/
ปัญหาแรงงานเถื่อนลักลอบเข้าไทยเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่มีจำนวนผู้ติดเชื้อพุ่งสูงขึ้น ประชาชนเกิดความวิตกกังวลและวิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างมาก ขณะที่รัฐบาลได้ประกาศให้แรงงานทั้งในและนอกระบบต้องขึ้นทะเบียน เข้ารับการตรวจสุขภาพและตรวจหาเชื้อโควิด-19 ตลอดจนมีมาตรการคุมเข้มตามแนวชายแดนมากขึ้น เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชน ?สวนดุสิตโพล?มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ กรณี ?แรงงานเถื่อนกับโควิด-19? จำนวนทั้งสิ้น 1,295 คน (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 6-12 กุมภาพันธ์ 2564 สรุปผลได้ ดังนี้ 1. สาเหตุของปัญหาแรงงานเถื่อนลักลอบเข้าประเทศ จนทำให้เกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 คือ อันดับ 1 เจ้าหน้าที่บกพร่องในการดูแลป้องกันการเข้าเมืองผิดกฎหมาย 72.14% อันดับ 2 กฎหมายหละหลวม ไม่เอาผิดจริงจัง บทลงโทษไม่รุนแรง 71.21% อันดับ 3 การรับสินบนของเจ้าหน้าที่รัฐ 65.63% อันดับ 4 ผู้ประกอบการไทยต้องการแรงงานจำนวนมาก 44.04% อันดับ 5 การขาดแคลนแรงงานในประเทศ 43.27% 2. สิ่งที่ควรเร่งดำเนินการเกี่ยวกับปัญหาแรงงานเถื่อน ณ วันนี้ คือ อันดับ 1 เจ้าหน้าที่ต้องปฏิบัติงานตามหน้าที่อย่างเคร่งครัด 68.32% อันดับ 2 มีบทลงโทษที่รุนแรงกับเจ้าหน้าที่รัฐที่รับผลประโยชน์/นำแรงงานเถื่อนเข้าประเทศ 67.39% อันดับ 3 เพิ่มโทษและเอาผิดกับผู้ประกอบการที่ใช้แรงงานผิดกฎหมาย 59.63% อันดับ 4 กำหนดให้มีการผ่านแดนเฉพาะจุดผ่านแดนถาวรเท่านั้น 56.99% อันดับ 5 เพิ่มโทษและเอาผิดผู้ที่ลักลอบหนีเข้าเมือง 53.34% 3. ความคิดเห็น กรณีที่กระทรวงแรงงาน ?เปิดลงทะเบียนผ่อนผันแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายเป็นกรณีพิเศษ? อันดับ 1 การขึ้นทะเบียนทำให้ทำงานได้อย่างถูกกฎหมาย 63.81% อันดับ 2 ทำให้มีฐานข้อมูล รู้จำนวนแรงงานต่างด้าวที่ชัดเจน 62.96% อันดับ 3 นายจ้าง/สถานประกอบการ ควรให้ความร่วมมืออย่างเคร่งครัด 62.49% อันดับ 4 ช่วยยับยั้งและป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 จากต่างประเทศ 54.40% อันดับ 5 เป็นสิ่งที่ควรทำและให้ความสำคัญต่อการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ 52.53% 4. มาตรการช่วยเหลือแรงงานต่างด้าวเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 คือ อันดับ 1 มีจุดคัดกรองโควิด-19 ในชุมชนและสถานประกอบการ 60.71% อันดับ 2 ตรวจโควิด-19 ให้กับแรงงานต่างด้าวทุกคน 59.08% อันดับ 3 สถานประกอบการมีการตรวจสุขภาพประจำปีให้กับแรงงานต่างด้าว 55.67% อันดับ 4 ใช้หลักมนุษยธรรม ช่วยเหลือตามที่จะทำได้ 55.43% อันดับ 5 มีเจ้าหน้าที่ให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพ การป้องกันตัวเองจากโรค 54.35% 5. บทเรียนที่ได้จาก กรณี แรงงานเถื่อนลักลอบเข้าประเทศจนทำให้เกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 อันดับ 1 การทุจริตคอรัปชั่นทุกระดับเป็นปัญหาสำคัญของประเทศ 68.71% อันดับ 2 ปัญหาแรงงานเถื่อนเป็นปัญหาที่สะสมมายาวนาน ควรแก้ปัญหาอย่างจริงจัง 66.85% อันดับ 3 ภาครัฐต้องมีมาตรการปราบปรามที่จริงจังมากขึ้น 58.71% อันดับ 4 เกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในวงกว้าง 51.90% อันดับ 5 ประชาชนที่ดูแลตัวเองเป็นอย่างดี ต้องได้รับผลกระทบมากขึ้น 48.72% *หมายเหตุ ผู้ตอบสามารถระบุความคิดเห็นได้มากกว่า 1 เรื่อง (ค่าร้อยละจึงคำนวณในแต่ละข้อ) สรุปผลการสำรวจ : แรงงานเถื่อนกับโควิด-19 สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนเรื่อง ?แรงงานเถื่อนกับโควิด-19? จำนวน 1,295 คน สำรวจวันที่ 6 ? 12 กุมภาพันธ์ 2564 พบว่า สาเหตุของปัญหาแรงงานเถื่อนลักลอบเข้าประเทศ จนทำให้เกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 คือ ความบกพร่องของเจ้าหน้าที่ ร้อยละ 72.14 สิ่งที่ควรเร่งดำเนินการ คือ เจ้าหน้าที่ต้องปฏิบัติงานตามหน้าที่อย่างเคร่งครัด ร้อยละ 68.32 และเห็นว่ากรณีที่กระทรวงแรงงาน ?เปิดลงทะเบียนผ่อนผันแรงงานต่างด้าว ผิดกฎหมายเป็นกรณีพิเศษ? เป็นการช่วยให้แรงงานทำงานได้อย่างถูกกฎหมาย ร้อยละ 63.81 มาตรการที่ควรช่วยเหลือแรงงานต่างด้าวเพื่อป้องกันโควิด-19 คือ ควรตั้งจุดคัดกรองในชุมชนและสถานประกอบการ ร้อยละ 60.71 บทเรียนสำคัญที่ได้รับจากกรณีนี้คือ สะท้อนให้เห็นว่าปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นเป็นปัญหาสำคัญของประเทศ ร้อยละ 68.71
จากผลการสำรวจ ประชาชนเห็นว่าปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่นี้ เกิดจากความบกพร่องของเจ้าหน้าที่รัฐที่ปล่อยให้มีการลักลอบเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมายของแรงงานต่างด้าว โดยเห็นว่าควรมีการใช้กฎหมายและมีบทลงโทษอย่างรุนแรง มีมาตรการเชิงรุกในการป้องกันโควิด-19 สำหรับกลุ่มแรงงานต่างด้าว และต้องแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน ไม่เช่นนั้นแล้วปัญหานี้อาจกลายเป็นปัญหาใหญ่ที่กระทบต่อภาคเศรษฐกิจของประเทศก็เป็นได้
นางสาวพรพรรณ บัวทอง นักวิจัย สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โทร 086-3766533
ปัญหาแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย เป็นรอยแผลของสังคมไทยที่เริ่มเห็นชัดเจนขึ้นจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 รอบที่ 2 ดังนั้นรัฐบาลไทยโดยเฉพาะกระทรวงแรงงานและหน่วยงานฝ่ายปกครองต้องทำงานเชิงบูรณาการเพื่อจัดการปัญหาอย่างเข้มข้นและจริงจัง ต้องลงโทษผู้กระทำผิดให้เป็นบทเรียนที่คนจดจำ ไม่ว่าจะคนของรัฐ ผู้ประกอบการ และนายหน้า ที่ไรัจิตสำนึกด้านสิทธิมนุษยชนและนำพาประเทศเข้าสู่วิกฤติ รัฐยังต้องดูแลคุณภาพชีวิตของแรงงานต่างด้าวให้พ้นจากความเสี่ยงของการระบาดระลอกใหม่พร้อมกับการดูแลความอยู่รอดทางธุรกิจของสถานประกอบการที่ทำถูกกฎหมาย สื่อสารมวลชนและประชาชนก็ต้องคอยติดตามปัญหานี้ อย่าปล่อยให้เลยผ่าน สุดท้ายคนไทยต้องปรับตัวให้เข้ากับสังคมพหุวัฒนธรรม ไม่โยนความผิดให้กับแรงงานต่างด้าวที่ต้องดิ้นรนเลี้ยงชีวิต เพราะทุกวันนี้เราปฏิเสธไม่ได้ว่า แรงงานต่างด้าวเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจไทย ผศ.ดร.พรภัทร อินทรวรพัฒน์ รองผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาทุนมนุษย์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ที่มา: สวนดุสิตโพล