จากกรณีข่าวที่มี ส.ว.บางท่านออกมาระบุว่ามี ส.ว.รับเงินจากพรรคการเมืองและมีการปฏิบัติตนไม่
เป็นกลาง เอนเอียงไปพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง ทำให้เกิดกระแสการวิพากษ์วิจารณ์ถึงบทบาทการ
ทำงานของส.ว. ว่าไม่มีความเป็นกลางและขาดความน่าเชื่อถือ “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวน
ดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทุกสาขาอาชีพในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,428
คน (ชาย 833 คน 58.33% หญิง 595 คน 41.67%) โดยสำรวจระหว่างวันที่ 12 - 14 เมษายน
2548 สรุปผลได้ดังนี้
1. จากกระแสข่าวที่มี ส.ว. บางท่านบอกว่ามี ส.ว.รับเงินจากพรรคการเมือง ประชาชนคิดว่าจริงหรือไม่ ?
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 จริง 47.90% 48.23% 48.07%
เพราะ เป็นเรื่องของผลประโยชน์การเกื้อหนุนซึ่งกันและกันระหว่างส.ว.กับพรรคการเมือง,ประเทศไทยยังมีการคอรัปชั่น ฯลฯ
อันดับที่ 2 ไม่แน่ใจ 26.89% 29.42% 28.15%
เพราะ ข้อมูลต่างๆ ยังไม่ชัดเจน,ยังไม่สามารถตรวจสอบได้,ขึ้นอยู่กับตัวบุคคลมากกว่า ฯลฯ
อันดับที่ 3 ไม่จริง 25.21% 22.35% 23.78%
เพราะ ส.ว.มาจากการเลือกตั้งและเป็นตัวกลางทางการเมืองอยู่แล้ว,ส.ว.จะต้องไม่เกี่ยวข้องกับพรรคการเมือง ฯลฯ
2. ประชาชนคิดว่ามี ส.ว.ที่ปฏิบัติตัวไม่เป็นกลางหรือไม่ ? โดยเอนเอียงไปพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 ส่วนใหญ่ไม่เป็นกลาง 52.94% 45.88% 49.41%
เพราะ เพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน,เกิดจากความเกรงใจคนในพรรคการเมืองที่มีตำแหน่งในระดับสูง ฯลฯ
อันดับที่ 2 มีเฉพาะบางกลุ่มที่ไม่เป็นกลาง 29.41% 32.94% 31.17%
เพราะ ต้องการผลประโยชน์ให้กับกลุ่มตัวเอง,มีความสัมพันธ์/รู้จักกันมาก่อน ฯลฯ
อันดับที่ 3 เป็นกลาง 17.65% 21.18% 19.42%
เพราะ ส.ว. จะต้องมีความเป็นกลางและไม่สังกัดพรรคการเมืองใดอยู่แล้ว,การทำงานของส.ว.
สามารตรวจสอบได้ ฯลฯ
3. ประชาชนคิดว่ามี ส.ว. ที่มีพรรคการเมืองสนับสนุนอยู่หรือไม่ ?
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 ส่วนใหญ่มีพรรคการเมืองสนับสนุน 67.23% 40.00% 53.62%
เพราะ ส.ว.บางท่านมีการปฏิบัติตัวไม่เป็นกลางและมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับพรรคการเมืองมาก่อน ฯลฯ
อันดับที่ 2 มีเฉพาะบางกลุ่มที่มีพรรคการเมืองสนับสนุน 20.17% 38.82% 29.49%
เพราะ ต้องการผลประโยชน์ทั้งส่วนตัวและพวกพ้อง,ส.ว.บางท่านอาจเคยเป็นสมาชิกพรรคการเมืองมาก่อน ฯลฯ
อันดับที่ 3 ไม่มีพรรคการเมืองสนับสนุน 12.60% 21.18% 16.89%
เพราะ เป็นไปตามรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้,การทำงานของส.ว.คือการตรวจสอบส.ส.อีกครั้ง ฯลฯ
4. ประชาชนคิดว่าควรจะเปิดโอกาสให้ ส.ว. สังกัดพรรคการเมืองหรือไม่ ?
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 ไม่ควรเปิดโอกาสให้สังกัดพรรคการเมือง 51.26% 31.58% 41.42%
เพราะ ทำให้เสียดุลทางการเมือง,ส.ว.มีหน้าที่ตรวจสอบไม่ควรสังกัดพรรคการเมืองใด ,
เพื่อความเป็นกลาง ฯลฯ
อันดับที่ 2 ไม่แน่ใจ 32.77% 30.53% 31.65%
เพราะ อาจทำให้การตรวจสอบไม่มีประสิทธิภาพและเกิดผลเสียทำให้เกิดการทุจริตขึ้นได้,ต้อง
เปรียบเทียบข้อดีข้อเสีย ฯลฯ
อันดับที่ 3 ควรเปิดโอกาสให้สังกัดพรรคการเมือง 15.97% 37.89% 26.93%
เพราะ เพื่อเปิดเผยการสนับสนุนให้ชัดเจน โดยไม่ต้องหลีกเลี่ยงเหมือนปัจจุบัน ฯลฯ
5. ประชาชนต้องการให้ ส.ว. มาจากการเลือกตั้งหรือแต่งตั้ง
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 เลือกตั้ง 52.94% 49.41% 51.18%
เพราะ เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย,เพื่อความโปร่งใส เป็นกลาง,เป็นการเปิดโอกาสให้คน
นอกและประชาชนได้ตัดสินใจ ฯลฯ
อันดับที่ 2 มาจากทั้งการเลือกตั้งและแต่งตั้งรวมกัน 31.09% 18.84% 24.95%
เพราะ ควรจะใช้ทั้ง 2 วิธีผสมกัน ทั้งเลือกตั้งและแต่งตั้ง เพื่อสรรหาคนที่เหมาะสมที่สุด ฯลฯ
อันดับที่ 3 แต่งตั้ง 15.97% 31.76% 23.87%
เพราะ เพื่อคัดเลือกผู้ที่มีความสามารถมาปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเหมาะสม,เพื่อประหยัดงบประมาณที่
ใช้ในการเลือกตั้ง,สามารถเลือกบุคคลที่มีความสามารถจากหลายๆ แขนงมาทำงานฯลฯ
--สวนดุสิตโพล--
-พห-
เป็นกลาง เอนเอียงไปพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง ทำให้เกิดกระแสการวิพากษ์วิจารณ์ถึงบทบาทการ
ทำงานของส.ว. ว่าไม่มีความเป็นกลางและขาดความน่าเชื่อถือ “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวน
ดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทุกสาขาอาชีพในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,428
คน (ชาย 833 คน 58.33% หญิง 595 คน 41.67%) โดยสำรวจระหว่างวันที่ 12 - 14 เมษายน
2548 สรุปผลได้ดังนี้
1. จากกระแสข่าวที่มี ส.ว. บางท่านบอกว่ามี ส.ว.รับเงินจากพรรคการเมือง ประชาชนคิดว่าจริงหรือไม่ ?
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 จริง 47.90% 48.23% 48.07%
เพราะ เป็นเรื่องของผลประโยชน์การเกื้อหนุนซึ่งกันและกันระหว่างส.ว.กับพรรคการเมือง,ประเทศไทยยังมีการคอรัปชั่น ฯลฯ
อันดับที่ 2 ไม่แน่ใจ 26.89% 29.42% 28.15%
เพราะ ข้อมูลต่างๆ ยังไม่ชัดเจน,ยังไม่สามารถตรวจสอบได้,ขึ้นอยู่กับตัวบุคคลมากกว่า ฯลฯ
อันดับที่ 3 ไม่จริง 25.21% 22.35% 23.78%
เพราะ ส.ว.มาจากการเลือกตั้งและเป็นตัวกลางทางการเมืองอยู่แล้ว,ส.ว.จะต้องไม่เกี่ยวข้องกับพรรคการเมือง ฯลฯ
2. ประชาชนคิดว่ามี ส.ว.ที่ปฏิบัติตัวไม่เป็นกลางหรือไม่ ? โดยเอนเอียงไปพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 ส่วนใหญ่ไม่เป็นกลาง 52.94% 45.88% 49.41%
เพราะ เพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน,เกิดจากความเกรงใจคนในพรรคการเมืองที่มีตำแหน่งในระดับสูง ฯลฯ
อันดับที่ 2 มีเฉพาะบางกลุ่มที่ไม่เป็นกลาง 29.41% 32.94% 31.17%
เพราะ ต้องการผลประโยชน์ให้กับกลุ่มตัวเอง,มีความสัมพันธ์/รู้จักกันมาก่อน ฯลฯ
อันดับที่ 3 เป็นกลาง 17.65% 21.18% 19.42%
เพราะ ส.ว. จะต้องมีความเป็นกลางและไม่สังกัดพรรคการเมืองใดอยู่แล้ว,การทำงานของส.ว.
สามารตรวจสอบได้ ฯลฯ
3. ประชาชนคิดว่ามี ส.ว. ที่มีพรรคการเมืองสนับสนุนอยู่หรือไม่ ?
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 ส่วนใหญ่มีพรรคการเมืองสนับสนุน 67.23% 40.00% 53.62%
เพราะ ส.ว.บางท่านมีการปฏิบัติตัวไม่เป็นกลางและมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับพรรคการเมืองมาก่อน ฯลฯ
อันดับที่ 2 มีเฉพาะบางกลุ่มที่มีพรรคการเมืองสนับสนุน 20.17% 38.82% 29.49%
เพราะ ต้องการผลประโยชน์ทั้งส่วนตัวและพวกพ้อง,ส.ว.บางท่านอาจเคยเป็นสมาชิกพรรคการเมืองมาก่อน ฯลฯ
อันดับที่ 3 ไม่มีพรรคการเมืองสนับสนุน 12.60% 21.18% 16.89%
เพราะ เป็นไปตามรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้,การทำงานของส.ว.คือการตรวจสอบส.ส.อีกครั้ง ฯลฯ
4. ประชาชนคิดว่าควรจะเปิดโอกาสให้ ส.ว. สังกัดพรรคการเมืองหรือไม่ ?
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 ไม่ควรเปิดโอกาสให้สังกัดพรรคการเมือง 51.26% 31.58% 41.42%
เพราะ ทำให้เสียดุลทางการเมือง,ส.ว.มีหน้าที่ตรวจสอบไม่ควรสังกัดพรรคการเมืองใด ,
เพื่อความเป็นกลาง ฯลฯ
อันดับที่ 2 ไม่แน่ใจ 32.77% 30.53% 31.65%
เพราะ อาจทำให้การตรวจสอบไม่มีประสิทธิภาพและเกิดผลเสียทำให้เกิดการทุจริตขึ้นได้,ต้อง
เปรียบเทียบข้อดีข้อเสีย ฯลฯ
อันดับที่ 3 ควรเปิดโอกาสให้สังกัดพรรคการเมือง 15.97% 37.89% 26.93%
เพราะ เพื่อเปิดเผยการสนับสนุนให้ชัดเจน โดยไม่ต้องหลีกเลี่ยงเหมือนปัจจุบัน ฯลฯ
5. ประชาชนต้องการให้ ส.ว. มาจากการเลือกตั้งหรือแต่งตั้ง
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 เลือกตั้ง 52.94% 49.41% 51.18%
เพราะ เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย,เพื่อความโปร่งใส เป็นกลาง,เป็นการเปิดโอกาสให้คน
นอกและประชาชนได้ตัดสินใจ ฯลฯ
อันดับที่ 2 มาจากทั้งการเลือกตั้งและแต่งตั้งรวมกัน 31.09% 18.84% 24.95%
เพราะ ควรจะใช้ทั้ง 2 วิธีผสมกัน ทั้งเลือกตั้งและแต่งตั้ง เพื่อสรรหาคนที่เหมาะสมที่สุด ฯลฯ
อันดับที่ 3 แต่งตั้ง 15.97% 31.76% 23.87%
เพราะ เพื่อคัดเลือกผู้ที่มีความสามารถมาปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเหมาะสม,เพื่อประหยัดงบประมาณที่
ใช้ในการเลือกตั้ง,สามารถเลือกบุคคลที่มีความสามารถจากหลายๆ แขนงมาทำงานฯลฯ
--สวนดุสิตโพล--
-พห-