สวนดุสิตโพล: ความคิดเห็นที่มีต่อ “การเปิดประชุมสภาสมัยวิสามัญ” (เมื่อวันที่ 26-27 ต.ค. ที่ผ่านมา)

ข่าวผลสำรวจ Monday November 2, 2020 11:33 —สวนดุสิตโพล

จากที่มีการเปิดประชุมสภาสมัยวิสามัญเพื่ออภิปรายแบบไม่ลงมติ เมื่อวันที่ 26-27 ต.ค. ที่ผ่านมา เพื่อรับฟังความเห็นและช่วยกันหาทางออกในการแก้ปัญหา ความขัดแย้งของบ้านเมืองในขณะนี้ ?สวนดุสิตโพล? มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศที่สนใจติดตามการอภิปรายดังกล่าว จำนวนทั้งสิ้น 1,035 คน (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 28-30 ตุลาคม 2563 สรุปผลได้ ดังนี้

1. ความคิดเห็นของประชาชนกับการเปิดประชุมสภาสมัยวิสามัญ เพื่ออภิปรายแบบไม่ลงมติ (เมื่อวันที่ 26-27 ต.ค. ที่ผ่านมา)
อันดับ 1   เป็นเพียงการยื้อเวลาของรัฐบาล ไม่น่าจะมีการเปลี่ยนแปลง                                41.94%
อันดับ 2   นายกรัฐมนตรียังไม่ลาออก                                                         39.00%
อันดับ 3   เป็นเกมทางการเมือง                                                            32.32%
อันดับ 4   เป็นทางออกในการแก้ปัญหาสถานการณ์บ้านเมือง                                         31.93%
อันดับ 5   ส.ส. และ ส.ว. ต้องช่วยกันหาทางแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม                              28.49%

2. ?ผลบวก? ที่เกิดจากการอภิปรายครั้งนี้ คือ
อันดับ 1   ได้เห็นท่าทีของแต่ละฝ่ายชัดเจนมากขึ้น                                                57.20%
อันดับ 2   เปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายได้อภิปราย/แสดงความคิดเห็น                                       43.93%
อันดับ 3   แสดงให้เห็นถึงท่าทีของรัฐบาลในการแก้ปัญหา                                           36.52%

3. ?ผลลบ? ที่เกิดจากการอภิปรายครั้งนี้ คือ
อันดับ 1   เสียเวลา/สิ้นเปลืองงบประมาณ                                                     53.18%
อันดับ 2   ไม่ได้ประโยชน์อะไร/ไม่มีอะไรดีขึ้น                                                  53.08%
อันดับ 3   แต่ละฝ่ายมีธงของตนเอง/ไม่ยอมกัน                                                  45.73%

4. หลังจากเสร็จสิ้นการอภิปรายในการประชุมสภาสมัยวิสามัญ ประชาชนคิดว่า "ความขัดแย้งทางการเมือง" จะเป็นอย่างไร
อันดับ 1   ขัดแย้งเหมือนเดิม                                                               54.40%
อันดับ 2   ขัดแย้งมากขึ้น                                                                  34.78%
อันดับ 3   ขัดแย้งน้อยลง                                                                  10.82%

5. ประชาชนคิดว่าการเปิดประชุมสภาสมัยวิสามัญครั้งนี้ จะทำให้การเมืองไทยหลังจากนี้เป็นอย่างไร
อันดับ 1   เหมือนเดิม                                                                    51.69%
อันดับ 2   แย่ลง                                                                        35.36%
อันดับ 3   ดีขึ้น                                                                         12.95%

*หมายเหตุ ผู้ตอบสามารถระบุความคิดเห็นได้มากกว่า 1 เรื่อง (ค่าร้อยละจึงคำนวณในแต่ละข้อ)

สรุปผลการสำรวจ : ?การเปิดประชุมสภาสมัยวิสามัญ?

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนเรื่อง การเปิดประชุมสภาสมัยวิสามัญ (เมื่อวันที่ 26-27 ต.ค. ที่ผ่านมา) กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 1,035 คน สำรวจระหว่างวันที่ 28 ? 30 ต.ค. 2563 พบว่า ประชาชนเห็นว่าการเปิดประชุมสภาสมัยวิสามัญ เป็นเพียงการยื้อเวลาของรัฐบาล ร้อยละ 41.94 ผลบวกที่เกิดจากการอภิปราย คือ ได้เห็นท่าทีของแต่ละฝ่ายชัดเจนมากขึ้น ร้อยละ 57.20 ผลลบ คือ เป็นการเสียเวลา สิ้นเปลืองงบประมาณ ร้อยละ 53.18 เมื่อการอภิปราย เสร็จสิ้นแล้วเห็นว่าความขัดแย้งทางการเมืองน่าจะเหมือนเดิม ร้อยละ 54.40 และสภาพการเมืองไทยหลังจากนี้ก็จะยังเหมือนเดิม ร้อยละ 51.69

อุณหภูมิทางการเมืองที่ร้อนแรงมากยิ่งขึ้นในช่วงนี้ ท่าทีของรัฐบาลเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อสถานการณ์ความขัดแย้งของบ้านเมือง การตัดสินใจเปิดประชุมสภาสมัยวิสามัญ ของนายกฯ เป็นก้าวแรกของการแสดงออกให้เห็นถึงความต้องการในการแก้ปัญหา ทั้งนี้ประชาชนมองว่าเป็นเพียงการยื้อเวลาของรัฐบาลเท่านั้น แต่ก็ทำให้ได้เห็นความชัดเจนของ ทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านมากขึ้น หากรัฐบาลยังคงมีท่าทีเช่นนี้สถานการณ์บ้านเมืองก็น่าจะคงมีความขัดแย้งกันต่อไป

โดย นางสาวพรพรรณ บัวทอง

นักวิจัย สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

โทร 086-3766533

ความล้มเหลวของการประชุมครั้งนี้ มีอยู่ 3 ปัจจัยที่ทำให้เห็นว่า ระบบรัฐสภาของไทยยังไม่สามารถเป็นที่พึ่งพิงได้เมื่อเกิดวิกฤตการณ์ทางการเมือง ปัจจัยแรกก็คือ การตั้งหัวข้อในการอภิปรายของการประชุม พบว่าการตั้งหัวข้อนั้นมีเจตนาอย่างชัดเจนที่จะทำให้เกิดการถกเถียงว่าใครเป็น ?ฝ่ายผิด? ต่อวิกฤตการเมืองในครั้งนี้ ปัจจัยที่สอง คือ การคัดสรรผู้อภิปรายของฝ่ายรัฐบาลที่คัดสรรนักการเมืองที่มีภาพลักษณ์ที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากสังคมมาเป็นผู้อภิปราย ปัจจัยที่สาม เห็นว่าความล้มเหลวเกิดจากทัศนคติของนักการเมือง ในสภาซึ่งรวมถึงสมาชิกวุฒิสภาที่ต่างมองเห็นประโยชน์ส่วนตนมากกว่าส่วนรวม

กล่าวได้ว่า ?รัฐสภาไทย? เป็นองค์กรที่ไร้ประโยชน์และมิใช่เป็นองค์กรที่พึ่งพิงของประชาชนไทยยามเมื่อเกิดวิกฤตทางการเมือง ดังนั้นการแสวงหาทางออกทาง การเมืองของไทยจึงเป็นหนทางที่คับแคบและคงจะต้องมีการเผชิญหน้าเพื่อหาข้อสรุปทางการเมืองอย่างรุนแรงในอนาคต

โดย รศ.ดร.รุ่งภพ คงฤทธิ์ระจัน

โรงเรียนกฎหมายและการเมือง

โทร 095-4841809

ที่มา: สวนดุสิตโพล


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ