/
?ขนมไทย? เป็นอาหารหวานที่อยู่คู่คนไทยมาช้านาน มีมากมายหลายชนิด รสชาติหอมหวาน สีสันสวยงาม และเป็นหนึ่งในเอกลักษณ์วัฒนธรรมไทย เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชน สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,367 คน (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 1-4 พฤศจิกายน 2564 สรุปผลได้ ดังนี้ 1. คนไทยคิดอย่างไรกับ?ขนมไทย? อันดับ 1 มีประวัติยาวนาน เป็นเอกลักษณ์ของไทย 86.16% อันดับ 2 สะท้อนให้เห็นวัฒนธรรมประเพณีไทย 73.87% อันดับ 3 ขั้นตอนการทำมีความปราณีต ละเอียด 67.64% อันดับ 4 รสชาติอร่อย หอมหวาน สีสันสวยงาม 63.18% อันดับ 5 ขนมแต่ละชนิดมีคุณค่า และความหมายที่แตกต่างกัน 62.74% 2. ความชอบ ?ขนมไทย? ค่อนข้างชอบ 42.34% ชอบมาก 38.49% ไม่ค่อยชอบ 15.25% ไม่ชอบ 3.92% 3. การรับประทาน?ขนมไทย? นาน ๆ ครั้ง 45.65% สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง 44.73% ทุกวัน 9.62% 4. ค่าใช้จ่ายในการซื้อ ?ขนมไทย? ต่อครั้ง น้อยกว่า 100 บาท 53.61% 101 - 300 บาท 38.88% 301 - 500 บาท 5.35% 501 บาทขึ้นไป 2.16% 5. ?5 อันดับขนมไทย? ที่คนไทยชื่นชอบ และอยากเรียนทำขนม ที่ ?ขนมไทย? ที่ชื่นชอบ ภาพรวม ที่ ?ขนมไทย? ที่อยากเรียนทำ ภาพรวม 1 ข้าวต้มมัด 53.59% 1 ทองหยอด 22.89% 2 ขนมครก 49.56% 2 ทองหยิบ 21.76% 3 กล้วยบวชชี 43.33% 3 หม้อแกง 21.39% 4 บัวลอย 41.86% 4 ข้าวเหนียวมูน 17.92% 5 ข้าวเหนียวมูน 41.50% 5 ขนมครก 17.62% 6. ความสนใจ กรณีถ้ามี ?ขนมไทยเพื่อสุขภาพ? สนใจ 87.17% ไม่สนใจ 12.83% 7. ภาครัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรดำเนินการเกี่ยวกับ "ขนมไทย" อย่างไร อันดับ 1 ควรอนุรักษ์และสืบสานขนมไทยอย่างจริงจัง 76.14% อันดับ 2 ส่งเสริมเป็นสินค้าเศรษฐกิจหลัก ผลักดันขนมไทยไประดับโลก 75.55% อันดับ 3 ต่อยอดสร้างสรรค์ร่วมกับวัฒนธรรมไทยอื่น ๆ 61.89% อันดับ 4 นำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ช่วยในการทำและยืดอายุขนม 56.75% อันดับ 5 จัดสอนให้ความรู้โดยผู้เชี่ยวชาญ 51.25% *หมายเหตุ ผู้ตอบสามารถระบุความคิดเห็นได้มากกว่า 1 เรื่อง (ค่าร้อยละจึงคำนวณในแต่ละข้อ) สรุปผลการสำรวจ : "ขนมไทย" กับ "คนไทย" สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณี ?ขนมไทยกับคนไทย? กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,367 คน สำรวจระหว่างวันที่ 1 ? 4 พฤศจิกายน 2564 พบว่า คนไทยมองว่าขนมไทยมีประวัติยาวนาน เป็นเอกลักษณ์ของไทย ร้อยละ 86.16 และค่อนข้างชอบขนมไทย ร้อยละ 42.34 ส่วนใหญ่รับประทานนาน ๆ ครั้ง ร้อยละ 45.65 และจ่ายเงินในการซื้อขนมไทยน้อยกว่า 100 บาทต่อครั้ง ร้อยละ 53.61 โดยขนมไทยที่ชอบมากที่สุด คือ ข้าวต้มมัด ร้อยละ 53.59 รองลงมาคือ ขนมครก ร้อยละ 49.56 ส่วนขนมที่อยากเรียนทำมากที่สุด คือ ทองหยอด ร้อยละ 22.89 รองลงมาคือ ทองหยิบ ร้อยละ 21.76 หากมีขนมไทยเพื่อสุขภาพก็มีความสนใจ ร้อยละ 87.17 ทั้งนี้อยากให้ภาครัฐอนุรักษ์และสืบสานขนมไทยอย่างจริงจัง ร้อยละ 76.14 รองลงมาคือ ส่งเสริมเป็นสินค้าเศรษฐกิจหลักและผลักดันขนมไทยไประดับโลก ร้อยละ 75.55 ขนมไทยเป็นหนึ่งใน Soft Power ที่น่าจับตาไม่แพ้เอกลักษณ์วัฒนธรรมอื่น ๆ ของไทย เป็นที่ชื่นชอบทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ ราคาขนมไทยก็ไม่สูงมากนักเมื่อเปรียบเทียบกับขั้นตอนการทำที่มีความปราณีตและบรรจง ในเมื่อภาครัฐมีแนวคิดผลักดัน Soft Power ของไทยเพิ่มขึ้น จึงควรพัฒนาขนมไทยไปสู่เวทีโลกภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ นำนวัตกรรมมาใช้พร้อมกับถ่ายทอดสินทรัพย์ทางวัฒนธรรม เช่น ขนมไทยดั้งเดิม ขนมไทยเพื่อสุขภาพ การยืดอายุขนม เป็นต้น
นางสาวพรพรรณ บัวทอง นักวิจัย สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โทร 086-3766533
?ขนมไทยกับคนไทย? มีประวัติมายาวนาน เป็นเอกลักษณ์ของไทย สะท้อนให้เห็นวัฒนธรรมประเพณีไทย มีขนมไทยหลากหลายชนิดนำมาประกอบในประเพณีไทย คนไทยในอดีตมีความเกี่ยวพันกับธรรมชาติ วิถีชีวิตทำอาชีพเกษตรกรรมจึงเกิดภูมิปัญญาในการนำผลผลิตทางการเกษตรมาแปรรูปเป็นขนมต่างๆ ขนมไทยมีจุดเด่นคือรสชาติกลมกล่อม มีความหอม ความหวาน และความมันเค็ม มีรูปลักษณ์ สีสัน สวยงาม น่ารับประทาน เหมาะสมกับราคาที่คนไทยเลือกซื้อ ขนมข้าวต้มมัดเป็นขนมอีกชนิดหนึ่งที่คนไทยนิยมรับประทาน นำไปใช้ในงานบุญตามประเพณีต่าง ๆ คนไทยจึงควรเลือกรับประทานขนมไทยที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ไม่ก่อให้เกิดโรค ด้านอุตสาหกรรมขนมไทยเองก็มีโอกาสเติบโตได้ โดยทุกคนช่วยกันอนุรักษ์และสืบสานขนมไทยอย่างจริงจัง เผยแพร่ขนมไทยให้ทั่วโลกได้รู้จัก ภาครัฐส่งเสริมผลิตภัณฑ์ขนมไทยให้เป็นสินค้าเศรษฐกิจหลัก และผลักดันขนมไทยไปสู่ระดับโลก
อาจารย์กาญจนา เฟื่องศรี
อาจารย์ประจำหลักสูตรคหกรรมศาสตร์
โรงเรียนการเรือน มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
ที่มา: สวนดุสิตโพล