?สวนดุสิตโพล? มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนเฉพาะผู้ที่มีสิทธิเลือกตั้งทั่วประเทศ กรณี ?คนไทยนิยมพรรคการเมืองใด? จำนวนทั้งสิ้น 10,614 คน (สำรวจทางภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 1-17 มีนาคม 2566 ก่อนที่จะประกาศ ยุบสภา สรุปผลได้ ดังนี้ 1. คนไทยนิยมพรรคการเมืองใด (ก่อนยุบสภา) อันดับ 1 เพื่อไทย 46.16% อันดับ 6 พลังประชารัฐ 7.11% อันดับ 2 ก้าวไกล 15.43% อันดับ 7 ไทยสร้างไทย 1.43% อันดับ 3 ภูมิใจไทย 11.12% อันดับ 8 ชาติพัฒนากล้า 0.53% อันดับ 4 รวมไทยสร้างชาติ 8.73% อันดับ 9 เสรีรวมไทย 0.41% อันดับ 5 ประชาธิปัตย์ 7.71% * พรรคอื่นๆ 1.37% 2. คนไทยนิยมพรรคการเมืองใด (ก่อนยุบสภา) : จำแนกตามอายุ อันดับ พรรคการเมือง 18-30 ปี 31-40 ปี 41-50 ปี 51-60 ปี 61 ปีขึ้นไป 1 เพื่อไทย 33.37% 44.19% 51.62% 50.56% 51.38% 2 ก้าวไกล 37.85% 17.23% 8.43% 6.74% 5.78% 3 ภูมิใจไทย 8.66% 12.94% 13.32% 10.53% 7.49% 4 รวมไทยสร้างชาติ 5.99% 7.71% 7.68% 11.80% 12.30% 5 ประชาธิปัตย์ 5.87% 8.33% 7.39% 8.29% 9.04% 6 พลังประชารัฐ 5.79% 6.04% 7.35% 7.49% 10.34% 7 ไทยสร้างไทย 0.86% 1.31% 1.60% 1.45% 2.20% 8 ชาติพัฒนากล้า 0.30% 0.54% 0.78% 0.66% 0.08% 9 เสรีรวมไทย 0.50% 0.43% 0.26% 0.51% 0.33% * พรรคอื่นๆ 0.81% 1.28% 1.57% 1.97% 1.06% 3. คนไทยนิยมพรรคการเมืองใด (ก่อนยุบสภา) : จำแนกตามภูมิภาค อันดับ พรรคการเมือง กรุงเทพฯ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคใต้ 1 เพื่อไทย 43.58% 50.28% 51.63% 56.01% 21.72% 2 ก้าวไกล 22.20% 16.12% 16.88% 9.82% 10.76% 3 ภูมิใจไทย 8.13% 5.11% 10.97% 17.86% 12.23% 4 รวมไทยสร้างชาติ 6.60% 11.69% 12.73% 4.24% 9.62% 5 ประชาธิปัตย์ 8.71% 4.10% 4.61% 1.47% 24.71% 6 พลังประชารัฐ 7.84% 6.29% 2.60% 5.71% 15.99% 7 ไทยสร้างไทย 1.44% 1.91% 0.04% 2.24% 1.72% 8 ชาติพัฒนากล้า 0.50% 0.17% 0.38% 0.08% 1.91% 9 เสรีรวมไทย 0.21% 1.80% 0.08% 0.08% 0.13% * พรรคอื่นๆ 0.79% 2.53% 0.08% 2.49% 1.21% / สรุปผลการสำรวจ : คนไทยนิยมพรรคการเมืองใด (ก่อนยุบสภา)
?สวนดุสิตโพล? มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนเฉพาะผู้ที่มีสิทธิเลือกตั้งทั่วประเทศ กรณี ?คนไทยนิยมพรรคการเมืองใด? กลุ่มตัวอย่างจำนวน 10,614 คน (สำรวจทางภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 1-17 มีนาคม 2566 ก่อนที่จะประกาศยุบสภา พบว่า พรรคที่คนไทยนิยมเป็นอันดับ 1 คือ พรรคเพื่อไทย ร้อยละ 46.16 รองลงมาคือ พรรคก้าวไกล ร้อยละ 15.43 พรรคภูมิใจไทย ร้อยละ 11.12 พรรครวมไทยสร้างชาติ ร้อยละ 8.73 และพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 7.71 เมื่อจำแนกตามอายุ พบว่า กลุ่มอายุ 18 ? 30 ปี นิยมพรรคก้าวไกลมากที่สุด ร้อยละ 37.85 ส่วนกลุ่มอายุ อื่น ๆ นิยมพรรคเพื่อไทยมากที่สุด เมื่อจำแนกตามภูมิภาค พบว่า กรุงเทพฯ ภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือนิยมพรรคเพื่อไทยมากที่สุด ส่วนภาคใต้นิยมพรรคประชาธิปัตย์มากที่สุด ร้อยละ 24.71 ตามมาด้วยพรรคเพื่อไทย ร้อยละ 21.72
คะแนนความนิยมของพรรคเพื่อไทยยังคงพุ่งแรงและได้รับการตอบรับอย่างดีจากแทบทุกกลุ่มอายุ แม้กลุ่มอายุ 18 ? 30 ปี จะนิยมพรรคก้าวไกลมากที่สุด แต่รองลงมาก็เป็นพรรคเพื่อไทย สะท้อนให้เห็นว่าแคมเปญ ?แลนด์สไลด์? หรือ ?เลือกตั้งแบบมียุทธศาสตร์? อาจจะกำลังเห็นผลจากการที่คนต้องการเปลี่ยนแปลงและวิธีการที่จะมีเสียงข้างมากในสภา ก็คือต้องรวมกันให้ได้มากกว่าเสียง ส.ว. ผลโพลครั้งนี้คะแนนนิยมของพรรคเพื่อไทยจึงครอบคลุมแทบทุกพื้นที่ ถึงแม้ภาคใต้พรรคประชาธิปัตย์ยังคงกอดด้ามขวานไว้แน่นแต่ก็ต้องยอมรับว่าคะแนนนิยมนั้นลดลง ทุกพรรคการเมืองจึงต้องเร่งทำคะแนนชิงพื้นที่กันมากขึ้น เพราะการเลือกตั้งครั้งนี้ใคร ๆ ก็อยากกินข้าวร่วมโต๊ะเป็นรัฐบาลร่วมกัน นางสาวพรพรรณ บัวทอง นักวิจัย สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โทร 086-3766533 จากผลโพลจะเห็นได้ว่าพรรคการเมืองที่ประชาชนนิยมเป็นอันดับ 1 คือ พรรคเพื่อไทย สะท้อนความคิดเห็นของประชาชนในแง่ที่ว่าต้องการความเปลี่ยนแปลงจากพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาลเดิม รวมทั้งประชาชนอาจมีความชื่นชอบนโยบายของพรรค เช่น เรื่องค่าจ้าง 600 บาทต่อวัน เงินเดือนปริญญาตรี 25,000 บาท ในส่วนพรรคที่ได้คะแนนนิยมอันดับ 2 คือ พรรคก้าวไกล ซึ่งถือว่าเป็นขวัญใจของคนรุ่นใหม่ โดยพรรคมุ่งเน้นลดความเหลื่อมล้ำ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และการขจัดการสืบทอดอำนาจ ส่วนพรรคการเมืองอื่น ๆ ก็มีนโยบายที่มุ่งเน้นตอบโจทย์ความต้องการของประชาชนในระดับรากหญ้า เช่น การพักหนี้ 3 ปีของพรรคภูมิใจไทย บัตรสวัสดิการพลัส 1,000 บาทต่อเดือนของพรรครวมไทยสร้างชาติ การประกันรายได้พืชผลทางการเกษตรของพรรคพรรคประชาธิปัตย์ การเพิ่มวงเงินบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 700 บาทต่อเดือนของพรรคพลังประชารัฐ เป็นต้น คงต้องมาลุ้นภายหลังการเลือกตั้งว่าพรรคการเมืองใดจะได้จัดตั้งรัฐบาลและมาบริหารประเทศของเราต่อไป
ผู้ช่วยศาสตราจารย์สรศักดิ์ มั่นศิลป์ รองคณบดีโรงเรียนกฎหมายและการเมือง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต