สวนดุสิตโพล: ภัยสังคมในยุคโควิด-19

ข่าวผลสำรวจ Monday September 27, 2021 08:16 —สวนดุสิตโพล

ปัญหาภัยสังคม เป็นปัญหาที่มีให้เห็นบ่อยครั้งมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งภัยในรูปแบบออนไลน์ที่มีผู้ได้รับความเดือดร้อนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ประชาชนรู้สึกวิตกกังวลมากขึ้นด้วย เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชน ?สวนดุสิตโพล?มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,172 คน (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 19-23 กันยายน 2564                  สรุปผลได้ ดังนี้

1. เมื่อเปรียบเทียบก่อนมีโควิด-19 กับ ในยุคโควิด-19 ประชาชนคิดว่าความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเป็นอย่างไร?
      แย่ลง 72.78%         เหมือนเดิม 24.40%          ดีขึ้น 2.82%
2. ประชาชนวิตกกังวลกับปัญหาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ณ วันนี้ มากน้อยเพียงใด?
      ค่อนข้างวิตกกังวล 54.46%      วิตกกังวลอย่างมาก 25.56%       ไม่ค่อยวิตกกังวล 16.81%      ไม่วิตกกังวล 3.17%
3. ?ภัยสังคม? เรื่องใดที่ประชาชนคิดว่าน่าเป็นห่วง
อันดับ 1          ภัยจากออนไลน์ เช่น ฉ้อโกง แฮกข้อมูล สแกมเมอร์ พนันออนไลน์ ฯลฯ          68.66%
อันดับ 2          ถูกกดดัน ภาวะซึมเศร้า ฆ่าตัวตาย                 65.24%
อันดับ 3          ข่าวปลอม เฟคนิวส์ในสื่อต่าง ๆ               62.60%
อันดับ 4          ขโมย ปล้น ชิงทรัพย์              59.86%
อันดับ 5          สื่อที่มีเนื้อหารุนแรง เกิดพฤติกรรมการเลียนแบบ                58.58%

4. ประชาชนคิดว่าอะไรที่ส่งผลให้ปัญหาภัยสังคมมีเพิ่มมากขึ้น
อันดับ 1          ปัญหาความยากจน ว่างงาน ชีวิตความเป็นอยู่ลำบาก           89.31%
อันดับ 2          สภาพเศรษฐกิจตกต่ำ                 87.94%
อันดับ 3          การบริหารงานของรัฐบาล รัฐสวัสดิการที่ไม่ทั่วถึง                    79.81%
อันดับ 4          สถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19               71.00%
อันดับ 5          ความเหลื่อมล้ำทางสังคม          57.91%

5. ประชาชนเคยมีประสบการณ์ประสบกับปัญหา ?ภัยสังคม? หรือไม่
       ไม่เคย 65.83%            เคย 34.17%
6. จากสถานการณ์ปัญหาภัยสังคมในปัจจุบัน ทำให้ความรู้สึกไว้เนื้อเชื่อใจผู้อื่นเป็นอย่างไร
       ลดลง 65.90%             เท่าเดิม 29.05%          เพิ่มขึ้น 5.05%
7. ประชาชนคิดว่าควรมีแนวทางการแก้ไขปัญหาภัยสังคมอย่างไรบ้าง
อันดับ 1          เร่งแก้ปัญหาเศรษฐกิจ และความยากจน          85.82%
อันดับ 2          รัฐบาลให้ความสำคัญ กำหนดให้เป็นนโยบายเร่งด่วน                       81.81%
อันดับ 3          ครอบครัวใส่ใจกันและกัน ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมให้มากขึ้น           78.14%
อันดับ 4          กฎหมายเข้มงวด มีบทลงโทษที่เด็ดขาด                 61.49%
อันดับ 5          หน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบเร่งดำเนินการติดตาม ดำเนินคดี          60.55%

*หมายเหตุ   ผู้ตอบสามารถระบุความคิดเห็นได้มากกว่า 1 เรื่อง (ค่าร้อยละจึงคำนวณในแต่ละข้อ)





สรุปผลการสำรวจ : ภัยสังคมในยุคโควิด-19

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณี ?ภัยสังคมในยุคโควิด-19?                     กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,172 คน ระหว่างวันที่ 19-23 กันยายน 2564 พบว่า เมื่อเปรียบเทียบก่อนมีโควิด-19 กับในยุค                        โควิด-19 ประชาชนคิดว่าความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินแย่ลง ร้อยละ 72.78 ค่อนข้างวิตกกังวล ร้อยละ 54.46                        ภัยสังคมที่ประชาชนคิดว่าน่าเป็นห่วงมากที่สุด คือ ภัยจากออนไลน์ ร้อยละ 68.66 โดยมองว่าปัญหาภัยสังคมที่มีเพิ่มมากขึ้น เพราะปัญหาความยากจน ว่างงาน ชีวิตความเป็นอยู่ลำบาก ร้อยละ 89.31 เคยมีประสบการณ์ประสบกับปัญหาภัยสังคม ร้อยละ 34.17 จากภัยสังคมในปัจจุบันทำให้ความรู้สึกไว้เนื้อเชื่อใจผู้อื่นลดลง ร้อยละ 65.90 จึงควรเร่งแก้ปัญหาเศรษฐกิจและความยากจน ร้อยละ 85.82
ปัญหา ?ภัยสังคม? ในปัจจุบันมีผู้ได้รับความเดือดร้อนเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ประชาชนรู้สึกวิตกกังวลและไว้เนื้อเชื่อใจผู้อื่นลดลง ถึงแม้เดิมคนไทยจะมีลักษณะนิสัยมีน้ำใจช่วยเหลือผู้อื่นก็ตาม รัฐบาลจึงควรเร่งแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ               ซึ่งนับว่าเป็นสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา รวมไปถึงประสานความร่วมมือกับหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเร่งแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนโดยเร็ว ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นว่าประชาชนต้องอยู่ในสังคมที่มีภัยรุมเร้ารอบด้าน

นางสาวพรพรรณ บัวทอง นักวิจัย สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โทร 086-3766533

?ภัยสังคมในยุคโควิด-19? เป็นภัยที่มาในรูปแบบที่หลากหลาย สอดคล้องกับบริบทวิถีชีวิตสังคมในยุคไร้พรมแดน มีต้นเหตุมาจากปัจจัยหลักๆ คือ ปัญหาทางสังคม เช่น การเลิกจ้างงาน รายได้ไม่พอกับรายจ่าย ความเป็นอยู่ยากลำบาก พฤติกรรมบริโภคนิยม ก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรมที่พัฒนามาในรูปแบบออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นการแฮกข้อมูล สแกมเมอร์ เฟคนิวส์ ภัยเงียบเหล่านี้เป็นต้นเหตุสำคัญที่ทำให้คุณภาพชีวิตคนไทยต่ำลง ส่งผลให้ชีวิตไม่มีความสุข ซึมเศร้า วิตกกังวล หวาดระแวงจากผู้คนรอบข้าง สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นภัยสังคมที่ต้องเร่งแก้ไข ถึงเวลาแล้วที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือ                 โดยเริ่มจากสถาบันครอบครัวต้องเข้มแข็ง สถาบันการศึกษาต้องสร้างภูมิคุ้มกันเร่งผลิตวัคซีนเพื่อสร้างหลักสูตร ?ทักษะชีวิต?บนฐานรากคุณธรรม ให้กับเยาวชน อย่าลืมว่า ?ถ้าผู้ใหญ่เติบโตจากเด็กที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูมาเป็นอย่างดี ปัญหาภัยสังคม อาชญากรรม การทุจริตคอร์รัปชั่น ก็จะไม่เกิดขึ้นหรือเกิดน้อยลง เป็นการลดปัญหาต่อสังคม ประเทศชาติ?

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วีณัฐ สกุลหอม
คณบดีคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต


ที่มา: สวนดุสิตโพล

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ