จากสถานการณ์การชุมนุมทางการเมืองที่มีเพิ่มมากขึ้นทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด เป็นประเด็นร้อนที่ประชาชนสนใจและติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหว อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพฯที่มีการประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินร้ายแรงในช่วงที่ผ่านมา เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชน?สวนดุสิตโพล?มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศที่มีต่อ?การชุมนุมทางการเมือง ณ วันนี้? จำนวนทั้งสิ้น 5,738 คน (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 19-22 ตุลาคม 2563 สรุปผลได้ ดังนี้
อันดับ 1 ไม่พอใจการบริหารงานของนายกฯ 62.33% อันดับ 2 ต้องการเรียกร้องประชาธิปไตย/ไม่สืบทอดอำนาจเผด็จการ 49.85% อันดับ 3 เป็นการแย่งชิงอำนาจทางการเมือง 48.42% อันดับ 4 อยากให้มีการแก้รัฐธรรมนูญโดยเร็ว 47.11% อันดับ 5 ผลงานของรัฐบาลย่ำแย่ 44.15% 2. สิ่งที่อยากบอกกับ ?รัฐบาล? เกี่ยวกับการชุมนุมทางการเมือง ณ วันนี้ คือ อันดับ 1 ต้องเร่งพิจารณาหาแนวทางแก้ไข/อย่าซื้อเวลา 72.37% อันดับ 2 ไม่ควรใช้ความรุนแรงกับผู้ชุมนุม 61.69% อันดับ 3 อยากให้ฟังเสียงประชาชน/ผู้ชุมนุม 60.43% อันดับ 4 เป็นการแสดงออกตามหลักประชาธิปไตย 57.41% อันดับ 5 การชุมนุมเป็นสิทธิเสรีภาพของประชาชน 53.09% 3. สิ่งที่อยากบอกกับ ?ผู้ชุมนุม? คือ อันดับ 1 มีสติ อย่าเป็นเครื่องมือทางการเมืองให้ฝ่ายใด 73.31% อันดับ 2 ระมัดระวังเรื่องการระบาดของโควิด-19 65.97% อันดับ 3 ไม่ใช้ความรุนแรง 63.85% อันดับ 4 เคารพกฎหมาย 60.67% อันดับ 5 อย่าก้าวล่วงสถาบัน 60.41% 4. สิ่งที่อยากบอกกับ ?สื่อมวลชน? คือ อันดับ 1 มีจรรยาบรรณวิชาชีพสื่ออย่างแท้จริง 84.21% อันดับ 2 เป็นกลาง 77.27% อันดับ 3 นำเสนอข่าวอย่างสร้างสรรค์/ไม่ชี้นำ 73.77% อันดับ 4 ไม่ยุยงปลุกปั่น 61.71% อันดับ 5 นำเสนอความต้องการและข้อเรียกร้องของทุกกลุ่มการชุมนุม ไม่เลือกข้าง 57.70% 5. ทำอย่างไร การชุมนุมทางการเมืองจึงจะยุติ อันดับ 1 ไม่ใช้ความรุนแรงทั้ง 2 ฝ่าย 61.44% อันดับ 2 รัฐบาลจริงใจในการแก้ไขปัญหาของผู้ชุมนุม 57.90% อันดับ 3 ควรมีการเจรจา/ตกลงกันแบบสันติวิธี 56.58% อันดับ 4 ทั้ง 2 ฝ่ายควรรับฟังความคิดเห็นด้วยเหตุผล 49.54% อันดับ 5 ต้องมีความยืดหยุ่นซึ่งกันและกัน/ถอยคนละก้าว 44.09%
*หมายเหตุ ผู้ตอบสามารถระบุความคิดเห็นได้มากกว่า 1 เรื่อง (ค่าร้อยละจึงคำนวณในแต่ละข้อ)
สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนเรื่อง การชุมนุมทางการเมือง ณ วันนี้ กลุ่มตัวอย่าง 5,738 คน สำรวจระหว่างวันที่ 19-22 ต.ค.2563 พบว่า สาเหตุของการชุมนุมที่มีเพิ่มมากขึ้นในช่วงนี้ เพราะความไม่พอใจในการบริหารงานของนายกฯ 62.33% สิ่งที่อยากบอกกับรัฐบาล คือ เร่งพิจารณา หาแนวทางแก้ไข อย่าซื้อเวลา 72.37% สิ่งที่อยากบอกผู้ชุมนุม คือ มีสติ อย่าเป็นเครื่องมือทางการเมืองให้ฝ่ายใด 73.31% สิ่งที่อยากบอกกับสื่อมวลชน คือ ต้องมีจรรยาบรรณ วิชาชีพสื่อ 84.21% วิธีการที่จะทำให้การชุมนุมยุติลงได้ คือ ไม่ใช้ความรุนแรง ทั้ง 2 ฝ่าย 61.44% และรัฐบาลจริงใจในการแก้ไขปัญหาของผู้ชุมนุม 57.90%
การชุมนุมทางการเมืองที่ร้อนแรงมากยิ่งขึ้นในช่วงนี้สะท้อนให้เห็นว่าตัวนายกฯ และรัฐบาลยังไม่สามารถบริหารจัดการสถานการณ์ได้ดีนัก ประชาชนอยากให้รับฟัง และแก้ปัญหาด้วยความจริงใจ ซึ่งความจริงใจนี้ต้องแสดงออกในรูปแบบของการปฏิบัติอย่างเป็นกลางต่อผู้ชุมนุมทุกกลุ่ม รวมถึงการเข้าควบคุมสถานการณ์ของเจ้าหน้าที่ด้วย ไม่เช่นนั้นจากการชุมนุมในวันนี้ก็อาจกระทบต่อการบริหารงานของรัฐบาลในอนาคตก็เป็นได้ ดังเช่นอดีตที่ผ่านมา
โดย นางสาวพรพรรณ บัวทอง
นักวิจัย สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
โทร 086-3766533
จากผลสำรวจข้างต้น สะท้อนให้ทราบว่ารัฐบาลภายใต้การนำของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กำลังเผชิญกับมรสุมและปัญหารุมเร้าทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และการปกครองบริหาร ซึ่งล้วนแต่เป็นปัญหา ที่ฉุดรั้งความเชื่อมั่นและส่งผลกระทบต่อรัฐบาลยิ่งนัก
ในขณะที่การชุมนุมทางการเมือง โดยอ้างความชอบธรรมทางรัฐธรรมนูญที่ให้การรับรองสิทธิและเสรีภาพ แบบไม่คำนึงถึงขอบเขตของประชาธิปไตยเชิงคุณภาพ ก็เป็น ตัวแปรสำคัญที่ทำให้รัฐบาลถูกลดทอนความเชื่อมั่น ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ดังนั้น การเปิดเวทีเจรจาที่มีความจริงใจและพร้อมรับฟังข้อเรียกร้องของกลุ่มผู้ชุมนุม เช่น การเปิดประชุมรัฐสภา, การแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตย (ไม่ยื้อเวลาออกไป), ไม่มีการสร้างกฎหมายเพื่อ สืบทอดอำนาจ, ไม่คุกคามประชาชนที่เห็นต่างในทุกรูปแบบ และคืนอำนาจให้ประชาชน จึงเป็นเสมือนทางออกจากวิกฤติการทางสังคมการเมืองในขณะนี้
โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ธนภัทร ปัจฉิมม์
คณบดีโรงเรียนกฎหมายและการเมือง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
โทร. 092-3232833
ที่มา: สวนดุสิตโพล