/
การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ที่กำลังจะมีขึ้นในวันที่ 22 พฤษภาคม 2565 นับว่าเป็นการเลือกตั้งครั้งสำคัญของคนกรุงเทพฯ เนื่องจากเป็นการเลือกตั้งในรอบ 9 ปี โดยหลายฝ่ายต่างจับตามองว่าการเลือกตั้งครั้งนี้ผลจะออกมาเป็นอย่างไร เพื่อสะท้อนความคิดเห็นและพฤติกรรมของคนกรุงเทพฯ ที่มีต่อการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ?สวนดุสิตโพล? มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของคนกรุงเทพฯ เฉพาะผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวนทั้งสิ้น 2,522 คน (สำรวจด้วยการเก็บข้อมูลภาคสนามและออนไลน์) ระหว่างวันที่ 12-28 เมษายน 2565 สรุปผลได้ ดังนี้
1. คนกรุงเทพฯ กับการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ?ผู้ว่าฯกทม.? วันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม 2565
ไปแน่นอน 82.20% คงจะไป 11.86% ไม่แน่ใจ 4.32% คงจะไม่ไป 1.62%
2. การติดตามข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.
อันดับ 1 โทรทัศน์ 63.56% อันดับ 2 ป้ายโปสเตอร์ ป้ายประกาศ ป้ายหาเสียง 56.82% อันดับ 3 เพจเฟซบุ๊ค 30.97% 3. คนกรุงเทพฯ ให้ความสนใจผู้สมัครแบบใด ระหว่าง ?ผู้สมัครที่สังกัดพรรคการเมือง? กับ ?ผู้สมัครอิสระ? อันดับ 1 ผู้สมัครอิสระ 56.11% อันดับ 2 ผู้สมัครที่สังกัดพรรคการเมือง 29.58% อันดับ 3 ยังไม่ตัดสินใจ 14.31% 4. คนกรุงเทพฯ จะตัดสินใจเลือกจากสาเหตุใด อันดับ 1 มีนโยบายดี 58.37% อันดับ 2 ขยัน ตั้งใจทำงาน 50.32% อันดับ 3 ภาพลักษณ์ดี นิสัยดี ประวัติดี 47.18% 5. การหาเสียงของผู้สมัครในปัจจุบันส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกมากน้อยเพียงใด มีผลมาก 43.54% ค่อนข้างมีผล 38.30% ไม่ค่อยมีผล 14.16% ไม่มีผล 4.00% 6. คนกรุงเทพฯ ชื่นชอบผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. คนใดมากที่สุด อันดับ 1 ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ 39.94% อันดับ 2 อัศวิน ขวัญเมือง 14.16% อันดับ 3 สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ 13.37% อันดับ 4 วิโรจน์ ลักขณาอดิศร 10.00% อันดับ 5 ศิธา ทิวารี 4.01% อันดับ 6 สกลธี ภัททิยกุล 3.09% อันดับ 7 รสนา โตสิตระกูล 1.94% อันดับ 8 ผู้สมัครอื่น ๆ 1.47% * ยังไม่ตัดสินใจ 12.02%
7. คนกรุงเทพฯ คิดว่าคะแนนนิยมจากการทำโพลสำนักต่าง ๆ มีผลต่อการตัดสินใจเลือกผู้ว่าฯ กทม. หรือไม่
ไม่มีผล 64.79% มีผล 35.21% *หมายเหตุ ผู้ตอบสามารถระบุความคิดเห็นได้มากกว่า 1 เรื่อง (ค่าร้อยละจึงคำนวณในแต่ละข้อ) / สรุปผลการสำรวจ : การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ในสายตาคนกรุงเทพฯ สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของคนกรุงเทพฯ เฉพาะผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวนทั้งสิ้น 2,522 คน (สำรวจด้วยการเก็บข้อมูลภาคสนามและออนไลน์) ระหว่างวันที่ 12-28 เมษายน 2565 พบว่า คนกรุงเทพฯ จะไปใช้สิทธิเลือกตั้งแน่นอน ร้อยละ 82.20 ส่วนใหญ่ติดตามข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. จากโทรทัศน์ ร้อยละ 63.56 รองลงมาคือ ป้ายโปสเตอร์ ป้ายประกาศ ป้ายหาเสียง ร้อยละ 56.82 โดยให้ความสนใจผู้สมัครอิสระ ร้อยละ 56.11 รองลงมาคือ ผู้สมัครที่สังกัดพรรคการเมือง ร้อยละ 29.58 ทั้งนี้จะตัดสินใจเลือกผู้ว่าฯ จากนโยบาย ร้อยละ 58.37 รองลงมาคือ ขยัน ตั้งใจทำงาน ร้อยละ 50.32 การหาเสียงของผู้สมัครในปัจจุบันมีผลต่อการตัดสินใจมาก ร้อยละ 43.54 ณ วันนี้ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. ที่ชื่นชอบ คือ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ร้อยละ 39.94 รองลงมาคือ อัศวิน ขวัญเมือง ร้อยละ 14.16 สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ร้อยละ 13.37 และมองว่าคะแนนนิยมจากการทำโพลสำนักต่าง ๆ ไม่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกผู้ว่าฯ กทม. ร้อยละ 64.79 คนกรุงเทพฯ ยังคงให้ความสนใจผู้สมัครอิสระมากกว่าผู้สมัครที่สังกัดพรรคการเมือง โดยเฉพาะคุณชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ที่คะแนนนำมาอย่างต่อเนื่อง ผลโพลของสวนดุสิตโพลเมื่อธันวาคม 2564 พบว่า คนกรุงเทพฯจะเลือกผู้สมัครอิสระ ร้อยละ 38.65 และเมื่อเทียบกับผลโพลครั้งนี้ผู้สมัครอิสระยังคงครองใจคนกรุงเทพฯ ถึงร้อยละ 56.11 ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะผู้สมัครที่สังกัดพรรคการเมืองยังไม่ตรงใจมากนัก ที่สำคัญในช่วง 9 ปีที่ไม่ได้เลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ก็ได้มีกลุ่ม First Time Voter เกือบ 7 แสนคน ซึ่งผลโพลครั้งนี้เป็นคนกลุ่มใหญ่ที่ยังไม่ตัดสินใจ ดังนั้นก็ต้องติดตามกันต่อไปว่าการเลือกตั้งจะเป็นอย่างไร เพราะการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. น่าจะส่งผลต่อภาพใหญ่การเมืองไทยได้ไม่น้อยเลยทีเดียว นางสาวพรพรรณ บัวทอง นักวิจัย สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โทร 086-3766533 จากผลของสวนดุสิตโพล คนกรุงเทพฯ สนใจจะไปใช้สิทธิเลือกตั้งสูงถึง ร้อยละ 82.20 แต่เมื่อพิจารณาจากการ ไปใช้สิทธิเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.เมื่อปี 2556 คาดว่าการเลือกตั้งครั้งนี้จะมีผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่าครั้งที่ผ่านมา แต่ก็ ไม่น่าจะถึงร้อยละ 80 โดยสื่อต่าง ๆ จะมีบทบาทมากในการตัดสินใจของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง การสังกัดพรรคการเมืองของผู้สมัครมีผลต่อการตัดสินใจค่อนข้างน้อย การทำงานของผู้ว่าฯ กทม.ที่มาจากผู้สมัครอิสระไม่น่าจะมีผลต่อการทำงานกับ ส.ก. เนื่องจากทั้งสองฝ่ายต้องทำงานเพื่อประโยชน์สาธารณะของคนกรุงเทพฯ อยู่แล้ว การเลือกตั้งครั้งนี้ค่อนข้างเน้นความเป็นตัวตนของผู้สมัคร โดยสังเกตได้ว่าการที่คุณชัชชาติได้เป็นผู้ว่าโพลแทบทุกสำนัก อันเป็นการสะท้อนว่าคนกรุงเทพฯ ต้องการ ?Superhero? ที่จะมาแก้ไขปัญหาให้เขาได้ทุกอย่าง ผลโพลที่ออกมาย่อมมีส่วนชี้นำการตัดสินใจของประชาชนอยู่บ้าง ซึ่งท้ายที่สุดแล้วสิ่งที่ประชาชนจะได้จากการเลือกตั้งครั้งนี้คือเรื่องจิตสำนึกต่อการมีส่วนร่วมในระบอบประชาธิปไตย ผู้ช่วยศาสตราจารย์สรศักดิ์ มั่นศิลป์ รองคณบดีโรงเรียนกฎหมายและการเมือง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ที่มา: สวนดุสิตโพล