สวนดุสิตโพล: คนไทยกับวัคซีนโควิด-19

ข่าวผลสำรวจ Monday February 1, 2021 08:27 —สวนดุสิตโพล

/

จากกรณีที่ไทยจะดำเนินการฉีดวัคซีนโควิด-19 แบ่งการดำเนินการเป็น 3 ระยะ โดยวัคซีนล็อตแรกคือแอสตราเซเนกาจากสหราชอาณาจักร วัคซีนจากซิโนแวคจากจีน และจะมีการผลิตวัคซีนภายในประเทศโดยบริษัทสยามไบโอ                ไซเอนซ์ที่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี ทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางเกี่ยวกับวัคซีนของไทย เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชน ?สวนดุสิตโพล?มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,570 คน (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 22-29 มกราคม 2564 สรุปผลได้ ดังนี้

1.  ประชาชนรู้จักหรือเคยได้ยินชื่อบริษัทผลิตวัคซีนโควิด-19 ใดบ้าง
อันดับ 1          ไฟเซอร์-ไบโอเอ็นเท็ค (Pfyzer- BioNTech)          64.27%
อันดับ 2          อ๊อกฟอร์ด-แอสตราเซเนกา (Oxford-Astrazeneca)                      52.55%
อันดับ 3          ซิโนแวค ไบโอเทค (Sinovec- Biotech)          51.66%
อันดับ 4          จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน (Johnson&Johnson)              35.10%
อันดับ 5          โมเดอร์นา (Moderna)          28.28%

2.  ประชาชนมีความกังวลเรื่องใดบ้างในการฉีดวัคซีนโควิด-19 ของไทย
อันดับ 1          ผลข้างเคียงของวัคซีน                         82.71%
อันดับ 2          ประสิทธิภาพของวัคซีน          71.96%
อันดับ 3          ความเพียงพอของวัคซีนสำหรับประชาชนทุกคน                54.67%
อันดับ 4          ราคาต่อเข็มของวัคซีนกรณีที่ประชาชนต้องจ่าย          44.17%
อันดับ 5          ยี่ห้อของวัคซีนที่ไทยสั่งซื้อ          38.60%

3.  ประชาชนต้องการจะฉีดวัคซีนโควิด-19 หรือไม่
อันดับ 1          ต้องการฉีด แต่ขอรอดูผลข้างเคียงก่อน                     65.99%
อันดับ 2          ต้องการฉีด และพร้อมฉีดได้เลย                20.70%
อันดับ 3          ไม่ต้องการฉีด          13.31%

4.  ประชาชนเชื่อมั่นว่าวัคซีนจะป้องกันโควิด-19 ได้หรือไม่
อันดับ 1          ค่อนข้างเชื่อมั่น                        63.88%
อันดับ 2          ไม่เชื่อมั่น            19.30%
อันดับ 3          เชื่อมั่น          16.82%

5.  เมื่อมีการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในประเทศไทยแล้ว การดูแลสุขภาพของประชาชนจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
อันดับ 1          ดูแลเหมือนเดิม          60.83%
อันดับ 2          ดูแลมากขึ้น                    35.54%
อันดับ 3          ดูแลน้อยลง                3.63%
*หมายเหตุ   ผู้ตอบสามารถระบุความคิดเห็นได้มากกว่า 1 เรื่อง (ค่าร้อยละจึงคำนวณในแต่ละข้อ)








สรุปผลการสำรวจ : คนไทยกับวัคซีนโควิด-19
          สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนเรื่อง ?คนไทยกับวัคซีนโควิด-19? จำนวน 1,570 คน สำรวจวันที่ 22 ? 29 มกราคม 2564 พบว่า ส่วนใหญ่ประชาชนรู้จักวัคซีนไฟเซอร์-ไบโอเอ็นเท็ค (Pfyzer- BioNTech) มากที่สุด ร้อยละ 64.27 รองลงมาคือ อ๊อกฟอร์ด-แอสตราเซเนกา (Oxford-Astrazeneca) ร้อยละ 52.55 สิ่งที่กังวลมากที่สุด คือ ผลข้างเคียงของวัคซีน ร้อยละ 82.71 โดยต้องการจะฉีดวัคซีน แต่ขอดูผลข้างเคียงก่อน ร้อยละ 65.99                  ทั้งนี้ค่อนข้างเชื่อมั่นว่าเมื่อฉีดวัคซีนแล้วจะป้องกันโควิด-19 ได้ ร้อยละ 63.88 และหลังจากฉีดวัคซีนแล้วจะยังดูแลสุขภาพตัวเองเหมือนช่วงที่ผ่านมา ร้อยละ 60.83

เรื่องวัคซีนโควิด-19 เป็นประเด็นร้อนที่หลายฝ่ายตั้งคำถามต่อการบริหารงานของรัฐบาล เพราะเมื่อเปรียบเทียบกับการดำเนินงานของหลายประเทศต่างมีความคืบหน้าอย่างมากในการฉีดวัคซีนให้กับประชาชน ความแตกต่างที่เห็นได้ชัด ทำให้ประชาชนเกิดความกังวลใจทั้งในเรื่องยี่ห้อวัคซีน ประสิทธิภาพ ผลข้างเคียง กระบวนการจัดซื้อ ความล่าช้า ราคา และความโปร่งใส นับว่าเรื่องวัคซีนโควิด-19 เป็นโจทย์ที่ท้าทายรัฐบาลอย่างยิ่งในการเร่งสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับประชาชน

นางสาวพรพรรณ บัวทอง นักวิจัย สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โทร 086-3766533

จากผลสำรวจในเรื่อง ?คนไทยกับวัคซีนโควิด-19? บ่งชี้ได้ว่า ประชาชนส่วนใหญ่ให้ความสนใจและติดตามข้อมูลเกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 ทั้งในด้านของประสิทธิภาพ ราคา และผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ภายหลังจากการได้รับวัคซีน ปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ยังส่งผลกระทบโดยตรงกับความเชื่อมั่นของประชาชนในด้านความปลอดภัยของวัคซีน โดยสะท้อนจากผลสำรวจ ที่พบว่า ประชาชนยังมีความกังวลเกี่ยวกับผลข้างเคียงของวัคซีนมากถึงร้อยละ 82.71 ซึ่งเป็นหน้าที่ของหน่วยงานทางภาครัฐ ที่ต้องดำเนินการเร่งชี้แจง ทำความเข้าใจกับประชาชนถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัยของวัคซีนโควิด-19 ที่มีความแตกต่างกันของแต่ละบริษัท

ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะมีวัคซีนโควิด-19 ที่มีประสิทธิภาพ แต่ประชาชนยังคงต้องมีการดูแลตัวเองอย่างเคร่งครัด เนื่องจากเชื้อโควิด-19 จะยังไม่ได้หายไปในระยะเวลาอันสั้นนี้ การฉีดวัคซีนมีจุดมุ่งหมายในการป้องกันการแพร่ระบาดในวงกว้าง อีกทั้งช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจากการติดเชื้อลง ดังนั้นการป้องกันตนเองโดยการใส่หน้ากากอนามัย ล้างมืออย่างสม่ำเสมอ และหลีกเลี่ยงการเข้าไปในพื้นที่แออัด ยังคงเป็นสิ่งจำเป็นในการใช้ชีวิตประจำวันต่อไป อ.ดร.วิทวัส รัตนถาวร อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

ที่มา: สวนดุสิตโพล

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ