หลังจากนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี แถลงนโยบายต่อที่ประชุมรัฐสภาเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2566 โดยระบุว่ามี 5 นโยบายเร่งด่วนที่รัฐบาลจะดำเนินการทันที คือ 1. การเติมเงิน 10,000 บาทผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล 2. การแก้ปัญหาหนี้สินภาคการเกษตร ภาคธุรกิจ และภาคประชาชน 3. การลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานให้ประชาชน 4. การผลักดันรายได้จากการท่องเที่ยว และ 5. การร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ?สวนดุสิตโพล? มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จึงสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง ?5 นโยบายเร่งด่วน รัฐบาลเศรษฐา? จำนวน 1,358 คน (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 18-25 กันยายน 2566 สรุปผลได้ ดังนี้
1. ความคิดเห็นของประชาชนต่อ ?5 นโยบายเร่งด่วน?ของรัฐบาลเศรษฐา
ที่ ?5 นโยบายเร่งด่วน? เร่งด่วนที่สุด ค่อนข้างด่วน ชะลอไว้ก่อน 1 การลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน (ค่าน้ำมัน ค่าก๊าซหุงต้ม ค่าไฟฟ้า) 86.00% 10.87% 3.13% 2 การแก้ปัญหาหนี้สินภาคการเกษตร ภาคธุรกิจ และภาคประชาชน 72.69% 26.04% 1.27% 3 เงินดิจิทัล 10,000 บาท 63.95% 16.38% 19.67% 4 การผลักดันรายได้จากการท่องเที่ยว 58.07% 33.78% 8.15% 5 การร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ 30.85% 36.14% 33.01% 2. ประชาชนคิดว่า ?5 นโยบายเร่งด่วน? จะทำได้สำเร็จหรือไม่ ที่ ?5 นโยบายเร่งด่วน? สำเร็จ ไม่สำเร็จ ไม่แน่ใจ 1 เงินดิจิทัล 10,000 บาท 63.68% 11.80% 24.52% 2 การลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน (ค่าน้ำมัน ค่าก๊าซหุงต้ม ค่าไฟฟ้า) 62.46% 11.64% 25.90% 3 การผลักดันรายได้จากการท่องเที่ยว 60.78% 6.61% 32.61% 4 การแก้ปัญหาหนี้สินภาคการเกษตร ภาคธุรกิจ และภาคประชาชน 51.28% 15.36% 33.36% 5 การร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ 22.66% 23.93% 53.41% 3. ประชาชนอยากให้รัฐบาลเศรษฐาเร่งดำเนินการนโยบายใดเพิ่มเติม อันดับ 1 ขึ้นเงินเดือน ขึ้นค่าแรง 52.03% อันดับ 2 ปราบปรามการทุจริต รับสินบน 47.38% อันดับ 3 พัฒนาระบบสาธารณสุข ดูแลสุขภาพประชาชน 43.02% อันดับ 4 ปฏิรูปการศึกษาไทย 38.95% อันดับ 5 กระตุ้นเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน 36.05% *หมายเหตุ ผู้ตอบสามารถระบุความคิดเห็นได้มากกว่า 1 เรื่อง (ค่าร้อยละจึงคำนวณในแต่ละข้อ) สรุปผลการสำรวจ : 5 นโยบายเร่งด่วน รัฐบาลเศรษฐา
สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง ?5 นโยบายเร่งด่วน รัฐบาลเศรษฐา? กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,358 คน สำรวจระหว่างวันที่ 18-25 กันยายน 2566 พบว่า นโยบายที่ควรดำเนินการเร่งด่วนที่สุด คือ นโยบายการลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน (ค่าน้ำมัน ค่าก๊าซหุงต้ม ค่าไฟฟ้า) ร้อยละ 86.00 รองลงมา คือ นโยบายการแก้ปัญหาหนี้สินภาคการเกษตร ภาคธุรกิจ และภาคประชาชน ร้อยละ 72.69 โดยนโยบายที่คาดว่าน่าจะทำได้สำเร็จมากที่สุด คือ นโยบายเงินดิจิทัล 10,000 บาท ร้อยละ 63.68 รองลงมาคือ นโยบายการลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน ร้อยละ 62.46 โดยสิ่งที่ประชาชนอยากให้เร่งดำเนินการเพิ่มเติมมากที่สุด คือ การขึ้นเงินเดือน ขึ้นค่าแรง ร้อยละ 52.03 รองลงมาคือการปราบปรามการทุจริต การรับสินบน ร้อยละ 47.38
รัฐบาลเร่งเดินหน้าทำงานแก้ปัญหาเก่าและสร้างผลงานใหม่อย่างต่อเนื่อง ทั้งการลดราคาน้ำมันและค่าไฟ เงินดิจิทัล ผลักดันซอฟต์พาวเวอร์ กัญชา (ไม่) เสรี ฟรีวีซ่านักท่องเที่ยวจีนและคาซัคสถาน ซึ่งจากผลสำรวจสะท้อนว่าประชาชนอยากให้เร่งดำเนินการเกี่ยวกับการลดค่าครองชีพ ขึ้นค่าแรง ขึ้นเงินเดือน แก้ปัญหาหนี้สิน เนื่องจากเกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนโดยตรง จึงเป็นความท้าทายของรัฐบาลที่ต้องสร้างผลงานให้ตรงกับความต้องการโดยเร็วเนื่องจากเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของรัฐบาลในระยะยาว นางสาวพรพรรณ บัวทอง นักวิจัย สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โทร 086-3766533 นโยบายเร่งด่วนทั้ง 5 นโยบาย คือ ชุดแนวทางหนึ่งที่จะนำมาใช้ในการบริหารงานของคณะรัฐบาล โดยชูประเด็นว่ารัฐบาลชุดนี้จะมุ่งเน้นในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจ ซึ่งอาจเรียกได้ว่า เป็นนโยบายที่เป็น ?ความหวัง? ของประชาชนที่จะได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วนและสามารถฟื้นฟูเยียวยาความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้นได้ นอกจากนั้น ยังมีนโยบายที่เสมือนเป็น ?พันธสัญญา? จากการหาเสียงของพรรครัฐบาลที่ได้ให้ไว้กับประชาชนอีกด้วย อย่างไรก็ตาม นโยบายที่ดีที่สุด คือ นโยบายที่เกิดขึ้นได้จริง ดังนั้น รัฐบาลย่อมมีภาระผูกพันในการที่จะต้องผลักดันให้นโยบายทั้ง 5 นี้ออกมาเป็นแผนงานและโครงการอย่างเป็นรูปธรรมภายใต้กระบวนการนโยบายที่โปร่งใสตามหลักธรรมา ภิบาล ทั้งนี้ หากดำเนินการนโยบายเหล่านี้ได้สำเร็จก็จะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในการบริหารงานของรัฐบาลและส่งผลต่อเสถียรภาพของรัฐบาลในท้ายที่สุด ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดังนภสร ณ ป้อมเพชร อาจารย์ประจำหลักสูตรรัฐศาสตร์ โรงเรียนกฎหมายและการเมือง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ที่มา: สวนดุสิตโพล