สวนดุสิตโพล: ข่าวสารในช่วงวิกฤติโควิด-19

ข่าวผลสำรวจ Tuesday July 27, 2021 08:06 —สวนดุสิตโพล

/

ในภาวะวิกฤติโควิด-19 นี้ประชาชนต่างก็ต้องการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่ทันต่อเหตุการณ์ เมื่อมีข้อมูลจำนวนมากและมาจากหลากหลายแหล่ง จึงทำให้เกิดความสับสนและวิตกกังวลตามมา เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณี ?ข่าวสารในช่วงวิกฤติ โควิด-19? สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,619 คน (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 19-22 กรกฎาคม 2564 สรุปผลได้ ดังนี้
1. ข้อมูลข่าวสารในช่วงวิกฤติโควิด-19 เรื่องใดที่ประชาชนสนใจ
อันดับ 1          ประสิทธิภาพของวัคซีน และอาการข้างเคียง           72.41%
อันดับ 2          มาตรการของภาครัฐในพื้นที่ควบคุม พื้นที่เสี่ยง              71.23%
อันดับ 3          สถานที่รองรับผู้ป่วย โรงพยาบาลสนาม จำนวนเตียง          68.38%
อันดับ 4          วิธีการรักษาโควิด-19 ผลการศึกษาวิจัย           62.49%
อันดับ 5          วิธีสังเกตอาการโควิด-19 การดูแลสุขภาพ           61.25%






2. ในช่วงวิกฤตินี้ ประชาชนเลือกเชื่อถือข้อมูลจากแหล่งใด
อันดับ 1          แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์          65.30%
อันดับ 2          ผู้ที่น่าเชื่อถือ เช่น นักวิชาการ นักวิจัย ผู้เชี่ยวชาญ อินฟลูเอนเซอร์          59.75%
อันดับ 3          สื่อโซเชียล เช่น เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ อินสตาแกรม                 46.98%




3. ในช่วงวิกฤติโควิด-19 ประชาชนรู้สึกอย่างไรกับข้อมูลข่าวสารในช่วงนี้
    สับสนมาก 43.99%          ค่อนข้างสับสน 40.75%           ไม่สับสน 15.26%
4. ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโควิด-19 เรื่องใดที่ทำให้ประชาชนสับสน
อันดับ 1          การบริหารจัดการวัคซีนของรัฐบาล การจอง-เลื่อนฉีดวัคซีน          74.61%
อันดับ 2          การฉีดวัคซีนแบบสลับยี่ห้อ วัคซีนเข็มที่ 3                       73.11%
อันดับ 3          ความปลอดภัย ประสิทธิภาพ อาการข้างเคียงของวัคซีน          72.23%
อันดับ 4          การล็อกดาวน์ ปิดสถานประกอบการ การเยียวยา          66.23%
อันดับ 5          การควบคุมพื้นที่ การเดินทางเข้า-ออกแต่ละจังหวัด              55.53%






5. สิ่งที่ประชาชนปฏิบัติเมื่อได้รับข้อมูลข่าวสารในช่วงวิกฤติโควิด-19
อันดับ 1          ดูแลตัวเองมากขึ้น                          90.78%
อันดับ 2          ดูแลคนในครอบครัวมากขึ้น                      81.07%
อันดับ 3          หลีกเลี่ยงการออกนอกบ้าน การพบปะผู้คน          79.95%
อันดับ 4          หาข้อมูลในการป้องกันตนเองและคนรอบข้างจากโควิด-19          59.84%
อันดับ 5          หาช่องทางในการได้รับวัคซีน                      46.82%







6. จากการติดตามข้อมูลข่าวสารในช่วงวิกฤติโควิด-19 ประชาชนมีความวิตกกังวลในระดับใด
อันดับ 1          วิตกกังวลมาก จนเริ่มรบกวนชีวิตประจำวัน          36.34%
อันดับ 2          วิตกกังวลในระดับปานกลาง/เป็นระยะ ๆ          30.31%
อันดับ 3          วิตกกังวลมากที่สุดจนเกิดพฤติกรรมย้ำคิดย้ำทำและหวาดกลัว (panic)          22.17%
อันดับ 4          วิตกกังวลเล็กน้อย                      9.07%
อันดับ 5          ไม่กังวลเลย                        2.11%






*หมายเหตุ   ผู้ตอบสามารถระบุความคิดเห็นได้มากกว่า 1 เรื่อง (ค่าร้อยละจึงคำนวณในแต่ละข้อ)







สรุปผลการสำรวจ : ข่าวสารในช่วงวิกฤติโควิด-19

           สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณี ?ข่าวสารในช่วงวิกฤติ                 โควิด-19? กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,619 คน ระหว่างวันที่ 19-22 กรกฎาคม 2564 พบว่า ประชาชนสนใจข่าวประสิทธิภาพของวัคซีนและอาการข้างเคียงมากที่สุด ร้อยละ 72.41 เลือกเชื่อถือข้อมูลจากแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ ร้อยละ 65.30 ข้อมูลข่าวสารทำให้รู้สึกสับสนมาก ร้อยละ 43.99 โดยสับสนข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารจัดการวัคซีนของรัฐบาล  การจองและเลื่อนฉีดวัคซีนมากที่สุด ร้อยละ 74.61 เมื่อได้รับข้อมูลข่าวสารจะดูแลตัวเองมากขึ้น ร้อยละ 90.78 และภาพรวมเมื่อรับรู้ข้อมูลข่าวสารแล้วรู้สึกวิตกกังวลมากจนเริ่มรบกวนชีวิตประจำวัน ร้อยละ 36.34

ในขณะที่พรบ.คอมพิวเตอร์กำหนดบทลงโทษที่ไม่น้อย หากมีการแชร์หรือโพสต์ข้อความผิดกฎหมาย แต่ประชาชนก็ยังมีความเชื่อถือข้อมูลจากแหล่งสื่อโซเชียลมากขึ้น ถึงแม้ว่าการรับรู้ข้อมูลจำนวนมากเหล่านั้นจะทำให้เกิดความสับสนหรือวิตกกังวลอย่างมากตามมาก็ตาม ประเด็นนี้สะท้อนให้เห็นว่าการบริหารจัดการข้อมูลของภาครัฐนั้นยังไม่ตรงใจประชาชน การสื่อสารที่ล่าช้าและเปลี่ยนแปลงข้อมูลไปมาจึงเป็นจุดอ่อนหลักที่รัฐบาลต้องเร่งแก้ไขโดยเร็ว

นางสาวพรพรรณ บัวทอง นักวิจัย สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โทร 086-3766533

ในช่วงที่ผ่านมารัฐบาลได้มีนโยบายบริหารจัดการวัคซีนที่เป็นสูตรผสมระหว่าง Sinovac เข็มที่ 1 กับ AstraZeneca เข็มที่ 2 รวมถึงได้ออกมาตรการควบคุมสูงสุดในจังหวัดที่มีการแพร่ระบาดสูง จากผลการสำรวจประชาชนจึงให้ความสนใจเกี่ยวกับวัคซีนและมาตรการของภาครัฐ โดยพบว่าประชาชนสับสนกับข้อมูลข่าวสารในช่วงนี้จนทำให้                 มีความรู้สึกวิตกกังวล เมื่อรัฐบาลบริหารงานแบบรวมอำนาจที่นายกรัฐมนตรี การให้ข่าวสารก็ควรมาจากคณะกรรมการ ชุดใหญ่เพียงเท่านั้น โดยมีกรมสุขภาพจิตเข้ามามีบทบาทช่วยในการรับมือภาวะความเครียดและการวิตกกังวลของประชาชน มิเช่นนั้นอาจมีปัญหาด้านสุขภาพจิตและส่งผลถึงการฆ่าตัวตายที่สูงขึ้นตามมา
เมื่อได้รับข้อมูลข่าวสารแล้วประชาชนต้องดูแลตัวเองมากขึ้น ยิ่งตอกย้ำถึงความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อการบริหารจัดการของภาครัฐ ดังนั้นรัฐบาลจึงควรมีมาตรฐานในการสื่อสารให้ประชาชนเชื่อมั่นว่ามีระบบที่พร้อมดูแลช่วยเหลือในช่วงวิกฤติโรคระบาดในครั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์เองก็ต้องเข้ามามีบทบาทและเอาจริงเอาจังกับการควบคุมราคาสินค้า เพื่อไม่ให้เป็นการซ้ำเติมประชาชนในช่วงสภาวะวิกฤติในปัจจุบัน

รองศาสตราจารย์ ดร.ชนะศึก นิชานนท์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

ที่มา: สวนดุสิตโพล


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ