/
การเลี้ยงดูบุตรหลานในยุคปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงจากยุคสมัยก่อนอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ยิ่งส่งผลกระทบต่อการเลี้ยงดูเด็กของผู้ปกครองมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเรียน การใช้ชีวิต สุขภาพร่างกาย และสภาพจิตใจ เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชน ?สวนดุสิตโพล?มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชน ที่มีบุตรหลานอายุ 0-15 ปีทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,154 คน (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 15-18 พฤศจิกายน 2564 สรุปผล ได้ดังนี้ 1. การเลี้ยงดูบุตรหลานในปัจจุบัน คนในครอบครัว ปู่ย่า ตายาย ช่วยเลี้ยง 49.14% เลี้ยงเอง 45.45% จ้างพี่เลี้ยงมาดูแล 4.05% ส่งไปศูนย์เลี้ยงเด็ก 1.36% 2. เปรียบเทียบการเลี้ยงดูบุตรหลานระหว่าง ?ยุคสมัยก่อน? กับ ?ยุคสมัยนี้? ยากขึ้น 77.64% เหมือนเดิม 12.41% ง่ายขึ้น 9.95% 3. วิธีดูแลบุตรหลานในยุคโควิด-19 อันดับ 1 ใช้เวลาร่วมกัน หากิจกรรมทำร่วมกัน 83.75% อันดับ 2 เน้นดูแลสุขอนามัย การสวมหน้ากาก ล้างมือ 69.23% อันดับ 3 เป็นแบบอย่างที่ดีให้เด็ก 68.98% อันดับ 4 ไม่เข้มงวด ให้เรียนรู้ด้วยตนเอง ลองผิด ลองถูก 64.52% อันดับ 5 พูดคุยกัน รับฟัง อธิบายด้วยเหตุและผล 61.91% 4. เรื่องหนักใจที่มีต่อการดูแลบุตรหลานในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 อันดับ 1 กังวลการติดเชื้อโควิด-19 74.57% อันดับ 2 การเรียนทั้งออนไลน์และออนไซต์ 62.90% อันดับ 3 พฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือ 60.32% อันดับ 4 สภาพจิตใจ อารมณ์ 57.00% อันดับ 5 การฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้กับเด็ก 52.83% 5. ค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูบุตรหลาน โดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 7,974.60 บาทต่อเดือน 6. ท่านมองว่าบุตรหลานของท่านดูแลรับผิดชอบตัวเองได้หรือไม่ ค่อนข้างดูแลรับผิดชอบตัวเองได้ 56.10% ดูแลรับผิดชอบตัวเองได้เป็นอย่างดี 26.26% ไม่สามารถดูแลรับผิดชอบตัวเองได้ 17.64% 7. สิ่งที่อยากให้ภาครัฐดำเนินการเกี่ยวกับการดูแลเด็ก อันดับ 1 ช่วยเหลือเด็กที่ด้อยโอกาสทางสังคม เด็กเร่ร่อน เด็กกำพร้า 80.87% อันดับ 2 สนับสนุนการศึกษาอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม มีทุนเรียนฟรี 79.22% อันดับ 3 มีนโยบายในการพัฒนาเด็กและเยาวชนที่สอดคล้องกับศตวรรษที่ 21 73.83% อันดับ 4 คำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของเด็ก ป้องกันอาชญากรรม การล่วงละเมิด และการใช้ความรุนแรง 72.78% อันดับ 5 พัฒนาบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพ 72.35% *หมายเหตุ ผู้ตอบสามารถระบุความคิดเห็นได้มากกว่า 1 เรื่อง (ค่าร้อยละจึงคำนวณในแต่ละข้อ) สรุปผลการสำรวจ : การเลี้ยงดูเด็กในยุคโควิด-19 สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มีบุตรหลานอายุ 0-15 ปี ต่อกรณี ?การเลี้ยงดูเด็กในยุคโควิด-19? จำนวนทั้งสิ้น 1,154 คน ระหว่างวันที่ 15-18 พฤศจิกายน 2564 พบว่า ปัจจุบันคนในครอบครัว ปู่ย่า ตายาย เป็นคนเลี้ยงดูเด็ก ร้อยละ 49.14 รองลงมาคือเลี้ยงเอง ร้อยละ 45.45 เมื่อเปรียบเทียบยุคสมัยก่อนกับยุคสมัยนี้การเลี้ยงดูบุตรหลานยากขึ้น ร้อยละ 77.64 วิธีดูแลบุตรหลานในยุคโควิด-19 คือ ใช้เวลาร่วมกัน หากิจกรรมทำร่วมกัน ร้อยละ 83.75 รองลงมาคือ เน้นดูแลสุขอนามัย ร้อยละ 69.23 สิ่งที่หนักใจคือกังวลการติดเชื้อโควิด-19 ร้อยละ 74.57 รองลงมาคือเรื่องการเรียน ร้อยละ 62.90 ค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูบุตรหลานเฉลี่ยประมาณ 7,974.60 บาทต่อเดือน โดยมองว่าบุตรหลานค่อนข้างสามารถดูแลรับผิดชอบตัวเองได้ ร้อยละ 56.10 สิ่งที่อยากให้ภาครัฐดำเนินการเกี่ยวกับการดูแลเด็ก คือ ช่วยเหลือเด็กที่ด้อยโอกาสทางสังคม เด็กเร่ร่อน เด็กกำพร้า ร้อยละ 80.87 ผู้ปกครองมองว่า ?เด็ก? ในปัจจุบันเลี้ยงดูยากขึ้น และมีค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูเฉลี่ยเกือบแปดพันบาทต่อเดือน เมื่อพิจารณาข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า รายได้ของครัวเรือนไทยในช่วงครึ่งปีแรก (2564) เฉลี่ยประมาณ 28,454 บาท ค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูเด็กจึงคิดเป็น 1 ใน 3 ของรายได้ ดังนั้นสิ่งที่จะส่งเสริมการเลี้ยงดูเด็กให้สามารถเติบโตและพัฒนาได้อย่างเต็มศักยภาพก็คือนโยบายของรัฐที่เน้นการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ สนับสนุนการศึกษาเด็กทุกกลุ่มอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม เพื่อให้เด็กมีความพร้อมในการเป็นพลเมืองในศตวรรษที่ 21 บนพื้นฐานการคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของเด็กเป็นสำคัญ
นางสาวพรพรรณ บัวทอง นักวิจัย สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โทร 086-3766533
การเลี้ยงดูให้เด็กคนหนึ่งเติบโตมาอย่างสมบูรณ์ เป็นความฝันสูงสุดของคนเป็นพ่อเป็นแม่ แต่ด้วยปัจจัยบางอย่างที่ไม่สามารถควบคุมได้ โดยเฉพาะในช่วงที่มีมาตรการล็อคดาวน์ ทำให้รูปแบบการเลี้ยงดูเด็กต้องเปลี่ยนแปลงไป พ่อแม่บางส่วนที่สามารถทำงานอยู่ที่บ้านได้ ก็จะมีเวลาในการทำกิจกรรมร่วมกันกับลูกมากขึ้น แต่ก็มีพ่อแม่บางส่วนที่ให้เด็กต้องอยู่กับผู้เลี้ยงดูที่เป็น ปู่ ย่า ตา ยาย หรือบุคคลอื่นแทน ซึ่งอาจส่งผลให้เด็กสูญเสียโอกาสในการสร้างสัมพันธภาพ ที่ดีกับพ่อและแม่ได้ ยิ่งไปกว่านั้นคือยังมีพ่อแม่ที่ต้องพาเด็กออกไปทำงานด้วย ซึ่งบางครั้งสถานที่ทำงานก็ไม่เหมาะสม และพ่อแม่เองก็ทำงานได้ไม่เต็มที่ ที่หนักสุดก็คือต้องปล่อยเด็กไว้ตามลำพัง ซึ่งอาจเกิดอันตรายได้ ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความแตกต่างของรูปแบบการเลี้ยงดูเด็กในช่วงยุคโควิด-19 นี้ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นการเลี้ยงดูเด็กในรูปแบบใด พ่อแม่และบุคคลที่เกี่ยวข้องต้องวางแผนและออกแบบเพื่อให้เด็กสามารถใช้ชีวิตอยู่บนโลกใบนี้ให้ได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย นายศรชัย อุตสีนอก ครูใหญ่โรงเรียนสาธิตละอออุทิศ
ศูนย์การศึกษานอกสถานที่ตั้ง นครนายก
ที่มา: สวนดุสิตโพล