สวนดุสิตโพล: “สมุนไพรไทย” ในสายตาคนไทย

ข่าวผลสำรวจ Monday September 20, 2021 08:23 —สวนดุสิตโพล

ในช่วงโควิด-19 สมุนไพรไทยได้รับความสนใจและเป็นที่นิยมมากขึ้น เช่น ฟ้าทะลายโจร กระชายขาว ขมิ้นชัน ฯลฯ เพราะมีความเชื่อว่าอาจจะสามารถสร้างภูมิคุ้มกันต้านโรคได้ เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชน ?สวนดุสิตโพล?มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,428 คน (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 13-16 กันยายน 2564 สรุปผลได้ ดังนี้

1. ?5 อันดับ? สมุนไพรไทยที่ประชาชนส่วนใหญ่รู้จัก
อันดับ 1          กระเทียม          92.96%
อันดับ 2          ตะไคร้            92.89%
อันดับ 3          ฟ้าทะลายโจร          92.61%
อันดับ 4          ขิง          92.12%
อันดับ 5          พริกไทย          90.01%

2. ประชาชนมีความรู้เรื่อง ?สมุนไพรไทย? มากน้อยเพียงใด
           พอรู้บ้าง 82.22%           รู้เป็นอย่างดี 12.42%             ไม่รู้ 5.36%

3. การระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ประชาชนมีความรู้เรื่อง ?สมุนไพรไทย? เพิ่มขึ้นหรือไม่
           เพิ่มขึ้น 86.24%             ไม่เพิ่มขึ้น 13.76%

4. ประชาชนเชื่อหรือไม่ว่า ?สมุนไพรไทย? ใช้สร้างภูมิคุ้มกันต้านโรคได้
           เชื่อ 59.48%                 พอเชื่อบ้าง 37.63%              ไม่เชื่อ 2.89%

5. ประชาชนเชื่อหรือไม่ว่า ?ฟ้าทะลายโจร? ใช้รักษาโรคโควิด-19 ได้
          พอเชื่อบ้าง 45.39%          เชื่อ 43.56%           ไม่เชื่อ 11.05%

6. ประชาชนอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ ?สมุนไพรไทย? ดำเนินการอย่างไรบ้าง
อันดับ 1          ให้ข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์และโทษ                     83.35%
อันดับ 2          บอกสรรพคุณที่ชัดเจนของสมุนไพร                   80.82%
อันดับ 3          ให้ความรู้ สร้างความเข้าใจให้กับประชาชน           79.34%
อันดับ 4          มีการทดลอง มีผลการวิจัยรองรับ                   75.05%
อันดับ 5          แจ้งวิธีการใช้ที่ถูกต้อง เข้าใจง่าย           67.74%

*หมายเหตุ   ผู้ตอบสามารถระบุความคิดเห็นได้มากกว่า 1 เรื่อง (ค่าร้อยละจึงคำนวณในแต่ละข้อ)


สรุปผลการสำรวจ : ?สมุนไพรไทย? ในสายตาคนไทย

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณี ?สมุนไพรไทย? ในสายตาคนไทย กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,428 คน สำรวจระหว่างวันที่ 13-16 กันยายน 2564 พบว่า สมุนไพรที่ส่วนใหญ่รู้จัก คือ กระเทียม ร้อยละ 92.96 รองลงมาคือ ตะไคร้ ร้อยละ 92.89 และฟ้าทะลายโจร ร้อยละ 92.61 โดยประชาชนพอจะมีความรู้เรื่องสมุนไพรไทยบ้าง ร้อยะ 82.22  จากการระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้มีความรู้เรื่องสมุนไพรเพิ่มขึ้น ร้อยละ 86.24 และเชื่อว่าสมุนไพรสร้างภูมิคุ้มกันต้านโรคได้ ร้อยละ 59.48 ทั้งนี้ร้อยละ 45.39 พอเชื่อบ้างว่าฟ้าทะลายโจรใช้รักษาโรค                      โควิด-19 ได้ สิ่งที่อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ คือ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์และโทษ ร้อยละ 83.35 และบอกสรรพคุณที่ชัดเจนของสมุนไพร ร้อยละ 80.82

สมุนไพรไทยเป็นที่ต้องการทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศใช้ในอุตสาหกรรมยา อาหารเสริม เครื่องสำอาง และธุรกิจสปา เป็นต้น โดยผลโพลพบว่ากลุ่มคนอายุ 40 ปีขึ้นไปนั้นมีความสนใจเรื่องสมุนไพรมากกว่ากลุ่มอื่น ๆ อีกด้วย จึงนับเป็นโอกาสทองของอุตสาหกรรมสมุนไพรไทยที่จะส่งเสริมและเร่งพัฒนาให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคให้มากยิ่งขึ้น

นางสาวพรพรรณ บัวทอง นักวิจัย สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โทร 086-3766533

สมุนไพรไทยมีหลากหลายชนิด นำมาใช้ประกอบอาหารทำให้มีรสชาติและกลิ่นที่น่ารับประทาน เช่น กระเทียม ตะไคร้ หอมแดง กระเพรา ขิง ขมิ้น และอื่นๆ ซึ่งคนไทยบริโภคเป็นประจำ แต่ไม่รู้สรรพคุณทางยาของสมุนไพร การระบาดของโรคโควิด-19 ครั้งนี้ ช่วยทำให้คนไทยหันมาสนใจสมุนไพรมากขึ้น เห็นได้จากผลสำรวจของสวนดุสิตโพล การระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้คนไทยมีความรู้เรื่องสมุนไพรเพิ่มขึ้น และมีความต้องการใช้สมุนไพรเพิ่มอย่างมาก จนทำให้                  ฟ้าทะลายโจรขาดตลาดในช่วงที่ผ่านมา  การระบาดของโรคโควิด-19 เกิดขึ้นทั่วโลก จึงมีทั้งคนไทยและคนต่างชาติ                         ที่ต้องการยารักษาโรคได้ สมุนไพรเป็นทางเลือกในการค้นหายาตัวใหม่ที่ใช้รักษาโรค ดังนั้น ภาครัฐและเอกชนควรเร่ง                   ในการส่งเสริมการพัฒนายาจากสมุนไพรอย่างครบวงจร นอกจากนี้สมุนไพรยังสามารถถูกแปรรูปเป็นอาหารเสริม                        ผลิตประเภทเครื่องดื่ม และผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางหรือเวชสำอาง ซึ่งเป็นการต่อยอดเชิงพาณิชย์ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ

รองศาสตราจารย์ ดร.ทัศนีย์ พาณิชย์กุล

ประธานกรรมการบริหารหลักสูตรวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โทร 085-1994988

ที่มา: สวนดุสิตโพล

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ