สวนดุสิตโพล: มุมมองความรักของคนไทย ณ วันนี้

ข่าวผลสำรวจ Monday February 13, 2023 08:18 —สวนดุสิตโพล

สวนดุสิตโพล: มุมมองความรักของคนไทย ณ วันนี้

/

?สวนดุสิตโพล? มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศทั้งในกลุ่มผู้ใหญ่และกลุ่มวัยรุ่น จำนวนทั้งสิ้น 1,095 คน (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 5-9 กุมภาพันธ์ 2566 สรุปผลได้ ดังนี้

1. ประชาชนคิดอย่างไร กับ ?ความรัก? ณ วันนี้
อันดับ 1          ทัศนคติ มุมมองต่อความรักแตกต่างจากสมัยก่อน                72.48%
อันดับ 2          เปิดกว้างกับความรักของกลุ่มคนหลากหลายทางเพศ /ต่างเชื้อชาติมากขึ้น          70.46%
อันดับ 3          มีช่องทางในการสื่อสารเพื่อแสดงความรักต่อกันมากขึ้น               62.66%

2. ประชาชนคิดว่าการมี ?ความรักแบบคนรัก? เป็นสิ่งจำเป็นหรือไม่
อันดับ 1          จำเป็นมาก                   36.89%
อันดับ 2          จำเป็นมากที่สุด                 28.77%
อันดับ 3          ค่อนข้างจำเป็น                   22.92%
อันดับ 4          ไม่ค่อยจำเป็น            11.42%

3. ประสบการณ์หรือเคยเจอความสัมพันธ์แบบแย่ ๆ (Toxic relationship) เช่น กับครอบครัว คนรัก ที่ทำงาน เพื่อน ฯลฯ
อันดับ 1          เคย          67.58%
อันดับ 2          ไม่เคย          32.42%

4. โดยปกติแล้ว ประชาชนมักแสดงความรักอย่างไร
อันดับ 1          ใช้เวลาและทำกิจกรรมร่วมกัน          66.64%
อันดับ 2          อยู่เคียงข้าง เป็นกำลังใจให้กัน แสดงความห่วงใย                  63.52%
อันดับ 3          ขอบคุณและชื่นชมกัน          62.33%

5. ประชาชนมีวิธีการรักษา/ถนอมความรักอย่างไร
อันดับ 1          เข้าใจกัน รับฟังอย่างมีเหตุผล          82.77%
อันดับ 2          ให้เกียรติกัน               71.68%
อันดับ 3          มั่นคง ซื่อสัตย์ ไม่นอกใจ          68.74%

6. ในวันวาเลนไทน์หรือวันแห่งความรักที่จะถึงนี้คาดว่าจะใช้จ่ายเฉลี่ยประมาณ 1,528.95 บาท /ต่อคน

7. ของขวัญที่อยากได้ในวันวาเลนไทน์มากที่สุด คือ
อันดับ 1          ดอกไม้ ช่อดอกไม้          48.07%
อันดับ 2          รับประทานอาหารด้วยกัน          31.93%
อันดับ 3          เงิน          23.86%
*หมายเหตุ   ผู้ตอบสามารถระบุความคิดเห็นได้มากกว่า 1 เรื่อง (ค่าร้อยละจึงคำนวณในแต่ละข้อ)





สรุปผลการสำรวจ : มุมมองความรักของคนไทย ณ วันนี้
สวนดุสิตโพล ร่วมกับ หลักสูตรจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์กร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้ทำการศึกษาในหัวข้อ ?มุมมองความรักของคนไทย ณ วันนี้? เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการแบบผสมผสานระหว่างการสำรวจข้อมูลทางออนไลน์และการเสวนากลุ่ม โดยผลการสำรวจทางออนไลน์ สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศทั้งในกลุ่มผู้ใหญ่และกลุ่มวัยรุ่น จำนวนทั้งสิ้น 1,095 คน (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 5-9 กุมภาพันธ์ 2566 พบว่า ปัจจุบันคนไทยมีทัศนคติ มุมมองต่อความรักแตกต่างจากสมัยก่อน ร้อยละ 72.48 โดยมองว่าการมี ?ความรักแบบคนรัก? เป็นสิ่งจำเป็นมาก ร้อยละ 36.89 ทั้งนี้เคยมีประสบการณ์หรือเคยเจอความสัมพันธ์แบบแย่ ๆ (Toxic relationship) ร้อยละ 67.58 ส่วนการแสดงความรัก ปกติแล้วมักแสดงความรักด้วยการใช้เวลาและทำกิจกรรมร่วมกัน ร้อยละ 66.64 วิธีการรักษา/ถนอมความรัก คือ เข้าใจกัน รับฟังอย่างมีเหตุผล ร้อยละ 82.77 ในวันวาเลนไทน์หรือวันแห่งความรักที่จะถึงนี้คาดว่าจะใช้จ่ายเฉลี่ยประมาณ 1,528.95 บาท/ต่อคน ของขวัญที่อยากได้ในวันวาเลนไทน์อันดับ 1 คือ ดอกไม้ ช่อดอกไม้ ร้อยละ 48.07 รองลงมาคือ รับประทานอาหารด้วยกัน ร้อยละ 31.93 และเงิน ร้อยละ 23.86
จากผลการสำรวจพบว่าคนไทยมองว่าความรักยังเป็นสิ่งจำเป็น สังคมที่เปลี่ยนแปลงทำให้มุมมองต่อความรักนั้นเปลี่ยนไปด้วย เปิดกว้างมากขึ้น เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการรักษาความสัมพันธ์มากขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่ากลุ่ม LGBTQIA+ เป็นกลุ่มที่เคยเจอกับความสัมพันธ์ที่ไม่ดีสูงถึงร้อยละ 80.00 ส่วนกลุ่มเพศหญิงเคยพบเจอ ร้อยละ 69.84 ถึงแม้ว่าความรักจะสำคัญเพียงใด หากเจอสถานการณ์ที่อยู่แล้วไม่สบายใจ ไม่ปลอดภัย เสียเปรียบ หรือเหนื่อย ก็ต้องกล้า ที่จะก้าวออกมา รักตัวเองให้มากขึ้น ในทุกความสัมพันธ์ย่อมมีสิทธิที่ได้จะได้รับการแสดงออกต่อกันที่ดี

นางสาวพรพรรณ บัวทอง นักวิจัย สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โทร 086-3766533

จากการเสวนากลุ่มเรื่อง All About Love : ครบเครื่องเรื่องความรัก พบว่า ความรักไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใดย่อมมีคุณค่าในตัวเองเสมอ ความรักอย่างมีสติจะทำให้ความรักนั้นมีคุณภาพ ความรักควรเป็นความปรารถนาดีที่อยากให้คนที่เรารักมีความสุขโดยไม่คาดหวังสิ่งใด สำหรับวิธีดูแลความรักเริ่มจากความเข้าใจ การยอมรับในตัวตนที่แท้จริง ความเอื้ออาทร ความเคารพให้เกียรติซึ่งกันและกันก็จะทำให้ความรักนั้นยั่งยืน และเมื่อความรักไม่เป็นไปตามความคาดหวังในเบื้องต้นควรปลดปล่อยอารมณ์ความเสียใจหรืออารมณ์โกรธนั้นออกมา เช่น การร้องไห้ การเขียนระบายความรู้สึก การออกกำลังกาย หรือการมีเพื่อนพูดคุยให้คำปรึกษาระบายความทุกข์ เพื่อผ่อนคลายความอัดอั้นใจ และไม่ควรซ้ำเติมความเศร้าของตนเอง เช่น การไปยังสถานที่แห่งความทรงจำ หรือ การเสพสื่อที่มีเนื้อหากระตุ้นอารมณ์เศร้าให้มีมากยิ่งขึ้น สุดท้ายความรักและการเห็นคุณค่าในตัวเองเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เกิดความเข้มแข็งทางใจที่จะสามารถผ่านภาวะวิกฤตทางอารมณ์ไปได้ด้วยดี

ผู้ช่วยศาสตราจารย์พัศรินท์ ก่อเลิศวรพงศ์

อาจารย์ประจำหลักสูตรจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์กร

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

ที่มา: สวนดุสิตโพล

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ