สวนดุสิตโพล: สภาพจิตใจของคนไทยในยุค “โควิด-19”

ข่าวผลสำรวจ Monday May 31, 2021 09:20 —สวนดุสิตโพล

/

สภาพเศรษฐกิจที่ตกต่ำมายาวนาน อีกทั้งยังมีสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้การดำเนินชีวิตของประชาชนต้องลำบากมากยิ่งขึ้น นอกจากเป็นปัญหาทางกายแล้วยังส่งผลต่อปัญหาทางใจของคนไทยอีกด้วย เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณี ?สภาพจิตใจของคนไทยในยุคโควิด-19? สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,713 คน (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 24-27 พฤษภาคม 2564 สรุปผลได้ ดังนี้

1. สภาพจิตใจของคนไทย ณ วันนี้ที่โควิด-19 ระบาดเป็นอย่างไร
อันดับ 1          เครียดและวิตกกังวล          75.35%
อันดับ 2          รู้สึกแย่ สิ้นหวัง          72.95%
อันดับ 3          เบื่อ หงุดหงิด          58.27%
อันดับ 4          กลัว หวาดผวา          45.19%
อันดับ 5          ปกติไม่กังวล          13.50%






2. สิ่งที่ทำให้สภาพจิตใจของคนไทยแย่ลง คือ
อันดับ 1          การแพร่ระบาดของโควิด-19 รุนแรงมากขึ้น                88.33%
อันดับ 2          สภาพเศรษฐกิจตกต่ำ ทำมาหากินลำบาก                74.53%
อันดับ 3          กังวลเรื่องการฉีดวัคซีน                51.89%
อันดับ 4          การเดินทาง การจราจร                 36.50%
อันดับ 5          เจ็บป่วย/สุขภาพ          15.98%






3. การดูแลสภาพจิตใจของคนไทย ณ วันนี้
อันดับ 1          ใช้ชีวิตด้วยความระมัดระวัง มีสติ                      91.03%
อันดับ 2          ศึกษาวิธีป้องกันดูแลด้วยตัวเอง                  60.82%
อันดับ 3          หาอย่างอื่นทำ เช่น ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกม โซเชียล               56.60%
อันดับ 4          ปรึกษาคนในครอบครัว/เพื่อน           40.88%
อันดับ 5          ทำสมาธิ/สวดมนต์/หาที่พึ่งทางใจ          28.97%






4.  สิ่งที่อยากให้รัฐบาล/หน่วยงานภาครัฐ/ภาคเอกชน เข้ามาช่วย คือ
อันดับ 1          เร่งการฉีดวัคซีนโดยเร็ว                         74.96%
อันดับ 2          เร่งแก้ปัญหาเศรษฐกิจ          60.52%
อันดับ 3          ให้ความรู้/ข้อมูลที่ชัดเจน/ไม่ทำให้สับสน                    56.51%
อันดับ 4          มีมาตรการเยียวยาอย่างทั่วถึง                 54.86%
อันดับ 5          มีบริการตรวจหาเชื้อโควิดทุกพื้นที่          49.91%






5. โดยภาพรวมจากปัญหาที่เกิดขึ้นในยุคโควิด-19 สภาพจิตใจของคนไทยเป็นอย่างไร
อันดับ 1          พยายามอดทนแก้ปัญหาเพื่อให้อยู่ได้                   41.97%
อันดับ 2          ยังพอทนได้                 38.65%
อันดับ 3          ทนแทบไม่ได้          9.46%
อันดับ 4          ไม่อยากทนและท้อถอย                  6.13%
อันดับ 5          ท้อถอยที่สุด/เกินจะรับมือได้          3.79%






*หมายเหตุ   ผู้ตอบสามารถระบุความคิดเห็นได้มากกว่า 1 เรื่อง (ค่าร้อยละจึงคำนวณในแต่ละข้อ)








สรุปผลการสำรวจ : สภาพจิตใจของคนไทยในยุค ?โควิด-19?

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณี ?สภาพจิตใจของคนไทยในยุค โควิด-19? กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,713 คน สำรวจวันที่ 24-27 พฤษภาคม 2564 พบว่า ประชาชนรู้สึกเครียดและวิตกกังวลมากที่สุด ร้อยละ 75.35 รองลงมาคือรู้สึกแย่ สิ้นหวัง ร้อยละ 72.95 สิ่งที่ทำให้สภาพจิตใจแย่ลง คือ การแพร่ระบาดของโควิด-19 รุนแรงมากขึ้น ร้อยละ 88.33 สภาพเศรษฐกิจตกต่ำ ทำมาหากินลำบาก ร้อยละ 74.53 วิธีการดูแลสภาพจิตใจ คือ การใช้ชีวิตด้วยความระมัดระวัง มีสติ ร้อยละ 91.03 ศึกษาวิธีป้องกันดูแลด้วยตัวเอง ร้อยละ 60.82 สิ่งที่อยากให้รัฐบาล/หน่วยงานภาครัฐ/ภาคเอกชนเข้ามาช่วยมากที่สุด คือ เร่งการฉีดวัคซีนโดยเร็ว ร้อยละ 74.96% เร่งแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ร้อยละ 60.52 จากปัญหาที่เกิดขึ้นโดยภาพรวมประชาชนพยายามอดทน แก้ปัญหาเพื่อให้อยู่ได้ ร้อยละ 41.97

จากผลโพลที่สำคัญพบว่า ประชาชนรู้สึก?ท้อถอยที่สุด/เกินจะรับมือได้? ร้อยละ 3.79 หากเทียบเป็นประชาชน 100 คน จะมีประชาชนเกือบ 4 คน ที่รู้สึกรับมือกับปัญหาต่อไปไม่ไหว ปัญหาโควิด-19 ทำให้กระทบต่อรายได้ การทำมา หากินจนทำให้เกิดความเครียดหนัก ซึ่งตั้งแต่เกิดโควิด-19 ระบาด อัตราการฆ่าตัวตายของประชาชนก็เพิ่มสูงขึ้นคล้ายกับช่วงวิกฤติต้มยำกุ้งอีกด้วย สัญญาณนี้รัฐบาลไม่ควรจะนิ่งเฉยควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปช่วยเหลือดูแลสภาพจิตใจของกลุ่มเปราะบางโดยเร็ว

นางสาวพรพรรณ บัวทอง นักวิจัย สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โทร 086-3766533

จากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 พบว่า ประชาชนมีความเครียดและวิตกกังวลที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้มีการปรับตัวอย่างมาก ทำให้เกิดภาวะสุขภาพจิตต่างๆ ตามมา ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความเครียดและวิตกกังวลดังกล่าวเกิดจากปัจจัยทางด้านสังคมและสภาพแวดล้อม เช่น การแพร่ระบาดในระลอกใหม่ สภาพเศรษฐกิจและอัตราการว่างงาน ที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ซึ่งวิธีจัดการกับภาวะสุขภาพจิตสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การใช้สติในการดำเนินชีวิต การผ่อนคลายความเครียด เป็นต้น โดยสิ่งที่ต้องการให้หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนเข้ามาช่วยมากที่สุด คือ การฉีดวัคซีนและการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ โดยภาพรวมประชาชนใช้ความอดทนและพยายามแก้ปัญหาต่างๆ อาจเพราะประชาชนยังมีความหวังว่าจะกลับมาใช้ชีวิตในสภาวะปกติได้ในเร็ววัน และยังมีกำลังใจในการต่อสู้ชีวิตโดยหมั่นใส่ใจดูแลสุขภาพจิตของตนเองและคนรอบข้างให้มีความเข้มแข็ง มีพลังใจในการต่อสู้กับปัญหาต่างๆ ถือเป็นภูมิคุ้มกันทางใจที่มีความสำคัญที่จะสามารถผ่านสถานการณ์ที่ยากลำบากนี้ไปได้ด้วยดี

ผศ.พัศรินท์ ก่อเลิศวรพงศ์

อาจารย์ประจำหลักสูตรจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

ที่มา: สวนดุสิตโพล

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ