/
โควิด-19 ส่งผลให้รูปแบบการใช้จ่ายเงินของคนไทยเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน คนไทยหันมาใช้บริการชำระเงินผ่านอินเทอร์เน็ต มากขึ้นทั้งในการทำธุรกรรมทางการเงิน ชำระค่าสินค้าและบริการต่าง ๆ เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชน ?สวนดุสิตโพล?มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,047 คน (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 29 พฤศจิกายน ? 2 ธันวาคม 2564 สรุปผล ได้ดังนี้ 1. ประชาชนเคยชำระเงินผ่านอินเทอร์เน็ต เช่น โอนเงิน ซื้อของออนไลน์ ชำระค่าสินค้าและบริการ ฯลฯ หรือไม่ อันดับ 1 เคย 87.11% อันดับ 2 ไม่เคย 12.89% 2. สาเหตุที่ไม่เคยใช้บริการชำระเงินผ่านอินเทอร์เน็ต อันดับ 1 ใช้งานไม่สะดวก สะดวกชำระเงินสดมากกว่า 71.85% อันดับ 2 ทำไม่เป็น กลัวโอนผิด 57.04% อันดับ 3 กลัวโดนหลอก 35.56% อันดับ 4 ไม่มีแอปพลิเคชั่น 31.85% อันดับ 5 ไม่มีสมาร์ทโฟน/ไม่มีอินเทอร์เน็ต 11.85% 3. เหตุผลที่เลือกใช้บริการชำระเงินผ่านอินเทอร์เน็ต อันดับ 1 สะดวก สบาย ใช้งานง่าย ไม่ยุ่งยาก ใช้บริการที่ใดก็ได้ 93.51% อันดับ 2 ลดการใช้เงินสด ป้องกันการสัมผัสและเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 81.52% อันดับ 3 มีการสรุปยอด สรุปบัญชีชัดเจน 48.73% อันดับ 4 ต้องปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลง 44.44% อันดับ 5 ไม่มีค่าธรรมเนียม 40.92% 4. ประชาชนใช้บริการใดบ้างในการชำระเงินผ่านอินเทอร์เน็ต อันดับ 1 ซื้อของออนไลน์ 78.88% อันดับ 2 ชำระค่าสาธารณูปโภค เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าอินเทอร์เน็ต 76.46% อันดับ 3 ทำธุรกรรมทางการเงิน เช่น โอนเงิน ตัดบัญชี 73.16% อันดับ 4 สั่งอาหารออนไลน์ 66.01% อันดับ 5 ผ่อนชำระค่าบ้าน ค่ารถ 42.13% 5. เปรียบเทียบก่อนและเมื่อมีโควิด-19 ประชาชนชำระเงินผ่านอินเทอร์เน็ตมากน้อยเพียงใด เพิ่มขึ้น 80.81% เท่าเดิม 17.32% ลดลง 1.87% 6. ปัญหาที่พบจากการชำระเงินผ่านอินเทอร์เน็ต คือ อันดับ 1 ระบบล่ม 64.28% อันดับ 2 ระบบแต่ละธนาคารไม่เหมือนกัน ใช้งานยาก ขั้นตอนเยอะ 47.98% อันดับ 3 ใช้เงินเกินกว่าแผนที่กำหนดไว้ 43.82% อันดับ 4 โดนแฮกข้อมูล นำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต 27.40% อันดับ 5 ชำระเงินผิด โอนเงินผิด 22.43% 7. โดยภาพรวม ประชาชนเชื่อมั่นในความปลอดภัยในการชำระเงินผ่านอินเทอร์เน็ตมากน้อยเพียงใด ค่อนข้างเชื่อมั่น 60.65% ไม่ค่อยเชื่อมั่น 17.29% เชื่อมั่นมาก 15.47% ไม่เชื่อมั่นเลย 6.59% *หมายเหตุ ผู้ตอบสามารถระบุความคิดเห็นได้มากกว่า 1 เรื่อง (ค่าร้อยละจึงคำนวณในแต่ละข้อ) สรุปผลการสำรวจ : การชำระเงินผ่านอินเทอร์เน็ตของคนไทย สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศต่อกรณี ?การชำระเงินผ่านอินเทอร์เน็ตของคนไทย? กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,047 คน (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 29 พฤศจิกายน ? 2 ธันวาคม 2564 พบว่า ประชาชนเคยชำระเงินผ่านอินเทอร์เน็ต ร้อยละ 87.11 เพราะสะดวก ใช้งานง่าย ร้อยละ 93.51 ลดการใช้เงินสด ป้องกันโควิด-19 ร้อยละ 81.52 ส่วนใหญ่ใช้บริการซื้อของออนไลน์ ร้อยละ 78.88 รองลงมาคือ ชำระค่าสาธารณูปโภค เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ร้อยละ 76.46 เปรียบเทียบก่อนและเมื่อมีโควิด-19 ประชาชนชำระเงินผ่านอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 80.81 ปัญหาที่พบบ่อย คือ ระบบล่ม ร้อยละ 64.28 โดยภาพรวมประชาชนค่อนข้างเชื่อมั่นในความปลอดภัยในการชำระเงินผ่านอินเทอร์เน็ต ร้อยละ 60.65 โควิด-19 ดันให้คนไทยใช้จ่ายผ่านระบบออนไลน์เพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก ทั้งการทำธุรกรรมทางการเงินที่ไม่มีค่าธรรมเนียม การช้อปปิ้งแก้เครียด การใช้กระเป๋าเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ ทั้งนี้ผลสำรวจยังพบว่า กลุ่มอายุ 50 ปีขึ้นไปเป็นกลุ่มที่ไม่เคยใช้บริการจ่ายเงินออนไลน์มากที่สุด เพราะรู้สึกว่าไม่สะดวก และใช้งานไม่เป็น ดังนั้นการที่รัฐบาลจะผลักดันให้ประเทศไทยเป็นสังคมไร้เงินสด (Cashless Society) และการใช้เงินดิจิทัล จึงต้องคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างช่วงวัย อำนวยความสะดวกให้กับประชาชนทุกกลุ่ม และสร้างความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยของระบบให้มากขึ้นด้วย
นางสาวพรพรรณ บัวทอง นักวิจัย สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โทร 086-3766533
การชำระเงินผ่านอินเทอร์เน็ต (e-Payment) มีให้เลือกหลายรูปแบบ เช่น การโอนเงินผ่าน Mobile Banking บัตรเครดิต และระบบ e-Wallet ปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดการใช้บริการชำระเงินผ่านอินเทอร์เน็ตที่มากขึ้นคือ ความสะดวก ใช้ง่าย ปลอดภัยจากการลดการสัมผัส และปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งคือ กลยุทธ์การตลาดที่กระตุ้นให้เกิดการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์และการชำระเงินออนไลน์แบบไร้รอยต่อ (Seamless) ส่งผลให้ไทยมีอัตราการซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์สูงเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก ทั้งภาครัฐและเอกชนต่างพัฒนาระบบการชำระเงินที่เชื่อมโยงบริการและสวัสดิการต่าง ๆ เช่น โครงการคนละครึ่ง และการคืนภาษีของกรมสรรพากร จึงทำให้ผู้ใช้บริการได้รับประสบการณ์ที่ดีในการชำระเงินผ่านอินเทอร์เน็ต ขณะเดียวกันผู้ให้บริการระบบชำระเงินจำเป็นต้องพัฒนาเทคโนโลยีและระบบให้มีความปลอดภัยมากขึ้น ซึ่งจะสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ใช้บริการ ก้าวไปสู่ ?สังคมไร้เงินสด? ให้เกิดขึ้นในประเทศไทยในระยะเวลาอันใกล้นี้
ผศ.ศุภวรรณ อภิชาติไตรสรณ์ ประธานหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต