สวนดุสิตโพล: การสื่อสารของครอบครัวไทยในยุคโควิด-19

ข่าวผลสำรวจ Monday April 18, 2022 09:35 —สวนดุสิตโพล

สวนดุสิตโพล: การสื่อสารของครอบครัวไทยในยุคโควิด-19

ช่วงเทศกาลสงกรานต์นอกจากจะเป็นวันปีใหม่ไทยแล้วยังกำหนดให้วันที่ 14 เมษายนของทุกปีเป็นวันครอบครัวอีกด้วย สิ่งสำคัญ ที่ทำให้ครอบครัวไทยอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวได้ก็คือความรัก ความเอาใจใส่ พูดคุยสื่อสารกันโดยเฉพาะในช่วงที่มีโควิด-19 เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชน ?สวนดุสิตโพล?มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,143 คน (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 4-12 เมษายน 2565 สรุปผลได้ ดังนี้

1. ในยุคโควิด-19 คนไทยพูดคุยกับคนในครอบครัวมากน้อยเพียงใด
อันดับ 1          เป็นประจำทุกวัน                63.25%
อันดับ 2          สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง                18.37%
อันดับ 3          ไม่ค่อยได้พูดคุยกัน                15.92%
อันดับ 4          ไม่ได้พูดคุยกันเลย                  2.46%

2. เวลาที่มีปัญหาต้องการคำแนะนำ ใครที่อยากจะพูดคุยด้วยมากที่สุด
อันดับ 1          สามี/ภรรยา              32.31%
อันดับ 2          เพื่อน/แฟน               21.51%
อันดับ 3          พ่อแม่              18.00%

3. เรื่องใดบ้างที่มักจะพูดคุยกับคนในครอบครัว
อันดับ 1          เรื่องทั่วไป สารทุกข์สุขดิบ               70.71%
อันดับ 2          สุขภาพ โควิด-19           62.88%
อันดับ 3          อาหารการกิน กินข้าวแล้วหรือยัง               60.33%

4. ในช่วงโควิด-19 การพูดคุยกับคนในครอบครัวทำให้รู้สึกสบายใจมากน้อยเพียงใด
                 สบายใจมาก 47.18%     ค่อนข้างสบายใจ 44.81%      ไม่ค่อยสบายใจ 6.87%        ไม่สบายใจ 1.14%

5. ในช่วงโควิด-19 การพูดคุยสื่อสารกันในครอบครัวมีความสำคัญอย่างไร
อันดับ 1          ทำให้เกิดความห่วงใยผูกพันกันมากขึ้น              67.28%
อันดับ 2          สร้างความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว                62.52%
อันดับ 3          ช่วยกันหาทางแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ทันเวลา                  61.55%

6. การที่คนในครอบครัวไม่ค่อยได้พูดคุยกัน เป็นเพราะสาเหตุใด
อันดับ 1          ไม่มีเวลา เวลาไม่ตรงกัน                56.36%
อันดับ 2          มุมมอง ทัศนคติไม่ตรงกัน                 55.12%
อันดับ 3          คุยแล้วทะเลาะกัน มีปากเสียง                47.08%

7. ทำอย่างไรคนในครอบครัวจึงจะพูดคุยสื่อสารเข้าใจกันได้มากขึ้น
อันดับ 1          เปิดใจ รับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน                65.21%
อันดับ 2          ทำบ้านให้เป็นพื้นที่ปลอดภัยและสบายใจที่จะพูดคุยกัน          56.27%
อันดับ 3          ทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกัน เช่น ไปเที่ยว กินข้าว                    53.90%

*หมายเหตุ ผู้ตอบสามารถระบุความคิดเห็นได้มากกว่า 1 เรื่อง (ค่าร้อยละจึงคำนวณในแต่ละข้อ)

สรุปผลการสำรวจ : การสื่อสารของครอบครัวไทยในยุคโควิด-19

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,143 คน (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 4-12 เมษายน 2565 พบว่า ในยุคโควิด-19 คนไทยพูดคุยกับคนในครอบครัวเป็นประจำทุกวัน ร้อยละ 63.25 รองลงมาคือ สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ร้อยละ 18.37 เวลาที่มีปัญหาคนที่อยากพูดคุยด้วยมากที่สุด คือ สามี/ภรรยา ร้อยละ 32.31 รองลงมาคือ เพื่อน/แฟน ร้อยละ 21.51 เรื่องที่มักจะพูดคุยคือเรื่องทั่วไป สารทุกข์สุขดิบ ร้อยละ 70.71 ในช่วงโควิด-19 การพูดคุยกับคนในครอบครัวทำให้รู้สึกสบายใจมาก ร้อยละ 47.18 ทำให้เกิดความห่วงใยผูกพันกันมากขึ้น ร้อยละ 67.28 โดยมองว่าการที่คนในครอบครัวไม่ค่อยได้พูดคุยกันเป็นเพราะไม่มีเวลา เวลาไม่ตรงกัน ร้อยละ 56.36 วิธีการที่จะทำให้คนในครอบครัวพูดคุยสื่อสารเข้าใจกันได้มากขึ้น คือ ต้องเปิดใจ รับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ร้อยละ 65.21 รองลงมาคือ ทำบ้านให้เป็นพื้นที่ปลอดภัยและสบายใจที่จะพูดคุยกัน ร้อยละ 56.27

          วันครอบครัวไทยตรงกับช่วงเทศกาลสงกรานต์ของไทยทำให้สมาชิกในครอบครัวได้พบปะกันพร้อมหน้า ถึงแม้                    จะอยู่ในช่วงโควิด-19 แต่ก็พบว่าคนในครอบครัวมีการพูดคุยกันเป็นประจำทุกวัน โดยเฉพาะการคุยกับสามี ภรรยา สะท้อน   ให้เห็นลักษณะของครอบครัวที่เล็กลง มีความเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น การพูดคุยกันเป็นกิจกรรมพื้นฐานของการสร้างความผูกพันในครอบครัว หากไม่ให้อิสระพูดคุยรับฟังความคิดเห็นก็จะทำให้เกิดปัญหาในครอบครัวได้ และจากปัญหา                   เล็ก ๆ ในระดับครอบครัวก็ย่อมจะสะท้อนถึงภาพของการสื่อสารในระดับสังคมและประเทศต่อไป


          จากการสนทนากลุ่ม (Focus Group) เรื่องการสื่อสารของครอบครัวไทยในยุคโควิด-19 เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2565 ผู้เข้าร่วม 10 คน และการสัมภาษณ์ จำนวน 30 คน ใช้การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง พบว่า ความสำคัญของการสื่อสารของครอบครัวไทยในยุคโควิด-19 เน้นการสร้างความเข้าใจกันในครอบครัว โดยในช่วงโควิด-19 การสื่อสารของครอบครัวมีมากขึ้นเนื่องจากต้องอยู่บ้านมากขึ้น และเป็นการพูดคุยเรื่องสุขภาพ การเรียน การทำงาน ฯลฯ ช่วงเวลา                   ส่วนใหญ่ที่พูดคุยกัน คือ ช่วงกินข้าว ไปเที่ยวและทำกิจกรรมร่วมกัน อุปสรรคในการสื่อสาร ได้แก่ การใช้เทคโนโลยีมากเกินไป ช่องว่างระหว่างวัย ภาษา ความคิดและทัศนคติ แนวทางแก้ปัญหาควรเริ่มจากการเรียนรู้คนในครอบครัว
          ผลข้างต้นสะท้อนให้เห็นว่า โควิด-19 ทำให้คนหันมาสนใจและใส่ใจคนในครอบครัวมากขึ้น ด้วยความห่วงใยนี้                  จึงทำให้การสื่อสารมีมากขึ้น แต่ก็มีอุปสรรคในการสื่อสาร เช่น การมุ่งแต่จะให้อีกฝ่ายฟังหรือมุ่งแต่จะเสนอความคิดของตนเท่านั้น สิ่งเหล่านี้ได้ทำให้คนในครอบครัวไม่ค่อยอยากพูดคุยกันมากนัก จึงควรอาศัยช่วงเวลาวิกฤติเช่นนี้ให้เป็นโอกาสด้วยการสื่อสารกัน เปิดใจรับฟังกัน เน้นการสื่อสารเชิงบวกทั้งคำพูดและการกระทำจะช่วยทำให้บ้านเป็นบ้านที่ใคร ๆ ก็อยากอยู่อย่างแท้จริง
\
ที่มา: สวนดุสิตโพล

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ