จากที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ประกาศว่าตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายนเป็นต้นไป จะเริ่มเปิดรับนักท่องเที่ยว เดินทางเข้าประเทศโดยไม่ต้องกักตัว จนเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณี ?เปิดประเทศ? สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,392 คน (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 11-14 ตุลาคม 2564 สรุปผลได้ ดังนี้ 1. ประชาชนคิดว่าถึงเวลาแล้วหรือยังที่ประเทศไทยจะเปิดรับนักท่องเที่ยวเข้าประเทศโดยไม่ต้องกักตัว ยังไม่ถึงเวลา 60.10% ถึงเวลาแล้ว 39.90% 2. ?5 ปัจจัย? ที่จะช่วยให้เปิดประเทศได้ตามกำหนด อันดับ 1 ฉีดวัคซีนที่มีประสิทธิภาพให้กับประชาชนได้เกิน 70% 74.78% อันดับ 2 คุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ 69.04% อันดับ 3 ความพร้อมทางด้านสาธารณสุข โรงพยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ 68.31% อันดับ 4 มีการตรวจเชิงรุกอย่างสม่ำเสมอ/ตรวจคัดกรองก่อนเข้าสถานที่ต่าง ๆ 66.03% อันดับ 5 สร้างความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยในพื้นที่ท่องเที่ยว เช่น สนามบิน รถสาธารณะ ร้านอาหาร โรงแรม 65.00% 3. ?ข้อจำกัด? ที่ทำให้การเปิดประเทศมีอุปสรรค คือ อันดับ 1 ประชาชนยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนครบถ้วน 71.60% อันดับ 2 อาจเกิดการระบาดภายในประเทศมากขึ้น 70.45% อันดับ 3 อาจเกิดการแพร่เชื้อจากกลุ่มที่เดินทางเข้าประเทศ 66.11% อันดับ 4 กังวลโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ 61.05% อันดับ 5 ขาดแผนรองรับที่ชัดเจน 55.92% 4. ?ผลดี?ของการเปิดประเทศ คือ อันดับ 1 กระตุ้นเศรษฐกิจ/เศรษฐกิจเดินหน้าต่อไปได้ 77.29% อันดับ 2 ประชาชนมีงานทำ/สามารถทำมาหากินได้ 74.74% อันดับ 3 สร้างรายได้ให้กับประเทศและในพื้นที่ท่องเที่ยว 68.07% อันดับ 4 ผู้ประกอบการ ธุรกิจท่องเที่ยวฟื้นตัว 64.17% อันดับ 5 สร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน/ผู้ประกอบการ 57.80% 5. ?ผลเสีย?ของการเปิดประเทศ คือ อันดับ 1 อาจเกิดการติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มสูงขึ้น 83.43% อันดับ 2 ต้องกลับมาล็อกดาวน์อีกครั้ง 74.60% อันดับ 3 กระทบต่อความพร้อมด้านสาธารณสุข เช่น จำนวนเตียง บุคลากรทางการแพทย์ 59.55% อันดับ 4 อาจเกิดการลักลอบเข้าประเทศตามชายแดน 54.85% อันดับ 5 กระทบกับการใช้ชีวิตของประชาชนในประเทศ 48.19% 6. ประชาชนเห็นด้วยหรือไม่กับ ?การเปิดประเทศ? วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 ไม่เห็นด้วย 59.86% เห็นด้วย 40.14% *หมายเหตุ ผู้ตอบสามารถระบุความคิดเห็นได้มากกว่า 1 เรื่อง (ค่าร้อยละจึงคำนวณในแต่ละข้อ) สรุปผลการสำรวจ : เปิดประเทศ 1 พ.ย. 64 สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณี ?เปิดประเทศ 1 พ.ย.64? กลุ่มตัวอย่าง 1,392 คน ระหว่างวันที่ 11-14 ตุลาคม 2564 พบว่า ประชาชนมองว่ายังไม่ถึงเวลาที่จะเปิดประเทศ รับนักท่องเที่ยวโดยไม่ต้องกักตัว ร้อยละ 60.10 ปัจจัยที่จะทำให้เปิดประเทศได้ คือ ต้องฉีดวัคซีนที่มีประสิทธิภาพให้กับประชาชนได้เกิน 70% ร้อยละ 74.78 และมองว่าข้อจำกัดคือ ประชาชนยังไม่ได้รับวัคซีนครบถ้วน ร้อยละ 71.60 ผลดีของการเปิดประเทศคือ กระตุ้นเศรษฐกิจ ร้อยละ 77.29 ผลเสียคือ อาจเกิดการติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มสูงขึ้น ร้อยละ 83.43 และภาพรวมประชาชนไม่เห็นด้วยกับการเปิดประเทศ 1 พ.ย. 2564 ร้อยละ 59.86 จากผลการสำรวจเมื่อพิจารณากลุ่มตัวอย่างจำแนกรายอาชีพ พบว่า กลุ่มอาชีพประกอบธุรกิจเห็นด้วยกับการเปิดประเทศมากที่สุด รองลงมาคือกลุ่มรับจ้าง/ลูกจ้าง ถึงแม้ว่าจะกังวลเรื่องการติดเชื้อใหม่ แต่ก็คาดว่าจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและเกิดการจ้างงานมากขึ้น สร้างความหวังที่จะลืมตาอ้าปากได้ ดังนั้นรัฐบาลจึงควรมีมาตรการรองรับที่ชัดเจน สร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนทั้งด้านสุขภาพและการฟื้นฟูเศรษฐกิจไปพร้อม ๆ กัน
นางสาวพรพรรณ บัวทอง นักวิจัย สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โทร 086-3766533
จากการที่รัฐบาลมีนโยบาย ?เปิดรับนักท่องเที่ยวให้เข้าประเทศไทยได้โดยไม่ต้องกักตัว แต่มีเงื่อนไขว่าจะต้องเดินทางมาจากกลุ่มประเทศที่มีความเสี่ยงต่ำ และต้องได้รับการฉีดวัคซีนครบโดสแล้ว? ถือเป็นความเสี่ยงที่ท้าทายมาก เนื่องจากจำนวนประชากรคนไทยที่ได้รับการฉีดวัคซีนทั่วประเทศแล้วนั้น ยังมีจำนวนตัวเลขเพียงแค่ 50 กว่าเปอร์เซ็นต์เท่านั้น ซึ่งผลสำรวจจากสวนดุสิตโพล พบว่า ประชาชนร้อยละ 60.10 คิดว่ายังไม่ถึงเวลาที่จะเปิดรับนักท่องเที่ยว แต่รัฐบาลมีความจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อที่จะให้ประเทศชาติเดินต่อไปข้างหน้าให้ได้ และกระตุ้นเศรษฐกิจให้มีค่า GDP ที่สูงขึ้น แน่นอนว่าเมื่อการเปิดประเทศเกิดขึ้นจริง ธุรกิจทุกภาคส่วนย่อมต้องมีการขับเคลื่อนไปข้างหน้าซึ่งต้องใช้แรงงานคน มากขึ้น อาจมีการลักลอบเข้าเมืองของคนต่างด้าวที่ผิดกฎหมายได้ รัฐบาลควรทำให้คนเหล่านี้ถูกกฎหมายเพื่อที่จะได้รับการฉีดวัคซีนจากภาครัฐ เพื่อความปลอดภัยของแรงงานต่างด้าวและประชาชนภายในชาติของเราด้วยเช่นเดียวกัน อาจารย์วัลลภ ห่างไธสง รองคณบดี โรงเรียนกฎหมายและการเมือง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ที่มา: สวนดุสิตโพล