/
จากกรณีเหตุระเบิดโรงงานกิ่งแก้ว จังหวัดสมุทรปราการ สร้างความเสียหายต่อประชาชนที่อยู่บริเวณโดยรอบ รวมถึงอันตรายจากสารเคมีที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนและถอดบทเรียนจากเหตุการณ์ดังกล่าว ?สวนดุสิตโพล? มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,266 คน (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 6-9 กรกฎาคม 2564 สรุปผลได้ ดังนี้
อันดับ 1 เป็นเหตุการณ์ที่รุนแรง สร้างความเสียหายอย่างมาก 88.54% อันดับ 2 เจ้าหน้าที่ขาดอุปกรณ์ เครื่องมือ จึงควบคุมเพลิงได้ช้า 83.87% อันดับ 3 การสั่งการ การแก้ปัญหาค่อนข้างล่าช้า 82.13% อันดับ 4 รู้สึกหดหู่ มีเจ้าหน้าที่เสียชีวิต และผู้บาดเจ็บจำนวนมาก 76.68% อันดับ 5 อยากรู้สาเหตุที่แท้จริงโดยเร็ว 41.58% 2. ประชาชนคิดว่าการระเบิดครั้งนี้ เกิดจากสาเหตุใด อันดับ 1 การรั่วไหลของสารเคมี 67.02% อันดับ 2 ระบบรักษาความปลอดภัยไม่มีประสิทธิภาพ 63.95% อันดับ 3 มีเพลิงไหม้ลุกลามจนเกิดการระเบิด 51.66% อันดับ 4 โรงงานก่อตั้งมานาน อาคารเก่า 39.53% อันดับ 5 ไฟฟ้าลัดวงจร 26.68% 3. สิ่งที่อยากฝากถึงรัฐบาลจากเหตุการณ์ระเบิดครั้งนี้ อันดับ 1 ตรวจสอบโรงงานต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ป้องกันไม่ให้เกิดเหตุซ้ำ 92.00% อันดับ 2 มีมาตรการเยียวยาผู้เสียหาย ตรวจสุขภาพประชาชนในพื้นที่ 89.78% อันดับ 3 ควรมีระบบเตือนภัยที่รวดเร็ว และแนวทางการอพยพในสถานการณ์ฉุกเฉิน 78.45% อันดับ 4 ทำงานเชิงรุก ประสานกับท้องถิ่น 70.60% อันดับ 5 เร่งสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสารเคมีที่เป็นอันตราย 59.11% 4. บทเรียนที่ได้รับจากเหตุการณ์ระเบิดครั้งนี้ อันดับ 1 ให้ความสำคัญกับงานบรรเทาและป้องกันสาธารณภัยมากขึ้น 69.99% อันดับ 2 ควรมีแผนการรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินที่พร้อมใช้งาน 68.96% อันดับ 3 ต้องมีการจัดการมลพิษตกค้างอย่างเป็นระบบ 62.23% อันดับ 4 ควรทำงานประสานกันทุกภาคส่วน ทั้งระดับรัฐบาลและท้องถิ่น 60.57% อันดับ 5 เร่งแก้ปัญหาเรื่องผังเมือง 59.94% 5. ประชาชนพึงพอใจกับการแก้ปัญหาในภาพรวมมากน้อยเพียงใด ไม่ค่อยพอใจ 39.38% ค่อนข้างพอใจ 30.71% ไม่พอใจ 27.13% พอใจมาก 2.78% *หมายเหตุ ผู้ตอบสามารถระบุความคิดเห็นได้มากกว่า 1 เรื่อง (ค่าร้อยละจึงคำนวณในแต่ละข้อ) สรุปผลการสำรวจ : บทเรียนจากเหตุระเบิดโรงงาน กิ่งแก้ว สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณี บทเรียนจากเหตุระเบิดโรงงาน กิ่งแก้ว จังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 1,266 คน ระหว่างวันที่ 6-9 กรกฎาคม 2564 พบว่า ประชาชนมองว่าเหตุการณ์นี้รุนแรง สร้างความเสียหายอย่างมาก ร้อยละ 88.54 คิดว่าเกิดจากสาเหตุการรั่วไหลของสารเคมี ร้อยละ 67.02 สิ่งที่อยากฝากถึงรัฐบาล คือ ควรตรวจสอบโรงงานต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ป้องกันไม่ให้เกิดเหตุซ้ำ ร้อยละ 92.00 บทเรียน ที่ได้รับคือ ควรให้ความสำคัญกับงานบรรเทาและป้องกันสาธารณภัยมากขึ้น ร้อยละ 69.99 ทั้งนี้ยังไม่ค่อยพอใจกับการแก้ปัญหาในภาพรวม ร้อยละ 39.38 เหตุการณ์ระเบิดและไฟไหม้ในภาคอุตสาหกรรมของไทยเกิดขึ้นหลายต่อหลายครั้ง แต่กลับพบว่าการรับมือ และแก้ปัญหายังทำได้ไม่รวดเร็วนัก อีกทั้งยังเปิดให้เห็นจุดอ่อนในเรื่องเดิมซ้ำ ๆ ไม่ว่าจะเป็นการวางผังเมือง ระบบการระงับป้องกันภัยที่ยังไม่ทันสมัย กฎระเบียบที่ไม่ยืดหยุ่น ทำให้การอพยพทำได้ล่าช้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออยู่ในสถานการณ์โควิด-19 บทเรียนครั้งนี้จึงไม่ควรเป็นเพียงการบันทึกเรื่องราว แต่ควรนำไปสู่การปรับปรุงการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ไม่เช่นนั้นเหตุการณ์นี้ก็จะเหมือนไฟไหม้ฟาง เหมือนกับที่ผ่าน ๆ มา
นางสาวพรพรรณ บัวทอง นักวิจัย สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โทร 086-3766533
ประชาชนมองว่าเหตุระเบิดโรงงานกิ่งแก้วมีความรุนแรงนำไปสู่ความเสียหายอย่างมาก และไม่ค่อยพอใจกับการแก้ไขปัญหาในภาพรวม อาจเป็นเพราะว่านี่ไม่ใช่เหตุระเบิดจากสารเคมีครั้งแรกที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ซึ่งผลของการสำรวจยังสะท้อนให้เห็นว่า บทเรียนที่เกิดขึ้นในครั้งนี้อาจต้องนำไปสู่การปฏิรูปเรื่องกฎหมายผังเมือง แผนระงับภัยฉุกเฉิน การจัดทำฐานข้อมูลการปลดปล่อยและเคลื่อนย้ายมลพิษ (Pollutant Release and Transfer Register: PRTR) เพื่อสะดวกต่อการปฏิบัติงานของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ช่วยลดการสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นรวมไปถึงภาครัฐยังสามารถติดตามเรื่องสิ่งแวดล้อมและมลพิษที่เกิดขึ้นได้ และสิ่งที่สำคัญ คือ ต้องมีการให้ความรู้ การสร้างความตระหนักแก่ชุมชน ผู้ปฏิบัติงานในโรงงาน การพัฒนาศักยภาพบุคลากรชุดเผชิญเหตุ หน่วยผจญเพลิงให้มีความพร้อมในการรับมือด้วย
ดร.พรธิดา เทพประสิทธิ์
ผู้อำนวยการศูนย์สิ่งแวดล้อม
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
ที่มา: สวนดุสิตโพล