จากข่าวความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างสมาชิกพรรคไทยรักไทย ไม่ว่าจะเป็นกรณี ความขัดแย้งกันระหว่าง
นายกฯทักษิณ กับนายเสนาะ เทียนทอง, กรณีทุจริตขุดบ่อน้ำ และการเข้าชื่อขับไล่นายประมวล รุจนเสรี กรณีเขียน
หนังสือโจมตีนายกฯทักษิณ ทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในการบริหารงานของพรรคไทยรักไทย “สวนดุสิตโพล”
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่พักอาศัยในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล จำนวน
ทั้งสิ้น 1,284 คน (ชาย 678 คน 52.80% หญิง 606 คน 47.20 %) โดยสำรวจระหว่าง วันที่ 1-3 เมษายน
2548 สรุปผลได้ดังนี้
1. “ความขัดแย้ง” ที่ประชาชนคิดว่ามีผลทำให้ความเชื่อมั่นทางการเมืองลดลง
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 กรณีทุจริตขุดบ่อน้ำ ระหว่างนางสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ กับ
นายสมศักดิ์ เทพสุทิน 41.59% 42.22% 41.91%
อันดับที่ 2 ความขัดแย้งระหว่างนายกฯทักษิณกับ
นายเสนาะ เทียนทอง 37.17% 45.56% 41.36%
อันดับที่ 3 การล่ารายชื่อขับไล่นายประมวล รุจนเสรี ออกจากพรรคไทยรักไทย
กรณีเขียนหนังสือโจมตี นายกฯทักษิณ 21.24% 12.22% 16.73%
2. “ประชาชน” คิดว่า “ความขัดแย้ง” ที่เกิดขึ้นมีผลทำให้คะแนนนิยมต่อพรรคไทยรักไทยลดลงหรือไม่ ?
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 เหมือนเดิม 53.10% 53.33% 53.21%
เพราะ เป็นเรื่องเฉพาะบุคคลบางกลุ่มเท่านั้น, มีความเชื่อมั่นในตัวนายกฯว่าจะแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ ฯลฯ
อันดับที่ 2 ลดลง 46.90% 46.67% 46.79%
เพราะ ทำให้ขาดความเชื่อมั่นทั้งในตัวบุคคลและการบริหารงานของพรรค, ทำให้ภาพลักษณ์ดูแย่ลง ฯลฯ
3. “ประชาชน” คิดว่า “ความขัดแย้ง” ที่เกิดขึ้นจะทำให้รัฐบาลมีปัญหาในการบริหารงานหรือไม่ ?
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 มี 49.56% 56.66% 53.11%
เพราะ ทำให้เสียเวลาในการทำงาน, เกิดการแบ่งแยกภายในพรรค, ขาดการประสานงานที่ดี ฯลฯ
อันดับที่ 2 ไม่มี 37.17% 23.33% 30.25%
เพราะ เป็นเพียงการแสดงอารมณ์ที่ไม่พอใจออกมามากกว่า, เชื่อมั่นในความสามารถของบุคลากร
ภายในพรรค ฯลฯ
อันดับที่ 3 ไม่แน่ใจ 13.27% 20.01% 16.64%
เพราะ ขึ้นอยู่กับการควบคุมสถานการณ์ของนายกฯ ในฐานะหัวหน้าพรรค, ต้องรอดูอีกสักระยะ
อาจมีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น ฯลฯ
4. “ประชาชน” คิดว่า ใคร? ควรที่จะเข้ามาแก้ปัญหาการขัดแย้งภายในพรรคไทยรักไทย
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 นายกฯ ทักษิณ ชินวัตร 41.59% 31.46% 36.53%
อันดับที่ 2 สมาชิกทุกคนของพรรคไทยรักไทย 29.20% 40.45% 34.83%
อันดับที่ 3 คณะกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย 17.69% 20.22% 18.95%
อันดับที่ 4 นายเสนาะ เทียนทอง 8.85% 5.62% 7.23%
อันดับที่ 5 ไม่มีใครที่จะเข้ามาแก้ปัญหาได้ 2.67% 2.25% 2.46%
5. “ประชาชน” คิดว่า เรื่อง “ความขัดแย้ง” ที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องธรรมดาทางการเมืองหรือไม่?
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 ธรรมดา 78.76% 84.27% 81.52%
เพราะ เป็นพรรคการเมืองที่มีขนาดใหญ่, สมาชิกในพรรคมีจำนวนมากความคิดเห็นย่อมแตกต่างกัน ฯลฯ
อันดับที่ 2 ไม่ธรรมดา 21.24% 15.73% 18.48%
เพราะ เป็นความตั้งใจที่จะทำให้เกิดสถานการณ์เช่นนี้ขึ้น, น่าจะมีบุคคลบางกลุ่มที่ไม่พอใจ
และมีความคิดเห็นที่ไม่ตรงกัน ฯลฯ
6. “ความขัดแย้ง” ในพรรคไทยรักไทยที่เกิดขึ้นในขณะนี้ทำให้ประชาชนเบื่อการเมืองหรือไม่ ?
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 เบื่อ 37.16% 48.31% 42.74%
เพราะ อยากเห็นความร่วมแรงร่วมใจในการทำงานมากกว่า, อยากให้การเมืองไทย
มีภาพพจน์ที่ดีขึ้น ฯลฯ
อันดับที่ 2 เฉย ๆ 32.76% 34.84% 33.80%
เพราะ เป็นเรื่องปกติของการเมือง, ไม่ว่าการเมืองของประเทศไหน ๆ ก็มีปัญหาด้วยกันทั้งนั้น ฯลฯ
อันดับที่ 3 ไม่เบื่อ 30.08% 16.85% 23.46%
เพราะ ทำให้ประชาชนได้รับรู้ข่าวสารและรับทราบข้อเท็จจริงมากขึ้น, เป็นประเด็นที่แตกต่างกันไป ฯลฯ
--สวนดุสิตโพล--
-พห-
นายกฯทักษิณ กับนายเสนาะ เทียนทอง, กรณีทุจริตขุดบ่อน้ำ และการเข้าชื่อขับไล่นายประมวล รุจนเสรี กรณีเขียน
หนังสือโจมตีนายกฯทักษิณ ทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในการบริหารงานของพรรคไทยรักไทย “สวนดุสิตโพล”
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่พักอาศัยในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล จำนวน
ทั้งสิ้น 1,284 คน (ชาย 678 คน 52.80% หญิง 606 คน 47.20 %) โดยสำรวจระหว่าง วันที่ 1-3 เมษายน
2548 สรุปผลได้ดังนี้
1. “ความขัดแย้ง” ที่ประชาชนคิดว่ามีผลทำให้ความเชื่อมั่นทางการเมืองลดลง
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 กรณีทุจริตขุดบ่อน้ำ ระหว่างนางสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ กับ
นายสมศักดิ์ เทพสุทิน 41.59% 42.22% 41.91%
อันดับที่ 2 ความขัดแย้งระหว่างนายกฯทักษิณกับ
นายเสนาะ เทียนทอง 37.17% 45.56% 41.36%
อันดับที่ 3 การล่ารายชื่อขับไล่นายประมวล รุจนเสรี ออกจากพรรคไทยรักไทย
กรณีเขียนหนังสือโจมตี นายกฯทักษิณ 21.24% 12.22% 16.73%
2. “ประชาชน” คิดว่า “ความขัดแย้ง” ที่เกิดขึ้นมีผลทำให้คะแนนนิยมต่อพรรคไทยรักไทยลดลงหรือไม่ ?
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 เหมือนเดิม 53.10% 53.33% 53.21%
เพราะ เป็นเรื่องเฉพาะบุคคลบางกลุ่มเท่านั้น, มีความเชื่อมั่นในตัวนายกฯว่าจะแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ ฯลฯ
อันดับที่ 2 ลดลง 46.90% 46.67% 46.79%
เพราะ ทำให้ขาดความเชื่อมั่นทั้งในตัวบุคคลและการบริหารงานของพรรค, ทำให้ภาพลักษณ์ดูแย่ลง ฯลฯ
3. “ประชาชน” คิดว่า “ความขัดแย้ง” ที่เกิดขึ้นจะทำให้รัฐบาลมีปัญหาในการบริหารงานหรือไม่ ?
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 มี 49.56% 56.66% 53.11%
เพราะ ทำให้เสียเวลาในการทำงาน, เกิดการแบ่งแยกภายในพรรค, ขาดการประสานงานที่ดี ฯลฯ
อันดับที่ 2 ไม่มี 37.17% 23.33% 30.25%
เพราะ เป็นเพียงการแสดงอารมณ์ที่ไม่พอใจออกมามากกว่า, เชื่อมั่นในความสามารถของบุคลากร
ภายในพรรค ฯลฯ
อันดับที่ 3 ไม่แน่ใจ 13.27% 20.01% 16.64%
เพราะ ขึ้นอยู่กับการควบคุมสถานการณ์ของนายกฯ ในฐานะหัวหน้าพรรค, ต้องรอดูอีกสักระยะ
อาจมีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น ฯลฯ
4. “ประชาชน” คิดว่า ใคร? ควรที่จะเข้ามาแก้ปัญหาการขัดแย้งภายในพรรคไทยรักไทย
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 นายกฯ ทักษิณ ชินวัตร 41.59% 31.46% 36.53%
อันดับที่ 2 สมาชิกทุกคนของพรรคไทยรักไทย 29.20% 40.45% 34.83%
อันดับที่ 3 คณะกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย 17.69% 20.22% 18.95%
อันดับที่ 4 นายเสนาะ เทียนทอง 8.85% 5.62% 7.23%
อันดับที่ 5 ไม่มีใครที่จะเข้ามาแก้ปัญหาได้ 2.67% 2.25% 2.46%
5. “ประชาชน” คิดว่า เรื่อง “ความขัดแย้ง” ที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องธรรมดาทางการเมืองหรือไม่?
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 ธรรมดา 78.76% 84.27% 81.52%
เพราะ เป็นพรรคการเมืองที่มีขนาดใหญ่, สมาชิกในพรรคมีจำนวนมากความคิดเห็นย่อมแตกต่างกัน ฯลฯ
อันดับที่ 2 ไม่ธรรมดา 21.24% 15.73% 18.48%
เพราะ เป็นความตั้งใจที่จะทำให้เกิดสถานการณ์เช่นนี้ขึ้น, น่าจะมีบุคคลบางกลุ่มที่ไม่พอใจ
และมีความคิดเห็นที่ไม่ตรงกัน ฯลฯ
6. “ความขัดแย้ง” ในพรรคไทยรักไทยที่เกิดขึ้นในขณะนี้ทำให้ประชาชนเบื่อการเมืองหรือไม่ ?
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 เบื่อ 37.16% 48.31% 42.74%
เพราะ อยากเห็นความร่วมแรงร่วมใจในการทำงานมากกว่า, อยากให้การเมืองไทย
มีภาพพจน์ที่ดีขึ้น ฯลฯ
อันดับที่ 2 เฉย ๆ 32.76% 34.84% 33.80%
เพราะ เป็นเรื่องปกติของการเมือง, ไม่ว่าการเมืองของประเทศไหน ๆ ก็มีปัญหาด้วยกันทั้งนั้น ฯลฯ
อันดับที่ 3 ไม่เบื่อ 30.08% 16.85% 23.46%
เพราะ ทำให้ประชาชนได้รับรู้ข่าวสารและรับทราบข้อเท็จจริงมากขึ้น, เป็นประเด็นที่แตกต่างกันไป ฯลฯ
--สวนดุสิตโพล--
-พห-