สถานการณ์โควิด-19 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศอย่างรุนแรง ประชาชนต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิตและระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น ส่งผลให้มีพฤติกรรมการใช้จ่ายที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชน ?สวนดุสิตโพล?มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,274 คน (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 16-19 สิงหาคม 2564 สรุปผลได้ ดังนี้ 1. การใช้จ่ายของประชาชน ณ วันนี้ เปรียบเทียบกับก่อนมีโควิด-19 เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 40.22% ใช้จ่ายลดลง 33.60% ใช้จ่ายเท่าเดิม 26.18% 2. ปัจจุบัน ประชาชนนำเงินจากช่องทางใดมาใช้จ่าย อันดับ 1 รายได้จากการทำงานหลักและงานเสริม 83.57% อันดับ 2 นำเงินออมออกมาใช้ 46.78% อันดับ 3 มาตรการช่วยเหลือจากภาครัฐ เช่น คนละครึ่ง เงินเยียวยา 44.34% อันดับ 4 รูดบัตรเครดิต กดบัตรเงินสด รถแลกเงิน บ้านแลกเงิน 26.26% อันดับ 5 หยิบยืมญาติ คนรู้จัก พี่น้อง 25.31% 3. สำหรับประชาชนที่มีเงินออม ในช่วงนี้มีการนำเงินออมมาใช้มากน้อยเพียงใด อันดับ 1 ใช้ไปบ้างบางส่วน 42.63% อันดับ 2 ใช้ไปเกือบหมดแล้ว 19.36% อันดับ 3 ใช้ไปกว่าครึ่ง 15.15% อันดับ 4 ใช้ไปหมดแล้ว 12.64% อันดับ 5 ไม่ได้นำเงินออมมาใช้ 10.22% 4. ในช่วงโควิด-19 รูปแบบการใช้จ่ายของประชาชนเป็นอย่างไร อันดับ 1 ลดการซื้อสินค้าฟุ่มเฟือย วางแผนการใช้จ่ายอย่างรัดกุม 80.44% อันดับ 2 ซื้อสินค้าทีละจำนวนมาก กักตุนสินค้าจำเป็น 57.49% อันดับ 3 ซื้อสินค้าที่ราคาประหยัดกว่า ซื้อช่วงจัดโปรโมชั่น 56.47% อันดับ 4 สั่งซื้อของผ่านทางออนไลน์ 53.71% อันดับ 5 ซื้อสินค้าจากร้านที่เข้าร่วมมาตรการรัฐ เช่น คนละครึ่ง เราชนะ 53.08% 5. ประชาชนอยากให้รัฐบาลช่วยเหลือเรื่องการใช้จ่ายของประชาชน ณ วันนี้ อย่างไร อันดับ 1 ลดค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าอินเทอร์เน็ต ค่าน้ำมัน 86.41% อันดับ 2 ลดภาระค่าครองชีพ ควบคุมราคาสินค้า 76.86% อันดับ 3 มีมาตรการเยียวยาประชาชนแบบทั่วถึงทุกคน 71.64% อันดับ 4 พักชำระหนี้ ลดดอกเบี้ย 61.85% อันดับ 5 จำหน่ายสินค้าราคาประหยัดในพื้นที่ต่างๆ 51.82% 6. ในยุคโควิด-19 จากสภาพการใช้จ่าย ณ วันนี้ ประชาชนคาดว่าจะประคองตัวเองต่อไปได้อีกประมาณเท่าใด ไม่เกิน 3 เดือน 37.37% 3 ? 6 เดือน 30.32% 6 เดือน ? 1 ปี 19.68% 1 ? 2 ปี 12.63% *หมายเหตุ ผู้ตอบสามารถระบุความคิดเห็นได้มากกว่า 1 เรื่อง (ค่าร้อยละจึงคำนวณในแต่ละข้อ) สรุปผลการสำรวจ : การใช้จ่ายของคนไทยในยุคโควิด-19 สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณี การใช้จ่ายของคนไทย ในยุคโควิด-19 กลุ่มตัวอย่าง 1,274 คน ระหว่างวันที่ 16-19 สิงหาคม 2564 พบว่า ในช่วงโควิด-19 ประชาชนใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ร้อยละ 40.22 นำเงินจากการทำงานมาใช้ ร้อยละ 83.57 เงินออมที่มีอยู่ใช้ไปบ้างแล้วบางส่วน ร้อยละ 42.63 รูปแบบการใช้จ่ายในช่วงโควิด-19 คือ ลดการซื้อสินค้าฟุ่มเฟือย ร้อยละ 80.44 โดยอยากให้รัฐบาลช่วยเรื่องลดค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าอินเทอร์เน็ต ค่าน้ำมัน ร้อยละ 86.41 และจากสภาพการใช้จ่ายตอนนี้คิดว่าจะประคองตัวเองต่อไปได้อีกประมาณ 3 เดือน ร้อยละ 37.37
ถึงแม้ว่าในช่วงโควิด-19 ประชาชนจะประหยัดและวางแผนการใช้จ่ายอย่างรัดกุม แต่ก็ยังต้องนำเงินออมออกมาใช้ เพราะโควิด-19 ทำให้มีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น อีกทั้งสถานการณ์ว่างงาน ตกงาน และเศรษฐกิจตกต่ำก็ทำให้ประชาชนไม่มีกำลังการบริโภคภายในประเทศมากนัก ทั้งนี้ประชาชนมองว่าจะประคองตัวเองต่อไปได้อีกไม่เกิน 3 เดือนเท่านั้น รัฐบาลจึงต้องเร่งแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจ มีมาตรการช่วยเหลือค่าใช้จ่ายที่จำเป็นและลดค่าครองชีพเพื่อช่วยเหลือประชาชนโดยเร็ว
นางสาวพรพรรณ บัวทอง นักวิจัย สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โทร 086-3766533
จากผลการสำรวจการใช้จ่ายของคนไทยในยุคโควิด-19 พบว่ากำลังเข้าสู่ยุคของ ?Transformation? เพื่อเข้าสู่ยุค ?ความปกติถัดไป (Next Normal)? ซึ่งทำให้ประชาชนมีการ ?ปรับตัว ปรับใจ ปรับการใช้ชีวิต? ซึ่งจะต้องอยู่บนพื้นฐานของ ?ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง? เริ่มจากการปรับตัวด้วย ?ความมีเหตุผล? ในการใช้จ่ายควรจะต้องลด ละ เลิก ซื้อสิ่งที่ไม่จำเป็นในชีวิตลง วางแผนการใช้จ่ายอย่างรัดกุมมากขึ้น เน้นความประหยัดและคุ้มค่า ปรับใจให้มีความ ?พอประมาณ? มีความสุขและพอใจกับสิ่งที่มี ให้ความสำคัญกับความสุขใจและสุขภาพที่ดีบนพื้นฐานของการแบ่งปันและเอื้ออาทรซึ่งกัน และกัน มีการปรับการใช้ชีวิตในยุคปกติถัดไป (Next Normal) ด้วยการ ?สร้างภูมิคุ้มกัน? โดยมีการวางแผนการออมเงิน ลดการสร้างภาระหนี้สินที่ไม่จำเป็น มีเงินสำรองสำหรับสถานการณ์ฉุกเฉิน สร้างรายได้มากกว่าหนึ่งอาชีพ พร้อมกับมีการพัฒนาตนเองเพื่อให้ทันและรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในทุกสถานการณ์เพื่อสามารถใช้ชีวิตอย่างมี ?ความสุข สงบ เย็น เป็นประโยชน์?
รองศาสตราจารย์ ดร.พรรณี สวนเพลง
อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต