/
จากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่นับตั้งแต่ธันวาคม 2563 ที่ผ่านมา ทำให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อในประเทศเพิ่มขึ้น ซึ่งทางรัฐบาลก็ได้มีประกาศมาตรการต่าง ๆ ออกมาเพื่อรับมือกับไวรัสโควิด-19 และการให้ความช่วยเหลือประชาชนเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากผลกระทบในครั้งนี้ เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชน ?สวนดุสิตโพล?มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,087 คน (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 23-26 กุมภาพันธ์ 2564 สรุปผลได้ ดังนี้
อันดับ 1 ลดค่าไฟฟ้า 2 เดือน (กุมภาพันธ์ - มีนาคม 2564) 41.58% อันดับ 2 ลดค่าน้ำ 10% 2 เดือน (กุมภาพันธ์ - มีนาคม 2564) 40.66% อันดับ 3 คนละครึ่ง : ขยายสิทธิ์เพิ่มอีก 1 ล้านสิทธิ์ 40.20% อันดับ 4 เราชนะ : จ่ายเงินเยียวยารายละ 3,500 บาท 2 เดือน 38.09% อันดับ 5 สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ โดยธนาคารต่าง ๆ 32.47% 2. ?จุดเด่น-จุดด้อย? ของมาตรการเยียวยาโควิด-19 ระลอกใหม่ของรัฐบาล ที่ จุดเด่น ภาพรวม ที่ จุดด้อย ภาพรวม 1 บรรเทาความเดือดร้อนของผู้มีรายได้น้อย 48.58% 1 มีเงื่อนไขมากเกินไป เกิดความเหลื่อมล้ำ 52.34% 2 มีความพยายามช่วยเหลือประชาชน มีหลายมาตรการ 21.53% 2 ขั้นตอนยุ่งยาก ซับซ้อน ล่าช้า ขาดประสิทธิภาพ 33.19% 3 กระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ กระจายรายได้ 16.19% 3 ไม่ได้แก้ปัญหาระยะยาว ต้องรับภาระในอนาคต 6.81% 3. สิ่งที่ประชาชนอยากให้รัฐบาลคำนึงถึงในการออกมาตรการช่วยเหลือประชาชน คือ อันดับ 1 เยียวยาประชาชนทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียมกัน 71.72% อันดับ 2 ขั้นตอนลงทะเบียนต้องไม่ยุ่งยาก ไม่ซับซ้อน 62.38% อันดับ 3 ไม่ต้องมีการลงทะเบียน/ไม่ต้องแย่งกันลงทะเบียน 61.37% อันดับ 4 ควรหลีกเลี่ยงการใช้เทคโนโลยี/โซเชียลมีเดียกับกลุ่มผู้สูงอายุ 60.44% อันดับ 5 การเยียวยาต้องไม่สร้างภาระเพิ่ม/ใช้เงินได้ง่าย 59.52% 4. ภาพรวมความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อมาตรการต่าง ๆ ของรัฐบาล อันดับ 1 ค่อนข้างพอใจ 50.60% อันดับ 2 ไม่ค่อยพอใจ 19.69% อันดับ 3 พอใจมาก 17.66% อันดับ 4 ไม่พอใจ 12.05% *หมายเหตุ ผู้ตอบสามารถระบุความคิดเห็นได้มากกว่า 1 เรื่อง (ค่าร้อยละจึงคำนวณในแต่ละข้อ) สรุปผลการสำรวจ : มาตรการเยียวยาโควิด-19 ระลอกใหม่ของรัฐบาล
สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนเรื่อง ?มาตรการเยียวยาโควิด-19 ระลอกใหม่ของรัฐบาล? จำนวน 1,087 คน สำรวจวันที่ 23 ? 26 กุมภาพันธ์ 2564 พบว่า มาตรการที่ประชาชนพึงพอใจมากที่สุด คือ การลดค่าไฟฟ้า 2 เดือน ร้อยละ 41.58 จุดเด่นของมาตรการเยียวยา คือ ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของผู้มีรายได้น้อย ร้อยละ 48.58 จุดด้อย คือ มีเงื่อนไขมากเกินไป เกิดความเหลื่อมล้ำ ร้อยละ 52.34 สิ่งที่รัฐบาลควรคำนึงถึงในการออกมาตรการ คือ ต้องเยียวยาทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียมกัน ร้อยละ 71.72 โดยภาพรวมค่อนข้องพอใจต่อการออกมาตรการช่วยเหลือครั้งนี้ ร้อยละ 50.60
เป็นคำถามที่หลายคนสงสัยและวิพากษ์วิจารณ์อย่างต่อเนื่องกับการออกมาตรการเยียวยาช่วยเหลือประชาชน ที่ล่าช้า ใช้งานยุ่งยาก มีเงื่อนไขมาก เข้าไม่ถึงทุกกลุ่ม แต่ก็ยังเห็นถึงความพยายามและตั้งใจในการแก้ปัญหาและช่วยเหลือประชาชนที่เดือดร้อน เพราะเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้เงินงบประมาณในด้านอื่น ๆ แล้ว ผลงานในการบริหารและออกมาตรการเยียวยาในช่วงโควิด-19 ที่ผ่านมา นับเป็นผลงานที่เห็นเป็นรูปธรรมที่สุดแล้ว
นางสาวพรพรรณ บัวทอง นักวิจัย สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โทร 086-3766533
จากผลสำรวจของสวนดุสิตโพลในเรื่องมาตรการเยียวยาโควิด-19 ระลอกใหม่ของรัฐบาลนั้น พบว่า มาตรการ ที่สร้างความพึงพอใจให้กับประชาชนมากที่สุด 2 ลำดับแรกคือ การลดค่าไฟและค่าน้ำ ทำให้ตั้งข้อสังเกตได้ว่าประชาชนต้องการความช่วยเหลือที่เข้าถึงทุกครัวเรือน การมีสิทธิ์ได้รับโดยไม่ต้องร้องขอ ไม่ต้องลงทะเบียนเพื่อรอลุ้นว่าใครจะได้บ้าง ไม่ต้องตื่นตั้งแต่ 6 โมงเพื่อมาแก่งแย่งแข่งขัน รัฐบาลต้องไม่ลืมว่าการนำภาษีประชาชนมาใช้ต้องคำนึงถึงความเท่าเทียม ลดความเหลื่อมล้ำ ไม่ยุ่งยาก ไม่มีเงื่อนไขเยอะ และรวดเร็วทันเวลา ซึ่งเป็นจุดด้อยที่ชัดเจนมากของมาตรการที่รัฐกำลังดำเนินการอยู่ ถึงแม้ว่าเราจะมองเห็นถึงความพยายามที่จะช่วยเหลือประชาชนและการจะกระตุ้นเศรษฐกิจ กระจายรายได้แต่ก็ยังคงเกิดปัญหากับการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการขอรับความช่วยเหลือ ซึ่งประชาชนส่วนหนึ่งไม่ได้เข้าถึงเทคโนโลยีเหล่านั้น ทำให้เราเห็นภาพคุณตาคุณยายเดินเท้าจากบ้านมาต่อคิวเพื่อลงทะเบียนท่ามกลางอากาศที่ร้อนระอุ ผู้คนที่น้ำตาไหลเพราะเสียใจที่ไม่ได้รับเงินสดไปใช้จ่ายแต่กลับต้องรับเงินไว้ในเป๋าตังเพื่อซื้อของที่จำเป็นน้อยกว่าค่าเช่าบ้านที่จะต้องจ่าย รัฐบาลควรจะแบ่งเงินงบประมาณมาจัดทำฐานข้อมูลประชากรที่ดีเพื่อโอนความช่วยเหลือที่ตรงความต้องการให้ได้ทันทีโดยไม่จำเป็นต้องลงทะเบียนแข่งขันใดๆ เลย เหมือนเพื่อนบ้านอย่างสิงคโปร์...ท้ายสุดเราชนะหรือใครชนะก็ไม่แน่ใจ แต่ที่แน่ๆคนแพ้ก็คือประชาชนที่ไม่ได้รับความช่วยเหลือใดๆ ทั้งที่ก็เดือดร้อนเหมือนกับคนอื่น จากฝีมือการทำงานของรัฐบาลชุดปัจจุบัน ผศ.ดร. ปรียนันนท์ ประยูรศักดิ์ คณบดีคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ที่มา: สวนดุสิตโพล