/
การตกงานในช่วงโควิด-19 เป็นปัญหาใหญ่ที่หลายฝ่ายให้ความสำคัญ เพราะการตกงานนั้นกระทบต่อการดำเนินชีวิต ปัญหาทางการเงิน ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ปัญหาครอบครัว รวมถึงกระทบต่อภาพเศรษฐกิจใหญ่ของประเทศ อีกด้วย เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชน ?สวนดุสิตโพล?มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,155 คน (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 15-18 มีนาคม 2564 สรุปผลได้ ดังนี้ 1. สถานการณ์การเงินของประชาชนตั้งแต่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นอย่างไร ที่ เพิ่มขึ้น ภาพรวม ที่ ลดลง ภาพรวม 1 ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ/ยา/การป้องกันโควิด-19 38.65% 1 เงินออม 47.10% 2 ค่าอาหาร/เครื่องดื่มรายวัน 22.59% 2 ค่าเสื้อผ้า/หน้า/ผม 36.40% 3 หนี้บัตรเครดิต 22.49% 3 ค่าเดินทางรายวัน 26.39% 2. ในยามที่ลำบากต้องการใช้เงินฉุกเฉิน ประชาชนจะหาเงินจากแหล่งใด อันดับ 1 นำเงินออม/เงินเก็บส่วนตัวออกมาใช้ 55.23% อันดับ 2 ยืมจากคนในครอบครัว 42.57% อันดับ 3 สินเชื่อธนาคาร 32.98% อันดับ 4 ยืมจากเพื่อน/คนรู้จัก 27.70% อันดับ 5 กดบัตรเงินสด 26.56% 3. ประชาชนคิดว่าสถานการณ์ "ตกงาน" ของคนไทย ณ วันนี้ เป็นอย่างไร อันดับ 1 เกิดความเครียด/วิตกกังวล 65.94% อันดับ 2 มีผลมาจากปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำที่สะสมมานาน 61.51% อันดับ 3 ก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรม โจร ขโมย เพิ่มมากขึ้น 60.30% อันดับ 4 การระบาดของโควิด-19 ทำให้คนตกงาน 59.25% อันดับ 5 ทำให้เกิดปัญหาครอบครัว 53.00% 4. ประชาชนคิดว่ารัฐบาลจะช่วยแก้ปัญหาการ "ตกงาน" ได้อย่างไร อันดับ 1 ให้มีการฝึกอาชีพ สร้างอาชีพเสริม 56.66% อันดับ 2 จ่ายเงินชดเชย ช่วยเหลือเยียวยาอย่างรวดเร็ว ไม่ยุ่งยาก 49.52% อันดับ 3 สนับสนุนให้แรงงานพัฒนาทักษะต่าง ๆ เพิ่มขึ้น 48.39% อันดับ 4 ช่วยสร้างงานในท้องถิ่น/บ้านเกิด 47.08% อันดับ 5 หางานพิเศษ/งานเสริม ระหว่างรอหางานหลัก 46.30% *หมายเหตุ ผู้ตอบสามารถระบุความคิดเห็นได้มากกว่า 1 เรื่อง (ค่าร้อยละจึงคำนวณในแต่ละข้อ) สรุปผลการสำรวจ : ?ตกงาน? ปัญหาใหญ่! ของคนไทย ณ วันนี้ สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนเรื่อง ?ตกงาน? ปัญหาใหญ่ของคนไทย ณ วันนี้ กลุ่มตัวอย่าง 1,155 คน สำรวจวันที่ 15-18 มีนาคม 2564 พบว่า ตั้งแต่มีโควิด-19 ประชาชนใช้จ่ายเรื่องสุขภาพเพิ่มขึ้น ร้อยละ 38.65 แต่เงินออมลดลง ร้อยละ 47.10 เมื่อต้องใช้เงินฉุกเฉินจะนำเงินเก็บส่วนตัวออกมาใช้ ร้อยละ 55.23 โดยมองว่าสถานการณ์ ?ตกงาน? ณ วันนี้ ทำให้เกิดความเครียด วิตกกังวล ร้อยละ 65.94 จึงอยากให้รัฐบาลแก้ปัญหาโดยให้มีการฝึกอาชีพ สร้างอาชีพเสริมให้กับประชาชน ร้อยละ 56.66 ไม่ว่าจะก่อนหรือหลังมีโควิด-19 ตัวเลขการตกงานของคนไทยก็ไม่ได้อยู่ในสภาวะที่สบายใจได้เท่าใดนัก เมื่อ โควิด-19 เข้ามาจึงเป็นเหมือนตัวเร่งให้ยอดคนตกงานพุ่งสูงขึ้น แรงงานอีกหลายส่วนก็ยังอยู่ในสถานะที่ไม่รู้ว่าจะยื้อไปได้อีกนานแค่ไหน ปัญหาตกงานจึงเป็นปัญหาใหญ่ของคนไทย ณ วันนี้ และควรจะต้องเป็นปัญหาใหญ่ของรัฐบาลด้วยเช่นกัน เพราะหากมุ่งแก้เฉพาะปัญหาการเมือง สุดท้ายแล้วเศรษฐกิจไทยจะหลับลึกและไม่ตื่นก็เป็นได้
นางสาวพรพรรณ บัวทอง นักวิจัย สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โทร 086-3766533
ในปี 2563 อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศไทยลดลงถึงร้อยละ 6.6 อัตราเงินเฟ้อทั่วไป ติดลบ ร้อยละ 0.9 เป็นผลมาจากการที่ประชาชนมีรายได้ ชั่วโมงการทำงาน และค่าล่วงเวลาลดลง จำเป็นต้องใช้เงินออมเพื่อใช้จ่ายเกี่ยวกับอุปกรณ์ป้องกันโรคระบาด มีการก่อหนี้บัตรเครดิตมากขึ้น จากข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐแสดงให้เห็นว่า คนไทยที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จำนวน 14 ล้านคน มีรายได้ไม่เกิน 2,500 บาทต่อเดือน รวมทั้งคนไทยที่มียอดเงินฝาก ไม่เกิน 50,000 บาท สูงถึงร้อยละ 86.6 ของจำนวนบัญชีเงินฝากทั้งหมด สิ่งเหล่านี้ล้วนบ่งชี้ให้เห็นถึงระดับรายได้และ เงินออมของคนไทยส่วนใหญ่ต่ำมาก ปัจจุบันมีผู้ว่างงานจำนวน 650,000 คน คิดเป็นร้อยละ 1.69 ของกำลังแรงงาน มีแนวโน้มสูงขึ้นกว่าปีก่อน ดังนั้น ทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจและภาคประชาชนจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องสร้างงานและพัฒนาทักษะใหม่ เช่น การพัฒนาระบบ อี-คอมเมิร์ซ และระบบโลจิสติกส์ที่เป็นของคนไทย การส่งเสริมการผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้า มอเตอร์ และแบตเตอรี่ การเกษตรปลอดภัยและอาหารสุขภาพ โดรนทางการเกษตร การติดตั้งโซล่าเซลล์ทั้งภาคในเมืองและภาคการเกษตร เป็นต้น ผศ.ดร.ประศาสน์ นิยม อาจารย์ประจำหลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ที่มา: สวนดุสิตโพล