จากสถานการณ์สงครามรัสเซีย-ยูเครน ที่ส่งผลให้ทั่วโลกและประเทศไทยต้องเผชิญกับวิกฤติพลังงาน และปัญหาเศรษฐกิจ เห็นได้ชัดเจนจากราคาน้ำมันและราคาทองคำที่ผันผวน ทำให้ประชาชนต้องแบกรับภาระค่าครองชีพที่สูงขึ้น เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชน ?สวนดุสิตโพล? มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,143 คน (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 7-10 มีนาคม 2565 สรุปผลได้ ดังนี้
ค่อนข้างสนใจ 52.40% สนใจมาก 30.71% ไม่ค่อยสนใจ 13.04% ไม่สนใจ 3.85% 2. ประชาชนติดตามข่าวสงคราม รัสเซีย-ยูเครน จากสื่อใด สื่อโซเชียล (ไลน์ เฟซบุ๊ค ทวิตเตอร์ ยูทูป ฯลฯ) 84.89% โทรทัศน์ 59.40% เว็บไซต์สำนักข่าว 34.36% 3. ประชาชนรู้สึกกังวลเกี่ยวกับ สงคราม รัสเซีย-ยูเครน หรือไม่ ค่อนข้างกังวล 53.81% กังวลมาก 21.34% ไม่ค่อยกังวล 19.95% ไม่กังวล 4.90% 4. ประชาชนคิดว่าสงคราม รัสเซีย-ยูเครน จะส่งผลกระทบอะไรบ้างกับประเทศไทย อันดับ 1 น้ำมันแพงขึ้น 88.32% อันดับ 2 ค่าครองชีพสูงขึ้น สินค้าแพงขึ้น 63.39% อันดับ 3 ราคาทองคำผันผวน 51.19% 5. ประชาชนคิดว่าประเทศไทยควรมีบทบาทต่อสงคราม รัสเซีย-ยูเครน อย่างไร อันดับ 1 ควรมีการเตรียมพร้อมรับมือจากผลกระทบที่เกิดขึ้น 75.40% อันดับ 2 แสดงความห่วงใยต่อผู้ที่กำลังตกอยู่ในภาวะสงคราม 66.78% อันดับ 3 วางตัวให้เหมาะสม เป็นกลาง 56.33% 6. ประชาชนคิดว่า ?ทางออก? ของรัสเซีย-ยูเครน ควรทำอย่างไร อันดับ 1 ผู้นำของทั้ง 2 ประเทศควรเจรจาตกลงกันอีกครั้ง 57.46% อันดับ 2 ถอยกันคนละก้าว คำนึงถึงประชาชนเป็นหลัก 53.93% อันดับ 3 แก้ปัญหาด้วยสันติวิธี ไม่ใช้ความรุนแรง 52.69% 7. ประชาชนคิดอย่างไร กรณี ประเทศไทยได้เข้าร่วมโหวตเห็นด้วยให้รัสเซียถอนทัพจากยูเครน อันดับ 1 อยากให้สงครามจบลงโดยเร็ว 56.59% อันดับ 2 เหมาะสม เป็นไปตามหลักมนุษยธรรม 51.46% อันดับ 3 เป็นการแสดงบทบาทที่ดีในเวทีโลก 50.40% *หมายเหตุ ผู้ตอบสามารถระบุความคิดเห็นได้มากกว่า 1 เรื่อง (ค่าร้อยละจึงคำนวณในแต่ละข้อ) สรุปผลการสำรวจ : คนไทยคิดอย่างไร? กับ สงคราม รัสเซีย-ยูเครน สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,143 คน ระหว่างวันที่ 7-10 มีนาคม 2565 พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่สนใจติดตามข่าวสงคราม รัสเซีย-ยูเครน โดยค่อนข้างสนใจ ร้อยละ 52.40 สนใจมาก ร้อยละ 30.71 ติดตามข่าวจากสื่อโซเชียลมากที่สุด (ไลน์ เฟซบุ๊ค ทวิตเตอร์ ยูทูป ฯลฯ) ร้อยละ 84.89 รองลงมาคือ โทรทัศน์ ร้อยละ 59.40 โดยค่อนข้างรู้สึกกังวลเกี่ยวกับ สงคราม รัสเซีย-ยูเครน ร้อยละ 53.81 กังวลมาก ร้อยละ 21.34 ผลกระทบต่อประเทศไทย คือ น้ำมันแพงขึ้น ร้อยละ 88.32 ค่าครองชีพสูงขึ้น สินค้าแพงขึ้น ร้อยละ 63.39 มองว่าไทยควรมีบทบาทต่อสงครามครั้งนี้ด้วยการเตรียมพร้อมรับมือจากผลกระทบที่เกิดขึ้น ร้อยละ 75.40 รองลงมาคือ แสดงความห่วงใยต่อผู้ที่กำลังตกอยู่ในภาวะสงคราม ร้อยละ 66.78 ทั้งนี้มองว่าทางออกคือ ผู้นำของทั้ง 2 ประเทศควรเจรจาตกลงกันอีกครั้ง ร้อยละ 57.46 และจากกรณี ประเทศไทยร่วมโหวตเห็นด้วยให้รัสเซียถอนทัพจากยูเครนนั้นมองว่าอยากให้สงครามจบลงโดยเร็ว ร้อยละ 56.59 เหมาะสม เป็นไปตามหลักมนุษยธรรม ร้อยละ 51.46 ประชาชนสนใจติดตามข่าวสงครามรัสเซีย-ยูเครนจากสื่อโซเชียลเป็นส่วนใหญ่ และรู้สึกวิตกกังวลต่อสงครามครั้งนี้ ถึงแม้สมรภูมิรบจะไกลจากประเทศไทย แต่ผลกระทบกลับส่งผลถึงไทยในระยะเวลาอันสั้น ไม่ว่าจะเป็นราคาพลังงาน ราคาทองคำ รวมไปถึงค่าครองชีพที่กำลังปรับเพิ่มสูงขึ้น ประชาชนจึงอยากให้ประเทศไทยเตรียมพร้อมรับมือ และแสดงท่าทีอย่างเหมาะสม คำนึงถึงหลักมนุษยธรรม รวมถึงตั้งรับแก้ปัญหาผลกระทบที่เกิดขึ้นในประเทศด้วย สงครามรัสเซีย-ยูเครน เกิดจากประวัติศาสตร์ที่มีความขัดแย้งภายในของยูเครนที่มีทั้งฝ่ายโปรรัสเซียและฝ่าย โปรตะวันตก การที่ NATO ต้องการให้ยูเครนเป็นสมาชิกทำให้รัสเซียไม่พอใจ ไทยต้องพบผลกระทบอย่างหลีกเหลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะทางเศรษฐกิจ เงินเฟ้อ ราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคจะสูงขึ้นและกระทบต่อการใช้จ่ายของประชาชน แม้ว่าไทยจะมีสัดส่วนการส่งออกนำเข้าสินค้าและการลงทุนจากรัสเซียและยูเครนค่อนข้างน้อย แต่ด้านการท่องเที่ยวจะกระทบต่อการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวไทยอยู่บ้าง เนื่องจากไทยมีสัดส่วนของนักท่องเที่ยวรัสเซียในประเทศ
สงครามส่งผลต่อเศรษฐกิจโลกแบบนี้ย่อมไม่มีประเทศใดต้องการให้ยืดเยื้อ แม้แต่ประเทศที่คว่ำบาตรรัสเซียก็ได้รับผลกระทบด้วย ดังนั้น การเจรจาคือทางออกที่ดีที่สุด ส่วนการแสดงท่าทีของไทยบนเวทีโลกก็ทำหน้าที่ได้เหมาะสม เนื่องจากการกระทำของรัสเซียต่อการรุกรานยูเครนเป็นการผิดกฎหมายระหว่างประเทศ แต่ขณะเดียวกันก็ต้องรักษาความสัมพันธ์ที่ดีต่อรัสเซียรวมถึงยูเครนด้วย สร้างสมดุลความสัมพันธ์ระหว่างมหาอำนาจ แสดงบทบาทต่ออาเซียนรวมถึงเวทีโลกอย่างมีศักดิ์ศรีและไม่มีความขัดแย้งใด ๆ กับนานาชาติ