สวนดุสิตโพล: ความคิดเห็นของคนไทยที่มีต่อ “การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ปี 2020”

ข่าวผลสำรวจ Monday November 23, 2020 09:11 —สวนดุสิตโพล

การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา เป็นการเลือกตั้งที่ทั่วโลกให้ความสนใจและเฝ้าติดตามผลอย่างใกล้ชิด ว่าใครจะเป็นผู้นำประเทศมหาอำนาจของ โลกเป็นคนต่อไป เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของคนไทยที่สนใจติดตามผลการเลือกตั้งครั้งนี้ ?สวนดุสิตโพล? มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชน ทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,038 คน (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 13-18 พฤศจิกายน 2563 สรุปผลได้ ดังนี้

1. คนไทยสนใจติดตามข่าวการเลือกตั้ง ?ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา? ในระดับใด
อันดับ 1   ค่อนข้างสนใจ                                    58.38%
อันดับ 2   สนใจมาก                                       31.60%
อันดับ 3   ไม่สนใจ                                        10.02%

2. เหตุผลที่ทำให้คนไทยติดตามข่าวการเลือกตั้ง ?ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา?
อันดับ 1   มีผลต่อเศรษฐกิจโลก                               73.80%
อันดับ 2   สหรัฐฯ เป็นประเทศมหาอำนาจ                       60.75%
อันดับ 3   ลุ้นว่าใครจะเป็นผู้ชนะ                              49.17%

3. หลังการเลือกตั้ง ?ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา? เศรษฐกิจของประเทศไทยจะเป็นอย่างไร
อันดับ 1   น่าจะดีขึ้น                                       48.36%
อันดับ 2   น่าจะเหมือนเดิม                                  47.11%
อันดับ 3   น่าจะแย่ลง                                       4.53%

4. กรณีการเลือกตั้ง ?ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา? มีเรื่องใดที่สามารถนำมาเป็นแบบอย่างทางการเมืองและสังคมไทยได้
อันดับ 1   ผู้นำประเทศต้องมาจากการเลือกตั้งของประชาชน          60.84%
อันดับ 2   ความตื่นตัวของประชาชนในการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง       56.74%
อันดับ 3   ระบอบประชาธิปไตย                               53.42%

5.  คนไทยได้เรียนรู้อะไรจากการติดตามข่าวการเลือกตั้ง ?ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา? ในครั้งนี้
อันดับ 1   ระบบการเลือกตั้งของต่างประเทศ                     67.52%
อันดับ 2   การแสดงออกทางการเมืองของประชาชน                59.57%
อันดับ 3   วิธีการแสดงวิสัยทัศน์ของนักการเมือง                   58.39%

6. สิ่งที่ ?คนไทย? อยากฝากถึง ?ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา" คนใหม่
อันดับ 1   การเป็นผู้นำประเทศ/ผู้นำโลกที่ดี                      64.73%
อันดับ 2   การรักษามิตรภาพ /ความสัมพันธ์ที่ดีกับนานาประเทศ        61.48%
อันดับ 3   การไม่เอาเปรียบ ไม่กดขี่ คำนึงถึงหลักมนุษยชน           57.73%

*หมายเหตุ ผู้ตอบสามารถระบุความคิดเห็นได้มากกว่า 1 เรื่อง (ค่าร้อยละจึงคำนวณในแต่ละข้อ)

สรุปผลการสำรวจ : การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนเรื่อง ?การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา? กลุ่มตัวอย่าง 1,038 คน สำรวจวันที่ 13 ? 18 พฤศจิกายน 2563 พบว่า กลุ่มตัวอย่างค่อนข้างสนใจติดตามข่าวการเลือกตั้งครั้งนี้ ร้อยละ 58.38 เพราะมีผลต่อเศรษฐกิจโลก ร้อยละ 73.80 เห็นว่าหลัง การเลือกตั้งเศรษฐกิจไทยน่าจะดีขึ้น ร้อยละ 48.36 และน่าจะเหมือนเดิม ร้อยละ 47.11 เรื่องที่สามารถนำมาเป็นแบบอย่างสำหรับการเมืองไทยได้ คือ ผู้นำประเทศ ต้องมาจากการเลือกตั้งของประชาชน ร้อยละ 60.84 สิ่งที่คนไทยได้เรียนรู้จากการเลือกตั้งสหรัฐฯ คือ ได้รู้จักระบบการเลือกตั้งของต่างประเทศ ร้อยละ 67.52 และสิ่งที่ อยากฝากถึงประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนใหม่ คือ เป็นผู้นำประเทศและผู้นำโลกที่ดี ร้อยละ 64.73

การเลือกตั้งครั้งนี้ชาวสหรัฐอเมริกาตื่นตัวอย่างมาก มีผู้ใช้สิทธิล่วงหน้ามากที่สุดในรอบ 100 ปี ผลคะแนนที่พลิกไปมา ทำให้ทั่วโลกต่างจับตาและติดตามผล การเลือกตั้งอย่างใกล้ชิด ไทยเองก็ยังคาดหวังว่าประธานาธิบดีคนใหม่ น่าจะช่วยให้ทิศทางเศรษฐกิจของไทยนั้นดีขึ้นไม่มากก็น้อย แสดงให้เห็นว่าคนไทยให้ความสนใจและ มีความหวังว่าประเทศไทยจะได้รับผลทางบวกจากผลการเลือกตั้งครั้งนี้

นางสาวพรพรรณ บัวทอง

นักวิจัย สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

โทร 086-3766533

แม้ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาจะเป็นที่แน่นอนแล้วว่า นายโจ ไบเดน ตัวแทนจากพรรคเดโมแครต จะได้รับชัยชนะ ซึ่งส่งผลต่อตลาดสินทรัพย์ เสี่ยงอย่าง น้ำมัน ดัชนีตลาดหุ้นทั่วโลก แม้กระทั่งในประเทศไทยต่างขานรับ ในเชิงบวกต่อชัยชนะดังกล่าว แต่ผลกระทบในระดับเศรษฐกิจโลก เราคงต้องย้อนไปดูแนวนโยบาย ของพรรคเดโมแครต ในยุคโอบามา ซึ่งขณะนั้น ไบเดน เป็นรองประธานาธิบดีอยู่และมีความเป็นไปได้ว่า นโยบายเหล่านั้นจะได้รับการสานต่อในยุคของเขา อาทิ การประกาศ ลดค่าเงินดอลลาร์เพื่อกระตุ้นการลงทุนจากต่างประเทศ การกลับเข้าร่วมข้อตกลงกรุงปารีสเพื่อลดโลกร้อน การใช้นโยบายเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ที่สนับสนุน การใช้รถยนต์ไฟฟ้า หรือ การหวนกลับไปสู่กลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคอย่าง TPP

ซึ่งนโยบายเหล่านี้ จะส่งผลกระทบต่อประเทศไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และเป็นเรื่องที่ฝ่ายรัฐบาลไทยจะต้องจับตาอย่างใกล้ชิด แบบหายใจลดต้นคอกันเลยทีเดียว

ผศ.ยอดชาย ชุติกาโม

ประธานหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต โรงเรียนกฎหมายและการเมือง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

โทร 081-8213517

ที่มา: สวนดุสิตโพล


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ