/
หลังจากมีการปลดล็อกกัญชาตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา มีข่าวการใช้กัญชาเพื่อสันทนาการ รวมไปถึงผลข้างเคียงจากการใช้กัญชาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชนที่ถือเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงอันตราย เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชน ?สวนดุสิตโพล? มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 2,390 คน (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 20-23 มิถุนายน 2565 สรุปผลได้ ดังนี้
อันดับ 1 ค่อนข้างวิตกกังวล 37.78% อันดับ 2 วิตกกังวลมาก 32.85% อันดับ 3 ไม่ค่อยวิตกกังวล 16.27% อันดับ 4 ไม่วิตกกังวล 13.10% 2. ประชาชนคิดว่าการปลดล็อกกัญชา ณ วันนี้ มีผลดีหรือผลเสียมากกว่ากัน อันดับ 1 มีผลเสียมากกว่า 52.76% อันดับ 2 ผลดีและผลเสียพอ ๆ กัน 30.17% อันดับ 3 มีผลดีมากกว่า 17.07% 3. ?ผลดี? ของการปลดล็อกกัญชา อันดับ 1 ใช้ประโยชน์ในการรักษาทางการแพทย์ 74.96% อันดับ 2 สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ 46.46% อันดับ 3 ช่วยลดรายจ่ายด้านยารักษาโรคบางประเภท 45.38% 4. ?ความกังวล? ที่มีต่อการปลดล็อกกัญชา อันดับ 1 ประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ที่เหมาะสม 84.58% อันดับ 2 เด็กและเยาวชนเข้าถึงได้ง่าย อยากรู้อยากลอง 82.16% อันดับ 3 การไม่มีแนวทางปฏิบัติ/กฎหมายลูกรองรับที่ชัดเจน 73.73% 5. ประชาชนคิดว่าควรดำเนินการอย่างไรกับ ?กัญชาเสรี? ณ วันนี้ อันดับ 1 จำกัดการใช้โดยเฉพาะเยาวชน สถานศึกษาควรเป็นแหล่งปลอดกัญชา 88.38% อันดับ 2 มีมาตรการเฝ้าระวัง ให้ข้อมูลที่ถูกต้อง โดยเฉพาะการใช้ในอาหาร 82.26% อันดับ 3 ควบคุมการโฆษณาเกินจริง มีเครื่องหมายหรือข้อความเตือนอย่างชัดเจน 81.67% 6. ประชาชนคิดว่าการปลดล็อกกัญชาเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ ?การเมือง? หรือไม่ อันดับ 1 เกี่ยวข้องแน่นอน 60.54% อันดับ 2 น่าจะเกี่ยวข้อง 27.99% อันดับ 3 ไม่น่าจะเกี่ยวข้อง 9.53% อันดับ 4 ไม่เกี่ยวข้องแน่นอน 1.94% *หมายเหตุ ผู้ตอบสามารถระบุความคิดเห็นได้มากกว่า 1 เรื่อง (ค่าร้อยละจึงคำนวณในแต่ละข้อ) สรุปผลการสำรวจ : คนไทยกับ ?กัญชาเสรี? สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 2,390 คน (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 20-23 มิถุนายน 2565 พบว่า หลังจากมีการปลดล็อกกัญชาตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2565 ประชาชนรู้สึกค่อนข้างวิตกกังวล ร้อยละ 37.78 รองลงมาคือ วิตกกังวลมาก ร้อยละ 32.85 โดยมองว่าการปลดล็อกกัญชามีผลเสียมากกว่า ร้อยละ 52.76 มองว่ามีผลดีและผลเสียพอ ๆ กัน ร้อยละ 30.17 ผลดี คือ เป็นการใช้ประโยชน์ในการรักษาทางการแพทย์ ร้อยละ 74.96 สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 46.46 ส่วนความกังวล คือ ประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ที่เหมาะสม ร้อยละ 84.58 เด็กและเยาวชนเข้าถึงได้ง่าย อยากรู้อยากลอง ร้อยละ 82.16 สิ่งที่ควรดำเนินการ ณ วันนี้ คือ จำกัดการใช้โดยเฉพาะเยาวชน สถานศึกษาควรเป็นแหล่งปลอดกัญชา ร้อยละ 88.38 มีมาตรการเฝ้าระวัง ให้ข้อมูลที่ถูกต้อง โดยเฉพาะการใช้ในอาหาร ร้อยละ 82.26 ทั้งนี้ประชาชนคิดว่าการปลดล็อกกัญชาเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเมืองแน่นอน ร้อยละ 60.54 จากผลโพลประชาชนมีความกังวลใจต่อการปลดล็อกกัญชาและมองว่ามีผลเสียมากกว่าถึงแม้จะเป็นประโยชน์ทางการแพทย์หรือช่วยสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ ในช่วงเดือนแรกของการปลดล็อกกัญชาจึงเห็น ?สีสันของกัญชา? ในรูปแบบต่าง ๆ มากขึ้น แต่ผลที่ตามมากลับไม่เป็นตามคาด การตลาดเกี่ยวกับกัญชามีสะดุดเพราะความไม่พร้อมของแนวทางมาตรการรองรับ กอปรกับข่าวรายวันจึงทำให้หลายฝ่ายกังวลต่อผลเชิงลบมากกว่า ดังนั้นจึงไม่แปลกใจที่หลายฝ่ายจะมองว่าการปลดล็อกกัญชา ครั้งนี้อาจเป็นส่วนหนึ่งของการหาเสียงหรือหวังผลทางการเมือง นางสาวพรพรรณ บัวทอง นักวิจัย สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โทร 086-3766533 ตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2565 เป็นต้นมา ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ.2565 ได้มีผลบังคับใช้ ทำให้สารสกัดจากพืชกัญชาไม่ผิดกฎหมาย ส่งผลให้สามารถนำส่วนต่าง ๆ ของพืชกัญชา มาพัฒนาและแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องสำอาง สมุนไพร และการใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ได้ รวมทั้งยังมีการนำมาใช้ทางด้านสันทนาการ โดยมีกลุ่มเด็กและเยาวชนที่ถือเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงอันตรายเนื่องจากไม่มีวุฒิภาวะเพียงพอ ขาดคนดูแล จะเข้าสู่วงจรยาเสพติดได้ง่าย ส่งผลต่อพัฒนาการทางสมอง มาตรการเร่งด่วนที่ต้องทำคือ การจำกัดการเข้าถึงของเด็ก เยาวชน สถานศึกษารวมถึงพื้นที่โดยรอบ ต้องเป็นเขตปลอดกัญชา ภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องโดยตรงหรือจะทำเพื่อ CSR ต้องให้ความรู้อย่างครบถ้วนด้วยภาษาและสื่อที่เหมาะสมกับคนแต่ละกลุ่ม ต้องมีการทุ่มเทจริงจังที่จะเสริมสร้างพื้นฐานการรับรู้ด้วยสติสัมปชัญญะของผู้คนอย่างต่อเนื่อง พร้อมด้วยมาตรฐานสินค้าและบริการที่ใช้ได้จริง ไม่ยุ่งยาก ตอบสนองกับความท้าทายในการใช้กัญชาและนำไปสู่การเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่ทรงคุณค่าทั้งด้านนวัตกรรมการผลิตและด้านอรรถประโยชน์ในการบริโภค ผู้ช่วยศาสตราจารย์ณัฐพร บู๊ฮวด อาจารย์ประจำหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต