/
คนไทย ณ วันนี้ ต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่รุนแรงขึ้น จำนวนผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตที่พุ่งสูง อย่างต่อเนื่อง บุคลากรทางการแพทย์ต้องทำงานอย่างหนัก ถึงแม้จะมีการเร่งฉีดวัคซีนแต่ก็ยังทำไม่ได้รวดเร็วนัก จึงทำให้หลายฝ่ายเกิดความกังวลว่าสถานการณ์ครั้งนี้เข้าสู่ภาวะวิกฤติของประเทศหรือไม่ เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชน ?สวนดุสิตโพล? มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,702 คน (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 5-15 กรกฎาคม 2564 สรุปผลได้ ดังนี้
1. การฉีดวัคซีนโควิด-19 ของประชาชน ณ วันนี้
ยังไม่ได้ฉีด 49.35% ฉีดแล้ว 1 เข็ม 38.84% ฉีดแล้ว 2 เข็ม 11.81% 2. หากฉีดวัคซีนโควิด-19 แล้ว ประชาชนอยากฉีดวัคซีนเข็มที่ 2-3 เป็นยี่ห้อใด เข็มที่ 1 แอสตร้าเซนเนก้า อยากฉีดเข็มที่ 2-3 เป็น แอสตร้าเซนเนก้า 41.86% ไฟเซอร์ 25.39% โมเดอร์นา 24.22% เข็มที่ 1 ซิโนแวค อยากฉีดเข็มที่ 2-3 เป็น ไฟเซอร์ 30.07% โมเดอร์นา 26.09% ซิโนแวค 22.46% เข็มที่ 1 ซิโนฟาร์ม อยากฉีดเข็มที่ 2-3 เป็น ซิโนฟาร์ม 50.00% โมเดอร์นา 25.00% ไฟเซอร์ 16.67% 3. ประชาชนคิดว่าสถานการณ์ประเทศไทย ณ วันนี้อยู่ในภาวะวิกฤติมากน้อยเพียงใด วิกฤติมาก 60.93% วิกฤติ 24.12% ค่อนข้างวิกฤติ 14.95% 4. เหตุการณ์หรือสถานการณ์ใดที่บ่งชี้ว่าประเทศไทยเข้าสู่ภาวะวิกฤติ อันดับ 1 ยอดผู้ติดเชื้อ ผู้เสียชีวิตเพิ่มมากขึ้น 89.24% อันดับ 2 บุคลากรทางการแพทย์ติดเชื้อโควิด-19/คนทำงานไม่เพียงพอ 81.08% อันดับ 3 สถานประกอบการ/ร้านค้า ปิดกิจการ คนตกงาน ว่างงาน 77.71% อันดับ 4 การฉีดวัคซีนล่าช้า วัคซีนไม่มีประสิทธิภาพ 75.75% อันดับ 5 ควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ไม่ได้ 73.45% 5. ประชาชนคิดว่าประเทศไทยควรทำอย่างไร จึงจะฝ่าวิกฤติโควิด-19 ได้ อันดับ 1 รัฐบาลต้องจริงใจ ไม่แสวงหากำไรจากประชาชน 78.47% อันดับ 2 ฉีดวัคซีนที่มีประสิทธิภาพให้บุคลากรทางการแพทย์โดยเร็ว 76.70% อันดับ 3 จัดหาวัคซีนที่มีประสิทธิภาพและหลากหลายยี่ห้อให้ประชาชน 75.04% อันดับ 4 มีการตรวจหาเชื้อเชิงรุก กักพื้นที่การแพร่ระบาด 74.69% อันดับ 5 หยุดเล่นเกมการเมือง เปิดโอกาสให้ฝ่ายค้านเข้ามาช่วยกันทำงาน 69.97% 6. ประชาชนคิดว่าประเทศไทยจะผ่านวิกฤติครั้งนี้ไปได้เมื่อไร มากกว่า 2 ปี 36.74% 1 ปี 27.60% 2 ปี 25.93% 6 เดือน 9.73% 7. ประชาชนคิดว่าใคร/หน่วยงานใดที่จะช่วยพาให้ประเทศไทยฝ่าวิกฤติครั้งนี้ไปได้ อันดับ 1 ประชาชนทุกภาคส่วนช่วยกัน 36.15% อันดับ 2 นายกรัฐมนตรี 17.03% อันดับ 3 กระทรวงสาธารณสุข 10.61% อันดับ 4 ตนเอง 9.77% อันดับ 5 กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ 9.71% *หมายเหตุ ผู้ตอบสามารถระบุความคิดเห็นได้มากกว่า 1 เรื่อง (ค่าร้อยละจึงคำนวณในแต่ละข้อ) สรุปผลการสำรวจ : คนไทยในยุควิกฤติ โควิด-19 สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณี ?คนไทยในยุควิกฤติ โควิด-19? กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,702 คน สำรวจระหว่างวันที่ 5-15 กรกฎาคม 2564 พบว่า ประชาชนยังไม่ได้ฉีดวัคซีน ร้อยละ 49.35 โดยกลุ่มที่ฉีดวัคซีนแล้วเข็มที่ 1 เป็นแอสตร้าเซนเนก้า อยากฉีดเข็มที่ 2-3 เป็นแอสตร้าเซนเนก้า ร้อยละ 41.86 ไฟเซอร์ ร้อยละ 25.39 ส่วนกลุ่มที่ฉีดเข็มที่ 1 เป็นซิโนแวค อยากฉีดเข็มที่ 2-3 เป็น ไฟเซอร์ ร้อยละ 30.07 โมเดอร์นา ร้อยละ 26.09 ทั้งนี้มองว่าสถานการณ์โควิด-19 ณ วันนี้วิกฤติมาก ร้อยละ 60.93 เพราะยอดผู้ติดเชื้อ ผู้เสียชีวิตเพิ่ม มากขึ้น ร้อยละ 89.24 วิธีการที่จะทำให้ฝ่าวิกฤติไปได้ คือ รัฐบาลต้องจริงใจ ไม่แสวงหากำไรจากประชาชน ร้อยละ 78.47 และคิดว่าจะผ่านวิกฤติครั้งนี้ต้องใช้เวลามากกว่า 2 ปี ร้อยละ 36.74 โดยประชาชนทุกภาคส่วนช่วยกัน ร้อยละ 36.15 องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ออกมาเตือนว่าสถานการณ์โควิด-19 นั้นยังห่างไกลจุดจบ โลกอาจจะต้องเผชิญกับการกลายพันธุ์ของไวรัส ส่วนในประเทศไทยเองก็ได้มีการเรียกร้องให้ฉีดวัคซีนชนิด mRNA ให้กับบุคลากรด่านหน้า และเร่งฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับประชาชนโดยเร็ว แต่ด้วยยังไม่มีวัคซีนให้ฉีด โคแวกซ์ (COVAX) ก็ไม่ได้เข้าร่วม การเจรจาเพื่อต่อรองนำเข้าวัคซีนก็ยังไม่เห็นความชัดเจน จำนวนผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตจำนวนมากขึ้นโดยยังไม่มีแนวโน้มว่าจะลดลง สะท้อนให้เห็นว่าคนไทยอยู่ใน ?ยุควิกฤติโควิด-19? นั้นไม่เกินจริง
นางสาวพรพรรณ บัวทอง นักวิจัย สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โทร 086-3766533
ในวันนี้สิ่งที่เราจำเป็นต้องคำนึงถึงคือ การเพิ่มภูมิคุ้มกันหมู่ให้ประเทศ ผู้ที่รับวัคซีนย่อมมีภูมิคุ้มกันมากกว่าคนที่ไม่ได้รับวัคซีน ดังตัวอย่างประเทศจีนที่ทำประสบความสำเร็จมาแล้ว ขอให้ประชาชนยังไม่ได้รับวัคซีนลงทะเบียนและรับวัคซีนตามนัดหมาย ส่วนคนที่รับวัคซีนเข็มที่ 1 แล้วต้องการจะรับวัคซีนต่างชนิดนั้น ต้องคำนึงถึงระยะเวลาและวัคซีน ที่ต้องการ อาจต้องจัดสรรให้กลุ่มเสี่ยงก่อน เมื่อดูถึงยอดตัวเลขติดเชื้อเพิ่มขึ้นในวันนี้พบว่าขึ้นถึงหลักหมื่น และบุคลากรทางการแพทย์ติดเชื้อโควิด-19 ทำให้ขาดกำลังหลักในการทำงาน เรียกได้ว่าประเทศไทยอยู่ในสภาวะวิกฤติแล้ว ส่วนยอด ผู้ติดเชื้อจะถึงหลักแสนหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับประชาชนคนไทยทุกคน ไม่ว่าจะเป็นการแก้ไขปัญหาของภาครัฐ ภาคเอกชน รวมทั้งทุกคนในชาติ ต้องร่วมแรงร่วมใจกันจึงจะผ่านวิกฤติครั้งนี้ไปได้ ในอดีตเราเคยมีการสู้รบระหว่างประเทศ แต่ปัจจุบันการสู้รบครั้งนี้เรามีศัตรูเดียวกันคือโควิด-19 เราต้องช่วยกันจึงจะก้าวผ่านวิกฤติครั้งนี้ไปด้วยกันได้อย่างแน่นอน ดร.กวิตา ปานล้ำเลิศ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานวิทยาเขตสุพรรณบุรี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
ที่มา: สวนดุสิตโพล