สวนดุสิตโพล: จุดกึ่งกลางระหว่างการชุมนุมกับรัฐบาล

ข่าวผลสำรวจ Monday March 8, 2021 08:45 —สวนดุสิตโพล

การชุมนุมทางการเมือง ณ วันนี้ มีหลายประเด็นที่อยู่ในความสนใจของประชาชน โดยเฉพาะเหตุปะทะกันระหว่างผู้ชุมนุมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทำให้หลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีความเป็นห่วงกังวลว่าสถานการณ์จะยืดเยื้อต่อไป เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนและช่วยกันหาทางออกเพื่อหาจุดกึ่งกลางระหว่างการชุมนุมกับรัฐบาล ?สวนดุสิตโพล?มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศที่สนใจติดตามข่าวการเมือง จำนวนทั้งสิ้น 1,147 คน (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 1-5 มีนาคม 2564 สรุปผลได้ ดังนี้

1. ประชาชนติดตามข่าวการชุมนุมจากสื่อใด
อันดับ 1          โทรทัศน์          70.04%
อันดับ 2          เฟซบุ๊ก          65.33%
อันดับ 3          การไลฟ์สด (Live)          37.29%
อันดับ 4          การพูดคุยกับคนอื่นๆ          36.33%
อันดับ 5          เว็บไซต์ข่าว          31.00%

2. ประชาชนคิดเห็นอย่างไรกับการชุมนุม ณ วันนี้
อันดับ 1          การเคลื่อนไหวชุมนุมแตกต่างจากสมัยก่อน                55.33%
อันดับ 2          มีเยาวชนคนรุ่นใหม่เป็นแกนนำ                 50.61%
อันดับ 3          เป็นสิทธิตามระบอบประชาธิปไตย                    49.04%
อันดับ 4          มีการปะทะ กระทบกระทั่งกันมากขึ้น          48.43%
อันดับ 5          มีผู้ไม่หวังดีปะปนเข้ามาสร้างสถานการณ์          47.90%

3. ประชาชนคิดเห็นอย่างไรกับท่าทีของรัฐบาลที่มีต่อการชุมนุม ณ วันนี้
อันดับ 1          เน้นการสกัดกั้นการชุมนุม/จับกุมแกนนำ                  51.41%
อันดับ 2          มีการใช้กำลังเกินกว่าเหตุ/ใช้มาตรการที่รุนแรง                   50.35%
อันดับ 3          พยายามควบคุมสถานการณ์          48.94%
อันดับ 4          ไม่รับฟัง/ไม่ให้ความสำคัญกับข้อเรียกร้องของผู้ชุมนุม                  46.92%
อันดับ 5          ต้องการรักษาความสงบของบ้านเมือง                 41.11%

4. ประชาชนคิดว่า ?จุดกึ่งกลาง? ระหว่างการชุมนุมกับรัฐบาลคืออะไร
อันดับ 1          ทุกฝ่ายต้องยอมรับความเห็นต่าง ถอยคนละก้าว          50.07%
อันดับ 2          รัฐบาลต้องเปิดใจ รับฟังข้อเรียกร้อง สนใจไม่ละเลย เพื่อทบทวนการทำงาน          13.67%
อันดับ 3          นายกฯต้องลาออก /แก้ไขรัฐธรรมนูญ/ ยุบสภา          10.79%
อันดับ 4          การชุมนุมโดยสงบ สันติ ปฏิบัติตามกฎหมาย          9.64%
อันดับ 5          ทั้ง 2 ฝ่ายต้องจัดตั้งตัวแทนเจรจา หาข้อตกลงร่วมกัน          5.04%

5. ความคิดเห็นของประชาชนต่อการชุมนุม ณ วันนี้
        ไม่เห็นด้วย 27.63%         ค่อนข้างเห็นด้วย 25.20%         ค่อนข้างไม่เห็นด้วย 23.98%     เห็นด้วย 23.19%
6. ความคิดเห็นของประชาชนต่อท่าทีของรัฐบาลที่มีต่อการชุมนุม ณ วันนี้
        ไม่เห็นด้วย 39.49%         ค่อนข้างไม่เห็นด้วย 28.60%      ค่อนข้างเห็นด้วย 23.63%        เห็นด้วย 8.28%

*หมายเหตุ   ผู้ตอบสามารถระบุความคิดเห็นได้มากกว่า 1 เรื่อง (ค่าร้อยละจึงคำนวณในแต่ละข้อ)








สรุปผลการสำรวจ : จุดกึ่งกลางระหว่างการชุมนุมกับรัฐบาล

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนเรื่อง ?จุดกึ่งกลางระหว่างการชุมนุมกับรัฐบาล? จำนวน 1,147 คน สำรวจวันที่ 1 ? 5 มีนาคม 2564 พบว่า ส่วนใหญ่ติดตามข่าวการชุมนุมทางโทรทัศน์มากที่สุด ร้อยละ 70.04 รองลงมาคือ เฟซบุ๊ก การไลฟ์สด โดยเห็นว่าการชุมนุม ณ วันนี้มีการเคลื่อนไหวแตกต่างจากสมัยก่อน ร้อยละ 55.33 ท่าทีของรัฐบาลเน้นการสกัดกั้นการชุมนุม จับกุมแกนนำ ร้อยละ 51.41 มองว่า ?จุดกึ่งกลาง? ระหว่างการชุมนุมกับรัฐบาล คือ ทุกฝ่ายต้องยอมรับความเห็นต่าง ถอยคนละก้าว ร้อยละ 50.07 และกลุ่มตัวอย่างไม่เห็นด้วยกับการชุมนุม ร้อยละ 27.63 และไม่เห็นด้วยกับท่าทีของรัฐบาลที่มีต่อการชุมนุม ร้อยละ 39.49

ผลการสำรวจสะท้อนให้เห็นว่าถึงแม้ประชาชนจะไม่เห็นด้วยกับการชุมนุมแต่ก็ไม่เห็นด้วยกับท่าทีของรัฐบาลที่ออกมาตอบโต้เช่นกัน การควบคุมสถานการณ์ที่เน้นการจับกุม การสลายการชุมนุมด้วยแก๊สน้ำตา กระสุนยาง และการฉีดน้ำแรงดันสูง หลายฝ่ายมองว่าเป็นการกระทำที่รุนแรง ไม่ว่าสถานการณ์การชุมนุมและท่าทีของรัฐบาลจะเป็นไปในทิศทางเช่นไร สุดท้ายแล้วก็ควรเร่งหาทางออกที่เป็นจุดกึ่งกลางสำหรับเรื่องนี้ให้ได้โดยเร็ว

นางสาวพรพรรณ บัวทอง นักวิจัย สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โทร 086-3766533

ในระบอบประชาธิปไตย การชุมนุมถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนและได้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญตั้งแต่ปี 2475 เป็นต้นมา ดังนั้น การที่รัฐบาลเลือกวิธีการใช้กำลังเข้าสกัดกั้น ปราบปราม จับกุมคุมขัง แกนนำและผู้เข้าร่วมชุมนุมแทนการรับมือด้วยสันติวิธี จึงเป็นสิ่งที่ไม่อาจยอมรับได้โดยหลักการสากล เพราะนี่คือ การละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน รัฐบาลควรแสดงวุฒิภาวะผู้นำและความสามารถในการบริหารจัดการด้วยการเปิดพื้นที่ปลอดภัยอย่างแท้จริง ให้เกิดการพูดคุยด้วยความจริงใจ เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาและทางออกร่วมกัน

ขณะที่ฝั่งผู้ชุมนุม ซึ่งมารวมกลุ่มกันโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงออกทางความคิดในเรื่องที่ได้รับผลกระทบหรือได้รับความเดือดร้อน เพื่อให้รัฐได้รับทราบปัญหาและนำไปสู่การกำหนดแนวทาง ก็ต้องปรับแก้ท่าทีหรือวิธีการเช่นเดียวกัน เพื่อไม่ให้เสียขบวนหรือเสียมวลชนและยังคงมีความชอบธรรมในการชุมนุมตามหลักการประชาธิปไตยต่อไป

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อัญชลี รัตนะ อาจารย์ประจำหลักสูตรรัฐศาสตร์ โรงเรียนกฎหมายและการเมือง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

ที่มา: สวนดุสิตโพล

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ