การระบาดของโควิด-19 ที่รุนแรงและยาวนาน สร้างความเสียหายต่อธุรกิจท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก ขณะที่โครงการภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์นำร่องท่องเที่ยวยังประสบปัญหา มาตรการล็อกดาวน์กระทบต่อการเดินทางข้ามจังหวัด คนทำงานท่องเที่ยวตกงานจำนวนมาก ปัญหาเหล่านี้ทำให้หลายฝ่ายกังวลว่าเป้าหมายการท่องเที่ยวที่ตั้งไว้จะเป็นไปได้หรือไม่ เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชน ?สวนดุสิตโพล?มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,195 คน (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 2-5 สิงหาคม 2564 สรุปผลได้ ดังนี้
อันดับ 1 ผลกระทบจากโควิด-19 ทำให้สูญเสียรายได้มหาศาล 88.55% อันดับ 2 นักท่องเที่ยวต่างชาติไม่กล้ามาไทย เพราะยังมียอดผู้ติดเชื้อสูง 82.83% อันดับ 3 ผู้ประกอบการขาดเงินทุน สภาพคล่อง คนตกงาน 75.34% อันดับ 4 ขาดแผนรองรับเมื่อเผชิญกับโควิด-19 ที่ชัดเจน 59.09% อันดับ 5 โครงการภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์นำร่องท่องเที่ยวประสบปัญหา 56.73% 2. ประชาชนคิดว่าภาครัฐควรดำเนินการอย่างไร เพื่อให้การท่องเที่ยวเดินหน้าต่อไปได้ อันดับ 1 มีแผนป้องกันและควบคุมโควิด-19 ให้ได้เร็วที่สุด 94.20% อันดับ 2 สร้างความเชื่อมั่นให้นักท่องเที่ยว ปลอดภัยจากโควิด-19 75.69% อันดับ 3 ปูพรมฉีดวัคซีนที่มีประสิทธิภาพในพื้นที่ท่องเที่ยวโดยเร็ว 66.27% อันดับ 4 กระตุ้นตลาดท่องเที่ยว เน้นนักท่องเที่ยวกลุ่มใหม่ที่มีศักยภาพสูง 58.62% อันดับ 5 ตั้งกองทุนช่วยเหลือ เยียวยา ปรับโครงสร้างหนี้ 56.43% 3. ในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี (ต.ค.-ธ.ค.64) หากสถานการณ์โควิด-19 ดีขึ้น ประชาชนพร้อมจะเดินทางท่องเที่ยวในประเทศหรือไม่ พร้อม 37.99% ไม่พร้อม 35.65% ไม่แน่ใจ 26.36% 4. ภาครัฐควรมีมาตรการอย่างไร เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนออกเดินทางท่องเที่ยวในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี (ต.ค.-ธ.ค.64) อันดับ 1 มีมาตรฐานความปลอดภัยด้านสาธารณสุขในพื้นที่ท่องเที่ยว 82.48% อันดับ 2 มีมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยว เช่น ช่วยค่าใช้จ่าย คนละครึ่ง 76.83% อันดับ 3 ฟรีประกันคุ้มครองการเดินทาง ประกันโควิด-19 71.27% อันดับ 4 ผู้ประกอบการจัดโปรโมชั่น มีส่วนลด แพ็คเกจพิเศษ 58.38% อันดับ 5 มีส่วนลดค่าตั๋วเครื่องบิน รถสาธารณะ ค่าน้ำมัน 52.57% 5. ประชาชนคิดว่าการที่รัฐบาลตั้งเป้าหมายรายได้จากการท่องเที่ยว ปี 2564 ทั้งในและต่างประเทศไว้ที่ 8.5 แสนล้านบาท เป็นไปได้มากน้อยเพียงใด ไม่น่าจะเป็นไปได้ 52.16% เป็นไปไม่ได้แน่นอน 27.39% น่าจะเป็นไปได้ 17.15% เป็นไปได้แน่นอน 3.30% *หมายเหตุ ผู้ตอบสามารถระบุความคิดเห็นได้มากกว่า 1 เรื่อง (ค่าร้อยละจึงคำนวณในแต่ละข้อ) สวนดุสิตโพล สรุปผลการสำรวจ : กู้วิกฤติท่องเที่ยวไทย สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณี ?กู้วิกฤติท่องเที่ยวไทย? กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,195 คน ระหว่างวันที่ 2-5 สิงหาคม 2564 พบว่า ประชาชนมองว่าปัญหาใหญ่การท่องเที่ยว ณ วันนี้ คือ โควิด-19 ทำให้สูญเสียรายได้มหาศาล ร้อยละ 88.55 ภาครัฐควรมีแผนป้องกันและควบคุมโควิด-19 ให้ได้ เร็วที่สุด ร้อยละ 94.20 ในช่วงสิ้นปีหากสถานการณ์ดีขึ้น ประชาชนพร้อมจะเดินทางท่องเที่ยว ร้อยละ 37.99 และไม่พร้อม ร้อยละ 35.65 หากจะกระตุ้นให้ประชาชนเดินทางท่องเที่ยว ภาครัฐจะต้องมีมาตรฐานความปลอดภัยด้านสาธารณสุข ในพื้นที่ท่องเที่ยว ร้อยละ 82.48 และคิดว่าการตั้งเป้าหมายรายได้ท่องเที่ยว 8.5 แสนล้านบาทนั้นไม่น่าจะเป็นไปได้ ร้อยละ 52.16 แม้ภาครัฐจะหั่นเป้าหมายรายได้การท่องเที่ยวเหลือเพียง 8.5 แสนล้านบาท แต่ประชาชนก็มองว่าไม่น่าจะเป็นไปได้ เพราะจำนวนผู้ติดเชื้อในประเทศที่พุ่งสูงขึ้นต่อเนื่อง รวมไปถึงการเกิดคดีฆาตกรรมนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในพื้นที่ ก็อาจส่งผลต่อการตัดสินใจเดินทางของนักท่องเที่ยว ส่วนโครงการภูเก็ตแซนด์บอกซ์ที่ครบรอบ 1 เดือน มีนักท่องเที่ยวหลักหมื่นคน รายได้สะพัดราว 1 พันล้านบาท ซึ่งนับว่าต่ำกว่าเป้าที่ตั้งไว้ จึงกลายเป็นโจทย์ที่ท้าทายไม่น้อยว่าประเทศที่เคยมีรายได้จากการท่องเที่ยวเป็นหลักจะแก้ปัญหาอย่างไรต่อไป
นางสาวพรพรรณ บัวทอง นักวิจัย สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โทร 086-3766533
ประชาชนคิดว่าปัญหาด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการคือการสูญเสียรายได้มหาศาล เพราะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการคือรายได้หลักที่ประชาชนคนไทยอยู่ในอุตสาหกรรมนี้ ประเทศไทยมีพร้อมด้านบริการทุกด้าน ธรรมชาติ อาหาร วัฒนธรรม และเสน่ห์ไทยเรายืนหนึ่งในภูมิภาค ประชาชนจึงอยากให้ภาครัฐมีแบบแผนป้องกันโควิด-19 ที่ชัดเจนและด่วนที่สุด Lockdown แบบเจ็บแล้วจบ ไม่ยืดเยื้อ ให้วัคซีนเข้าถึงทุกคน รักษาระยะห่าง และให้ความรู้ โดยทุกคนต้องร่วมมือกันช่วยกัน ในช่วงไตรมาส 4 ของปี ประชาชนพร้อมที่จะท่องเที่ยวในประเทศไทย 37.99% เพราะ การอยู่กับบ้านเจอกับโควิด-19 มา 2 ปี จึงอยากไปผ่อนคลาย ภาครัฐจึงควรมีมาตรฐานความปลอดภัยด้านสาธารณสุขในพื้นที่ท่องเที่ยว มีวัคซีนที่มีคุณภาพ ให้ความรู้และให้ประชาชนตระหนักถึงโรคที่จะเกิดขึ้นจากการพัฒนาสายพันธุ์ตลอดเวลา ถ้าภาครัฐและประชาชนร่วมด้วยช่วยกัน ทุกภาคส่วนมีความเข้มแข็งเราจะ?กู้วิกฤตท่องเที่ยวไทย? ได้แน่นอน ดร.ชนินทร์ ต่วนชะเอม ที่ปรึกษาคณบดีคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
ที่มา: สวนดุสิตโพล