ความมั่นใจของคนไทยต่อการฉีดวัคซีนโควิด-19
/
จากที่รัฐบาลกำหนดแผนการฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้กับประชาชนพร้อมกันทั่วประเทศ เพื่อหยุดยั้งการแพร่ระบาดและหวังให้ประชาชนได้กลับมาใช้ชีวิตปกติโดยเร็ว เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณี ?ความมั่นใจของคนไทยต่อการฉีดวัคซีนโควิด-19? สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,450 คน (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 7-10 มิ.ย. 2564 สรุปผลได้ ดังนี้
อันดับ 1 ควรดำเนินการโดยเร่งด่วน 66.87% อันดับ 2 เป็นเรื่องสำคัญ กระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน 62.44% อันดับ 3 อยากให้เร่งกระจายวัคซีนให้ทั่วถึง 61.19% อันดับ 4 ควรมีวัคซีนให้เลือกหลากหลาย มีประสิทธิภาพ 60.29% อันดับ 5 มีการสื่อสารที่ชัดเจน ไม่สร้างความสับสน 56.27% 2. ความมั่นใจของประชาชน ต่อ การบริหารจัดการการฉีดวัคซีนของรัฐบาล ไม่ค่อยมั่นใจ 36.36% ค่อนข้างมั่นใจ 30.26% ไม่มั่นใจเลย 22.69% มั่นใจมาก 10.69% 3. ประชาชนคิดว่าการฉีดวัคซีนให้ได้ 50 ล้านคน ครบ 100 ล้านโดส ภายในสิ้นปี 2564 จะสำเร็จหรือไม่ ไม่น่าจะสำเร็จ 57.61% น่าจะสำเร็จ 42.39% 4. ประชาชนคิดว่าปัญหาการฉีดวัคซีนของไทยในปัจจุบัน คือ อันดับ 1 จำนวนวัคซีนไม่เพียงพอ ไม่หลากหลายยี่ห้อ 77.87% อันดับ 2 กังวลเรื่องผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีน 67.29% อันดับ 3 การกระจายวัคซีนล่าช้า 65.56% อันดับ 4 ภาครัฐชี้แจงข้อมูลไม่ชัดเจน ทำให้สับสน 62.79% อันดับ 5 มีข่าวลือ ข่าวปลอมจำนวนมาก 58.58% 5. ประชาชนคิดว่าทำอย่างไร การฉีดวัคซีนจึงจะรวดเร็วมากขึ้นและทั่วถึงทั้งประเทศ อันดับ 1 นำเข้าวัคซีนให้หลากหลายยี่ห้อ เพิ่มจำนวนให้มากขึ้น 78.74% อันดับ 2 วางแผนการกระจายวัคซีนอย่างมีประสิทธิภาพ 63.92% อันดับ 3 ภาครัฐสื่อสารชัดเจน ไม่เปลี่ยนไปมา 60.18% อันดับ 4 จัดลำดับความสำคัญของกลุ่มเสี่ยงอย่างเหมาะสม 59.28% อันดับ 5 ให้ภาคเอกชนนำเข้าวัคซีนได้ 56.79% 6. ประชาชนเห็นด้วยหรือไม่ กับกรณีวัคซีนทางเลือกโดยประชาชนต้องจ่ายเงินเอง ไม่เห็นด้วย 34.00% เห็นด้วย 23.64% ค่อนข้างไม่เห็นด้วย 21.90% ค่อนข้างเห็นด้วย 20.46% 7. ประชาชนจะลงทะเบียนจองวัคซีนทางเลือกที่ต้องจ่ายเงินเองหรือไม่ ไม่สนใจ 37.38% สนใจลงทะเบียนจองวัคซีน 32.34% ยังไม่ตัดสินใจ 30.28% *หมายเหตุ ผู้ตอบสามารถระบุความคิดเห็นได้มากกว่า 1 เรื่อง (ค่าร้อยละจึงคำนวณในแต่ละข้อ) สรุปผลการสำรวจ : ความมั่นใจของคนไทยต่อการฉีดวัคซีนโควิด-19 ?ไม่เชื่อมั่น ไม่น่าจะฉีดได้ตามเป้า ไม่เห็นด้วยกับการจ่ายเงินฉีดวัคซีนเอง?
สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณี ?ความมั่นใจของคนไทยต่อการฉีดวัคซีนโควิด-19? กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,450 คน สำรวจวันที่ 7-10 มิถุนายน 2564 พบว่า การกำหนดให้การฉีดวัคซีน เป็นวาระแห่งชาตินั้นเป็นเรื่องที่ควรดำเนินการโดยเร่งด่วน ร้อยละ 66.87 โดยประชาชนไม่ค่อยมั่นใจต่อการบริหารจัดการการฉีดวัคซีนของรัฐบาล ร้อยละ 36.36 และคิดว่าการตั้งเป้าฉีดวัคซีนให้ได้ 50 ล้านคน ครบ 100 ล้านโดส ภายในสิ้นปี 2564 ไม่น่าจะสำเร็จ ร้อยละ 57.61 มองว่าปัจจุบันปัญหาการฉีดวัคซีน คือ จำนวนวัคซีนไม่เพียงพอ ไม่หลากหลายยี่ห้อ ร้อยละ 77.87 ต้องนำเข้าวัคซีนให้มากขึ้น ร้อยละ 78.74 ทั้งนี้ไม่เห็นด้วยกับวัคซีนทางเลือกที่ประชาชนต้องจ่ายเงินเอง ร้อยละ 34.00 และไม่สนใจจะจองวัคซีนทางเลือก ร้อยละ 37.38
ทั่วโลกฉีดวัคซีนไปแล้วกว่า 2 พันล้านโดส ขณะที่ไทยฉีดได้สะสม 5.67 ล้านโดส ประมาณ 1.52 ล้านคน หรือ คิดเป็น 2.2% ของประชากรทั้งหมด ถึงแม้จะมีการประกาศให้การฉีดวัคซีนเป็นวาระแห่งชาติ แต่จากผลการสำรวจกลับพบว่าประชาชนยังไม่เชื่อมั่นการบริหารจัดการวัคซีนเท่าใดนัก และไม่คิดว่ารัฐบาลจะฉีดวัคซีนได้ตามเป้าที่กำหนดไว้ด้วย ณ เวลานี้จึงควรแยกเกมการเมืองให้ออกจากชีวิตประชาชน บริหารจัดการวัคซีนอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อเร่งสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ให้กับประชาชนโดยเร็ว
นางสาวพรพรรณ บัวทอง นักวิจัย สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โทร 086-3766533
การกำหนดให้การฉีดวัคซีนเป็นวาระแห่งชาติ เป็นทางออกที่ดีที่สุดในการควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาด ของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในขณะนี้ เพราะเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ให้แก่ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ซึ่งจะช่วยลดการแพร่กระจายของเชื้อโรค ลดความรุนแรงและลดอัตราการเสียชีวิต แต่การที่ประเทศไทยจะสามารถฉีดวัคซีนได้ตามเป้าหมายหรือไม่นั้นก็ขึ้นอยู่กับความสามารถของรัฐบาลในการจัดหาวัคซีนให้เพียงพอและทันเวลา การกระจายวัคซีนในพื้นที่ต่างๆ ให้ถึงกลุ่มเป้าหมายและความพร้อมในการฉีดวัคซีน การที่รัฐบาลมีการติดตามอาการข้างเคียงจากการ รับวัคซีน ตลอดจนการช่วยเหลือทางการเงินเบื้องต้นกรณีได้รับผลกระทบจากการฉีดวัคซีนนั้น ก็เป็นการเพิ่มความเชื่อมั่นในการฉีดวัคซีนได้มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้การนำเข้าวัคซีนทางเลือกขององค์การเภสัชกรรมร่วมกับโรงพยาบาลเอกชนก็ทำให้ประชาชนมีทางเลือกที่หลากหลายขึ้น และยังเป็นการช่วยรัฐบาลในการกระจายวัคซีนสู่ประชาชนที่สนใจและมีกำลังซื้อ เพิ่มโอกาสในการฉีดวัคซีนให้ได้ตามเป้าหมายมากยิ่งขึ้น
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐิตินาถ สุคนเขตร์
คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต