?สวนดุสิตโพล? มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ กรณี คนไทยกับ ?ข่าวการเมือง? ณ วันนี้ จำนวนทั้งสิ้น 1,215 คน (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 8-13 มีนาคม 2566 สรุปผลได้ ดังนี้ 1. ประชาชนสนใจ ?ข่าวการเมือง? ในช่วงนี้มากน้อยเพียงใด อันดับ 1 สนใจเพิ่มขึ้น 50.95% อันดับ 2 สนใจเหมือนเดิม 33.25% อันดับ 3 สนใจลดลง 15.80% 2. ?ข่าวการเมือง? เรื่องใดที่ประชาชนสนใจเป็นพิเศษ อันดับ 1 การเลือกตั้ง 60.08% อันดับ 2 การเปิดโปงข้อมูลหรือพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของนักการเมือง 49.11% อันดับ 3 การทำงานของนักการเมือง 48.95% อันดับ 4 ยุบสภา 46.75% อันดับ 5 ความโปร่งใส การตรวจสอบบัญชีทรัพย์สิน 42.92% 3. ?ข่าวการเมือง? เรื่องใดที่ประชาชนไม่ชอบ/เบื่อ อันดับ 1 การใส่ร้ายป้ายสี ทะเลาะกันไปมา 83.71% อันดับ 2 แสดงพฤติกรรมก้าวร้าว ด่าทอ ใช้ความรุนแรง 77.39% อันดับ 3 อยากดัง สร้างกระแสให้กับตนเอง 56.77% อันดับ 4 สภาล่ม 55.94% อันดับ 5 พาดพิงผู้อื่น นำเรื่องส่วนตัวมาเปิดเผย 48.63% 4. ?ข่าวการเมือง? ในช่วงนี้มีผลต่อการตัดสินใจเลือก ส.ส.ของประชาชนมากน้อยเพียงใด อันดับ 1 มีผล 81.89% อันดับ 2 ไม่มีผล 18.11% 5. ประชาชนเชื่อถือ ?ข่าวการเมือง? จากแหล่งใดมากที่สุด อันดับ 1 โซเชียลมีเดีย 76.75% อันดับ 2 โทรทัศน์ 67.35% อันดับ 3 เพื่อน 31.79% *หมายเหตุ ผู้ตอบสามารถระบุความคิดเห็นได้มากกว่า 1 เรื่อง (ค่าร้อยละจึงคำนวณในแต่ละข้อ) / สรุปผลการสำรวจ : คนไทยกับ ?ข่าวการเมือง? ณ วันนี้ ?สวนดุสิตโพล? มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนกรณี ?คนไทยกับข่าวการเมือง ณ วันนี้? โดยสำรวจประชาชนทั่วประเทศจำนวน 1,215 คน (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 8-13 มีนาคม 2566 พบว่า ในช่วงนี้ประชาชนสนใจข่าวการเมืองเพิ่มขึ้น ร้อยละ 50.95 เรื่องที่สนใจเป็นพิเศษ คือ การเลือกตั้ง ร้อยละ 60.08 รองลงมาคือ การเปิดโปงข้อมูลหรือพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของนักการเมือง ร้อยละ 49.11 ข่าวการเมืองที่ไม่ชอบหรือเบื่อ คือ การใส่ร้ายป้ายสี ทะเลาะกันไปมา ร้อยละ 83.71 ทั้งนี้ข่าวการเมืองในช่วงนี้มีผลต่อการตัดสินใจเลือก ส.ส. ร้อยละ 81.89 และเชื่อถือข่าวการเมืองจากโซเชียลมีเดียมากที่สุด ร้อยละ 76.75
ข่าวการเมืองในช่วงนี้เป็นประเด็นร้อนรายวันเพราะอยู่ในช่วงนับถอยหลังเข้าสู่การเลือกตั้งที่คาดว่าจะมีขึ้นในเดือนพฤษภาคม 2566 จากผลโพลพบว่าข่าวการเมืองต่าง ๆ ที่นำเสนอนั้นมีผลต่อการตัดสินใจเลือกผู้แทนสูงถึงร้อยละ 81 โดยกลุ่มอายุน้อยกว่า 25 ปี สนใจติดตามข่าวการเมืองเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มอื่น ๆ นอกจากนี้ยังพบว่ากลุ่มอายุมากกว่า 58 ปีเชื่อถือข่าวการเมืองจากสื่อโทรทัศน์มากที่สุด ส่วนกลุ่มอายุไม่เกิน 25 ปีจนถึง 41 ปี เชื่อข่าวจากสื่อโซเชียลมีเดีย ส่วนตัวนักการเมืองโดยตรง ประชาชนเชื่อถือร้อยละ 27 สะท้อนให้เห็นว่าการลงพื้นที่หาเสียงหรือจัดเวทีปราศรัยนั้นอาจสร้างการรับรู้ได้แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าประชาชนจะตัดสินใจเชื่อจากสิ่งที่นักการเมืองพูดทั้งหมด
นางสาวพรพรรณ บัวทอง
นักวิจัย สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
โทร 086-3766533