดับ 5   ส่งเสริมภาคอุตสาหกรรม                               62.04%

4. 5 เรื่องที่ควรทำเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ณ วันนี้
อันดับ 1   กระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ                         75.20%
อันดับ 2   การพัฒนาทักษะ/แรงงานและสร้างอาชีพ                    71.87%
อันดับ 3   การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว                               66.82%
อันดับ 4   การพัฒนาด้านคมนาคม/ระบบขนส่ง                        58.88%
อันดับ 5   การลงทุนด้านสาธารณสุข                               55.73%

5. ประชาชนอยากให้ใคร เข้ามาช่วยแก้ปัญหาเศรษฐกิจมากที่สุด
หน่วยงานภาครัฐ 77.36%              รัฐบาล 70.83%               หน่วยงานภาคเอกชน 70.11%
สถาบันทางการเงินต่างๆ 63.41%        ภาคประชาชน 63.22%

สรุปผลการสำรวจ : “ระดมสมองแก้ปัญหาเศรษฐกิจ”

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “ระดมสมองแก้ปัญหาเศรษฐกิจ” กลุ่มตัวอย่าง 1,109 คน สำรวจระหว่างวันที่ 10 – 14 สิงหาคม 2563 ผลสำรวจที่สำคัญ พบว่า ในระดับครัวเรือน ประชาชนอยากให้เน้นสร้างงานสร้างอาชีพมากที่สุด ร้อยละ 85.75 ในระดับชุมชน/ท้องถิ่น อยากให้ ช่วยพยุงราคาสินค้าเกษตร ร้อยละ 72.14 และ ในระดับประเทศ อยากให้เน้นส่งเสริมภาคการเกษตร ร้อยละ 76.19 โดยเรื่องที่ควรทำเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ณ วันนี้ คือ เน้นการกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ ร้อยละ 75.20 ทั้งนี้ประชาชนเห็นว่าหน่วยงานภาครัฐทุกหน่วยงานควรเข้ามาช่วยกันแก้ปัญหาเศรษฐกิจมากที่สุด ร้อยละ 77.36 รองลงมาคือ รัฐบาล ร้อยละ 70.83 และเอกชน ร้อยละ 70.11

หลังจากประเทศไทยเผชิญภาวะการณ์เศรษฐกิจถดถอยมาเป็นเวลานาน อีกทั้งยังมีสถานการณ์โควิด-19 เข้ามากระทบซ้ำ จึงก่อให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจอย่างรุนแรง จากผลสำรวจจะเห็นได้ว่า ประชาชนอยากให้แก้ปัญหาเศรษฐกิจ ณ วันนี้ ด้วยการกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศก่อน ต้องสร้างงานสร้างรายได้ให้กับประชาชน เพื่อให้มีกำลัง ในการอุปโภคบริโภคให้มากขึ้น อีกทั้งรัฐบาลได้มีการปรับทัพ ครม. ใหม่ มีทีมเศรษฐกิจใหม่ ประชาชนก็ยิ่งคาดหวังว่า “รัฐบาล” รวมถึงหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ จะแก้ปัญหา เศรษฐกิจและปากท้องของประชาชนให้ดีขึ้นได้ ซึ่งในวันนี้ประชาชนก็ได้สะท้อนความคิดเห็นวิธีการแก้ปัญหาในมุมมองของประชาชนแล้ว ขึ้นอยู่กับรัฐบาลว่าจะรับลูกดำเนินการอย่างไร ต่อไป

นางสาวพรพรรณ บัวทอง

นักวิจัย สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

โทร 086-3766533

เป็นที่น่าสนใจอย่างยิ่งว่า ผลการสำรวจข้างต้นของสวนดุสิตโพล สอดคล้องกับผลการวิเคราะห์ของ World Bank ที่ระบุถึงมาตรการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจที่เหมาะสม กับประเทศไทย สามด้าน คือ หนึ่ง การมุ่งเน้นการสร้างงานภายในประเทศ ด้วยการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน เทคโนโลยี และนวัตกรรมเพื่อยกระดับความสามารถทาง การแข่งขันของภาคธุรกิจ สอง การเยียวยาและประคองเศรษฐกิจระดับฐานราก โดยการพัฒนาทักษะของกำลังแรงงาน พัฒนาผลิตภาพทางการผลิตของภาคเกษตร และพัฒนา คุณภาพชีวิตของประชาชนกลุ่มล่าง และ สาม การสร้างความยั่งยืนทางธรรมชาติและทรัพยากร ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของภาคการเกษตรและการท่องเที่ยว ทั้งนี้ทั้งนั้น การฟื้นตัว ของเศรษฐกิจไทยจะเกิดขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป มิใช่ก้าวกระโดด เพราะยังมีปัจจัยภายนอกอื่นๆ ที่ส่งผลต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศไทยเช่นกัน

อาจารย์ ดร.ศิริ ชะระอ่ำ

ผู้อำนวยการกองวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

อาจารย์ประจำหลักสูตรเศรษฐศาสตร์และการวิเคราะห์ประเมินสมัยใหม่

โทร. 099-4956215

ที่มา: สวนดุสิตโพล


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ