/
จากที่รัฐบาลมีนโยบายผลักดัน Soft Power ไทยไปสู่สากล ส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศ สร้างชื่อเสียงของประเทศให้เป็นที่รู้จักมากขึ้นผ่านความเป็นไทยที่มีอยู่อย่างหลากหลาย และเกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชน ?สวนดุสิตโพล? มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,066 คน (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 13-16 มิถุนายน 2565 สรุปผลได้ ดังนี้
อันดับ 1 ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ เพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจของประเทศ 78.36% อันดับ 2 ทำให้ความเป็นไทยหลาย ๆ อย่างเป็นที่รู้จักมากขึ้น 77.23% อันดับ 3 ปลุกกระแสวัฒนธรรมไทย 54.94% 2. ประชาชนคิดว่าควรส่งเสริม Soft Power ไทยเรื่องใดบ้าง อันดับ 1 การท่องเที่ยวไทย เทศกาล ประเพณี 93.79% อันดับ 2 อาหารไทย ขนมไทย 82.58% อันดับ 3 การแต่งกาย แฟชั่น ผ้าไทย ชุดไทย 73.63% อันดับ 4 กีฬาไทย มวยไทย 71.75% อันดับ 5 แพทย์แผนไทย นวดไทย 61.49% 3. ประชาชนคิดว่า Soft Power ของไทย น่าจะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้ดีขึ้นได้หรือไม่ ช่วยได้ 94.56% ช่วยไม่ได้ 5.44% 4. ?จุดเด่น? ของ Soft Power ไทย คือ อันดับ 1 หลากหลาย โดดเด่น มีเอกลักษณ์ของตนเอง 68.23% อันดับ 2 สะท้อนวัฒนธรรม วิถีชีวิตของไทย 61.37% อันดับ 3 ต่างชาติสนใจและชื่นชอบ 58.55% 5. ?ปัญหาและอุปสรรค? ในการผลักดัน Soft Power ไทย คือ อันดับ 1 รัฐบาลผลักดันไม่เพียงพอ ขาดการส่งเสริมในระยะยาว 86.09% อันดับ 2 ขาดการวางแผน กำหนดกลยุทธ์ ทิศทางไม่ชัดเจน 62.03% อันดับ 3 การประชาสัมพันธ์และส่งเสริมความเป็นไทยน้อย 60.15% 6. ประชาชนอยากให้รัฐบาลดำเนินการอย่างไรเพื่อผลักดัน Soft Power ของไทย อันดับ 1 ให้ความสำคัญ วางแผนระยะยาว ทำอย่างต่อเนื่อง 68.14% อันดับ 2 ประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น 64.66% อันดับ 3 เร่งผลักดันนโยบาย Soft Power เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ 63.24% *หมายเหตุ ผู้ตอบสามารถระบุความคิดเห็นได้มากกว่า 1 เรื่อง (ค่าร้อยละจึงคำนวณในแต่ละข้อ) สรุปผลการสำรวจ : คนไทยกับ Soft Power
?สวนดุสิตโพล? มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,066 คน ระหว่างวันที่ 13-16 มิถุนายน 2565 พบว่า ประชาชนมองว่าการผลักดันนโยบาย Soft Power ของไทยช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจของประเทศ ร้อยละ 78.36 Soft Power ที่ควรส่งเสริม คือ ท่องเที่ยวไทย เทศกาล ประเพณีไทย ร้อยละ 93.79 รองลงมา คือ อาหารไทย ขนมไทย ร้อยละ 82.58 ทั้งนี้คาดว่า Soft Power น่าจะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้ดีขึ้นได้ ร้อยละ 94.56 จุดเด่นของ Soft Power ไทย คือ หลากหลาย โดดเด่น มีเอกลักษณ์ของตนเอง ร้อยละ 68.23 ปัญหาและอุปสรรค คือ รัฐบาลผลักดันไม่เพียงพอ ขาดการส่งเสริมในระยะยาว ร้อยละ 86.09 โดยอยากให้รัฐบาลให้ความสำคัญ วางแผนระยะยาว ทำอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 68.14 จากผลการสำรวจประชาชนเห็นถึงโอกาสจาก Soft Power ว่าจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้สูงถึงร้อยละ 94 สะท้อนให้เห็นว่าประชาชนคาดหวังว่า Soft Power จะเข้ามาช่วยฟื้นเศรษฐกิจไทยได้ และยังมองว่าศักยภาพที่มีอยู่มากของ Soft Power ไทยนี้รัฐบาลยังผลักดันไม่เพียงพอ ดังนั้นภาครัฐจึงควรร่วมมือกับหลาย ๆ ฝ่าย กำหนดแผนระยะยาว ไม่เน้นเพียงแค่การอนุรักษ์รักษา แต่ต้องกล้าที่จะแตกต่าง ส่งเสริมในความหลากหลาย เพื่อนำไปสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์และทันกระแสตลาดโลก
นางสาวพรพรรณ บัวทอง นักวิจัย สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โทร 086-3766533
จากการเก็บข้อมูลด้วยการเสวนากลุ่มย่อย ในหัวข้อ ?คนไทยกับโอกาสจาก Soft Power? เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2565 โดยเก็บข้อมูลจากบุคคลที่เกี่ยวข้องและมีความเชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรมและการทูต บุคคลในวงการสื่อ วงการบันเทิง การศึกษา จำนวน 10 คน ผู้ร่วมเสวนามีความเห็นตรงกันว่า Soft Power มีความหมายที่กว้างไกลกว่าคำว่าวัฒนธรรมหรืออาหารไทย แต่เป็นปฏิบัติการที่ช่วยสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งนี้รัฐบาลต้องให้ความสำคัญในการวางแผนและขับเคลื่อน Soft Power อย่างเป็นระบบ มีความจำเป็นที่ต้องมีหน่วยงานที่ดำเนินงานด้านนี้โดยเฉพาะ ขณะที่บุคคลทั่วไปก็สามารถร่วมสร้าง Soft Power ภาคประชาชนได้ เริ่มจากการยอมรับและเห็นคุณค่าของ Soft power ไทย แล้วทำหน้าที่เป็นผู้นำเสนอหรือผู้บอกต่อที่ดี ผ่านการสื่อสารที่ซื่อสัตย์และจริงใจ
ดร.พรชณิตว์ แก้วเนตร
รองอธิการบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศและลูกค้าสัมพันธ์
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต