วันที่ 14 มิถุนายน 2564 ที่ผ่านมาเป็นวันเปิดภาคเรียนทั่วประเทศ แต่เนื่องจากยังอยู่ในสถานการณ์โควิด-19 ทำให้สถานศึกษาส่วนใหญ่ยังไม่สามารถทำการเรียนการสอนแบบออนไซต์ได้ จึงต้องใช้วิธีการเรียนออนไลน์ ทำให้ทุกฝ่ายต้องปรับตัวให้พร้อมรับกับการเรียนแบบออนไลน์ เพื่อสะท้อนความคิดเห็นที่มีต่อกรณี ?หัวอกครู ผู้ปกครอง นักเรียน? กับการเรียนออนไลน์ สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของครู ผู้ปกครอง นักเรียนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 3,749 คน (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 14-17 มิถุนายน 2564 สรุปผลได้ ดังนี้ 1. จากที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดให้เปิดเรียนวันที่ 14 มิถุนายน 2564 ประชาชนคิดว่า ณ วันนี้ มีความพร้อมหรือไม่ ไม่พร้อม 51.35% พร้อม 32.33% ไม่แน่ใจ 16.32% 2. ประชาชนคิดว่าการศึกษาไทย ณ วันนี้ พร้อมที่จะเรียนออนไลน์หรือไม่ ไม่พร้อม 63.30% พร้อม 21.31% ไม่แน่ใจ 15.39% 3. สิ่งที่ ?ครู ผู้ปกครอง นักเรียน และประชาชนทั่วไป? กังวลเกี่ยวกับการเรียนออนไลน์ คือ 3.1) ครู อุปกรณ์ไม่พร้อม อินเทอร์เน็ตช้า 77.18% ผู้ปกครองไปทำงาน ไม่มีใครดูแลผู้เรียนที่บ้าน 69.74% ผู้เรียนไม่เข้าใจ/เรียนไม่ทัน 67.31% 3.2) ผู้ปกครอง ไม่มีสมาธิ ขาดความกระตือรือร้น 66.16% ไม่เข้าใจเนื้อหาที่ครูสอน 64.64% ผู้เรียนได้ความรู้ไม่เต็มที่ 61.65% 3.3) นักเรียน เรียนไม่เข้าใจ เรียนไม่ทัน 74.25% ไม่ได้พบเพื่อน ไม่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน 63.47% ได้ความรู้ไม่เท่ากับเรียนในห้องเรียน 62.28% 3.4) ประชาชนทั่วไป ไม่มีสมาธิในการเรียนเท่าที่ควร 65.80% ไม่เข้าใจเนื้อหา เรียนไม่ทัน 61.92% อุปกรณ์ไม่พร้อม เช่น แท็บเล็ต อินเทอร์เน็ต 60.26% 4. สิ่งที่อยากให้ภาครัฐ/สถานศึกษาช่วยเหลือเกี่ยวกับการเรียนออนไลน์ คือ อันดับ 1 สนับสนุนอุปกรณ์เครื่องมือสำหรับเรียนออนไลน์ 62.22% อันดับ 2 มีส่วนลด/ใช้อินเทอร์เน็ตฟรีสำหรับผู้เรียน 58.28% อันดับ 3 มีส่วนลดค่าบำรุงการศึกษา 55.80% อันดับ 4 จัดการเรียนการสอนโดยเข้าใจถึงความแตกต่างของผู้เรียน 50.30% อันดับ 5 มีนโยบายและมาตรการส่งเสริมการเรียนออนไลน์ 49.57% 5. ประชาชนคิดว่าการเรียนออนไลน์จะส่งผลกระทบต่อการศึกษาระดับชั้นใดมากที่สุด ระดับปฐมวัย 35.57% ระดับประถมศึกษา 33.77% ระดับมัธยมศึกษา 23.51% ระดับอุดมศึกษา 7.15% 6. ประชาชนคิดว่าการเรียนออนไลน์จะทำให้คุณภาพการศึกษาไทยเป็นอย่างไร แย่ลง 68.52% เหมือนเดิม 25.40% ดีขึ้น 6.08% *หมายเหตุ ผู้ตอบสามารถระบุความคิดเห็นได้มากกว่า 1 เรื่อง (ค่าร้อยละจึงคำนวณในแต่ละข้อ) สรุปผลการสำรวจ : ?หัวอกครู ผู้ปกครอง นักเรียน? กับการเรียนออนไลน์ สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณี ?หัวอกครู ผู้ปกครอง นักเรียน? กับการเรียนออนไลน์? กลุ่มตัวอย่างจำนวน 3,749 คน สำรวจวันที่ 14 - 17 มิถุนายน 2564 พบว่า ประชาชนมองว่ายัง ไม่พร้อมสำหรับการเรียนออนไลน์ ร้อยละ 51.35 และการศึกษาไทยก็ยังไม่พร้อมสำหรับการเรียนออนไลน์ ร้อยละ 63.30 สิ่งที่ครูกังวล คือ อุปกรณ์ไม่พร้อม อินเทอร์เน็ตช้า ร้อยละ 77.18 ผู้ปกครองกังวลว่าบุตรหลานจะไม่มีสมาธิ ขาดความกระตือรือร้น ร้อยละ 66.16 ตัวนักเรียนกังวลว่าจะเรียนไม่เข้าใจ ร้อยละ 74.25 และประชาชนมองว่าการเรียนออนไลน์นั้นผู้เรียนไม่มีสมาธิเท่าที่ควร ร้อยละ 65.80 โดยสิ่งที่อยากให้ภาครัฐ/สถานศึกษาช่วยเหลือ คือ อยากให้สนับสนุนอุปกรณ์เครื่องมือสำหรับเรียนออนไลน์ ร้อยละ 62.22 ทั้งนี้มองว่าการเรียนออนไลน์จะกระทบต่อการศึกษาระดับชั้นปฐมวัยมากที่สุด ร้อยละ 35.57 และจะทำให้คุณภาพการศึกษาไทยแย่ลง ร้อยละ 68.52 เมื่อการเรียนออนไลน์ต้องมาเป็นทางเลือกหลัก แต่ยังมีสถานศึกษา ผู้ปกครอง และนักเรียนบางส่วนที่ยังไม่มีความพร้อม จึงทำให้การเรียนออนไลน์เพื่อป้องกันโควิด-19 ครั้งนี้ กลับกลายเป็นการเพิ่มความเหลื่อมล้ำทางการศึกษามากขึ้น เนื่องมาจากสภาพเศรษฐกิจและความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงเทคโนโลยี ภาครัฐจึงควรสนับสนุนงบประมาณหรืออุปกรณ์ ช่วยเหลือทั้งกลุ่มครู ผู้ปกครอง และนักเรียน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะเด็กไทยหลุดจากระบบการศึกษาไป
นางสาวพรพรรณ บัวทอง นักวิจัย สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โทร 086-3766533
การเรียนออนไลน์ในชีวิตวิถีใหม่นี้ ควรเป็นโอกาสและความท้าทายใม่ใช่อุปสรรคของการเรียนรู้ ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายต้องปรับ Digital Mindset ให้รู้คิด รู้ใช้ เข้าใจ เปิดใจ และใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเท่าที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด รัฐบาล-สถานศึกษา-ครู-ผู้ปกครอง ต้องร่วมมือสร้างความเชื่อมั่นและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้ ทั้งระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ทั่วถึงและเท่าเทียม ครูต้องปรับและเปลี่ยนวิธีจัดการเรียนรู้บนพื้นฐานของความเข้าใจพัฒนาการและพฤติกรรมของผู้เรียนในแต่ละช่วงวัย เลือกใช้รูปแบบการเรียนรู้ สื่อ และกิจกรรมที่เหมาะสมและหลากหลาย ปรับรูปแบบเนื้อหาบทเรียนให้สั้นกระชับ ปรับการบ้านหรืองานเป็นงานย่อยๆ (Micro Content) ให้เข้าใจและเข้าถึงบทเรียนได้ง่าย สร้างแรงกระตุ้นด้วย Edutainment เปิดโอกาสให้ผู้เรียนเลือกบทเรียนได้ด้วยตัวเอง ในแบบ ?At their own pace? หากผู้เรียนยังเล็กอยู่ หรือมีสมาธิสั้นเกินกว่าจะเรียนออนไลน์ได้ด้วยตัวเอง ผู้ปกครองควรให้การสนับสนุนและติดตามการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
ดร.เอื้ออารี จันทร หัวหน้าฝ่ายพัฒนาระบบการเรียนรู้ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
ที่มา: สวนดุสิตโพล